จากธุรกิจเคเบิลทีวีและโทรคมนาคมไปจนถึงการสร้างสรรค์คอนเทนต์และกาแฟ ทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นหนึ่งในองค์กรธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งทรูยังดำเนินธุรกิจด้านการชำระเงิน ทรูมันนี่ โดยเป็นบริษัทในเครือด้านเทคโนโลยีการเงินที่มีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งนำเสนอบริการด้านการชำระเงิน เครื่องมือการจัดการทางการเงินที่ง่ายสำหรับผู้บริโภคทุกระดับ
ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา ทรูมันนี่ถูกแยกออกจากทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ แอสเซนด์ คอร์ปอเรชั่น บริษัทที่เกิดจากการปรับโครงสร้างใหม่ของอีคอมเมิร์ซ ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยอยู่ภายใต้เครือ ซี.พี. ปัจจุบันทรูมันนี่มีใบอนุญาตประกอบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยให้บริการแก่ผู้บริโภคยุคดิจิทัลด้วยแอปพลิเคชันโมบายล์วอลเล็ต ในขณะที่ประชากรในอาเซียนจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงบริการของสถาบันทางการเงิน และยังต้องพึ่งพาการทำธุรกรรมแบบมีปฏิสัมพันธ์เมื่อเป็นเรื่องการจัดการด้านการเงินและการชำระเงิน
ผู้บริโภคมากกว่า 60% ในอาเซียนไม่มีบัญชีธนาคาร แม้ว่าจะมีการใช้สมาร์ทโฟนมากกว่า 60% ซึ่งก็เป็นประชากรที่มีอายุน้อย (มากกว่า 70% ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี) สิ่งนี้ก่อให้เกิดความท้าทายสำหรับผู้ให้บริการด้านอีเพย์เมนต์ในภูมิภาค เนื่องจากการขาดบัญชีธนาคาร นั่นหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านเงินดิจิทัลจำนวนมากได้
คุณปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ซีอีโอ แอสเซนด์ กรุ๊ป ได้ร่วมเป็น Speaker ในงาน Techsauce Global Summit 2017 โดยมาพูดถึงความท้าทายที่บริษัทต้องเผชิญในภูมิภาคอาเซียน และโซลูชันที่ช่วยให้ทรูมันนี่ประสบความสำเร็จ ในฐานะแบรนด์ด้านอีเพย์เมนต์ในตลาดใหญ่ที่ยังคงพึ่งพาเงินสด
แม้จะมีประชากรรวมกว่า 620 ล้านคน รวมถึงการเป็นศูนย์กลางดิจิทัลที่กำลังขยายตัว แต่อาเซียนก็ยังคงประกอบไปด้วยผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำมาก โดยผู้บริโภคกว่า 60% ในอาเซียนไม่ได้มีบัญชีธนาคาร แม้ว่าจะมีการใช้สมาร์ทโฟนมากกว่า 60% และมีประชากรที่อายุน้อยกว่า 70% ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี สิ่งนี้ก่อให้เกิดความท้าทายสำหรับผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเนื่องจากการขาดบัญชีธนาคารหมายความว่า พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินด้านดิจิทัลจำนวนมากได้
"ที่ Ascend Group ภารกิจของเราคือ การให้บริการทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น" คุณปุณณมาศกล่าว และแสดงความเชื่อมั่นว่าบริการทางการเงิน เช่น การทำธุรกรรม การลงทุน และประกันภัย เป็นส่วนสำคัญในการขยายฐานผู้บริโภคบางรายที่มีรายได้ต่ำ
"หลายคนในอาเซียนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารได้อย่างง่ายดาย และไม่มีแม้แต่บัญชีออมทรัพย์ ไม่ต้องพูดถึงประกันชีวิต โอกาสในการลงทุน หรือโอกาสในการกู้ยืมเงินจากธนาคารเลย พวกเขาจึงตกอยู่ในความเสี่ยงมาก"
นอกจากไม่มีบัญชีธนาคารแล้ว ปุณณมาศยังกล่าวถึงอีกหนึ่งปัญหา ซึ่งก็คือการขาดความไว้วางใจจากผู้บริโภคเกี่ยวกับดิจิทัล โมบายล์ แบงกิง
“หลายคนคิดว่า เนื่องจากผู้บริโภคในอาเซียนส่วนใหญ่มีอายุน้อยและเข้าใจเทคโนโลยีมากขึ้นจะทำให้สามารถใช้บริการธนาคารบนมือถือได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นเป็นเพียงความจริงบางส่วนเท่านั้น แม้กระทั่งในกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ที่ค่อนข้างสูง การใช้โมบายล์แบงกิงก็ยังใช้เท่าที่จำเป็นเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงิน"
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ปัจจัยเหล่านี้สร้างความท้าทายที่ยากยิ่งต่อธุรกิจของฟินเทค แต่ก็เป็นการสร้างโอกาสในการแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรม ซึ่งในขณะนี้ ทรูมันนี่กำลังนำเสนอวิธีการชำระเงินแบบออนไลน์และออฟไลน์สำหรับผู้บริโภคทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ ทรูมันนี่ยังมีเป้าหมายที่จะให้บริการเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้ เช่น การให้กู้ยืมเงิน การลงทุน และแม้แต่ประกัน เพื่อคนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
คุณปุณณมาศกล่าวด้วยว่า เหตุผลหนึ่งที่ทรูมันนี่ประสบความสำเร็จในตลาดอาเซียนก็คือ จุดบริการด้านการชำระเงิน (เช่น บริการ 'Counter Service' ของ 7-11 ในประเทศไทย) ซึ่งมีพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นพิเศษ โดยสามารถทำธุรกรรมประเภทเดียวกันกับที่มีอยู่ในแอป True Wallet ได้อย่างเป็นรูปธรรม ช่วยให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีหรือบัญชีธนาคารสามารถใช้ตัวเลือกการชำระเงินแบบดิจิทัลเพื่อเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างง่ายดาย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด