"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืน | Techsauce

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืน

สำหรับธุรกิจในปัจจุบัน ความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสามารถส่งผลกระทบต่อผลกำไร ต้นทุน และการเติบโตทางธุรกิจ  การบริหารจัดการธุรกิจโดยคำนึงถึงประเด็นด้านความยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญควบคู่กันไปอย่างสมดุล 
UOB


เพราะ “ความยั่งยืน”  เป็นมากกว่าเทรนด์ แต่เป็นโอกาสสำคัญที่ SMEs จะได้เรียนรู้และต่อยอด เพื่อโอกาสทางธุรกิจ ในยุคที่ทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญกับเทรนด์นี้อย่างเลี่ยงไม่ได้

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นานาประเทศต่างตื่นตัวและริเริ่มนโยบายต่างๆ ที่เข้มงวดขึ้น เพื่อจัดการและควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคธุรกิจ ดังเช่น CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป EUDR (EU Deforestation-free Regulation) ที่เป็นกฎหมายที่ห้ามไม่ให้ค้าขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า นอกจากนี้ ยังมีการใช้มาตรการภาษีคาร์บอน (carbon tax) ในอีกหลายประเทศ  เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อยู่ระหว่างการพิจารณานี้ จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการขับเคลื่อนทุกภาคส่วน รวมถึงภาคธุรกิจ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2065 ทิศทางของนโยบายเหล่านี้ต่างสร้างแรงกดดันให้กับภาคธุรกิจที่ต้องเร่งปรับตัวเพื่อก้าวตามเทรนด์และกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความมั่นคงในการเติบโตอย่างยั่งยืน

ทำไม SMEs ไทย ต้องใส่ใจความยั่งยืน

ในประเทศไทยธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMEs) เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เพิ่มขึ้น SMEs จำเป็นต้องหันมาใส่ใจเรื่องความยั่งยืน และนำมาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างจริงจัง เพื่อเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการเติบโต  ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ต่างได้ปรับตัวและดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมทั้งเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ฯลฯ ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่นี้ต่างมีความคาดหวังให้พันธมิตรทางธุรกิจอย่าง SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทเหล่านี้ต้องปรับตัวตาม  การผสานความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจจะช่วยสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการเติบโต SMEs สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยรูปแบบธุรกิจที่เป็นแบบหมุนเวียน (Circular Economy)  หรือใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล รวมถึงขยายฐานลูกค้าไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น

แล้ว SMEs ไทย พร้อมเริ่มต้นแค่ไหน?

จากผลสำรวจ UOB Business Outlook Study 2024 พบว่า SMEs ส่วนใหญ่ทราบว่าเรื่องของความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ยังไม่สามารถเริ่มต้นจัดการด้านความยั่งยืนได้ทั้งหมด จากข้อจำกัดหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความยั่งยืน ความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนที่อาจสูงขึ้น หรือการขาดการสนับสนุนทางการเงิน  

UOB Sustainability Compass หรือ “เข็มทิศเป้าหมายความยั่งยืนของธนาคารยูโอบี” จึงนับว่าเหมาะสำหรับ SMEs ที่ต้องการตรวจสอบว่า ธุรกิจของตนเองอยู่ในจุดไหนในเรื่องของความยั่งยืน โดยรายงานที่จะได้รับจะมาพร้อมแนวทางการปฏิบัติที่จะช่วยในการปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงตอบแบบสอบถามออนไลน์ 14 ข้อเท่านั้น

UOB Sustainability Compass ตัวช่วย SMEs เริ่มต้นสู่ความยั่งยืน

UOB Sustainability Compass เป็นเครื่องมือที่ UOB พัฒนาร่วมกับ PwC เพื่อช่วยให้ SMEs  ประเมินความพร้อมของบริษัทในด้านความยั่งยืน ผ่านการตอบคำถาม Yes / No จำนวน 14 ข้อ โดยจะครอบคลุม 8 ภาคธุรกิจหลัก หลังจากตอบคำถามเสร็จสิ้นแล้ว SMEs  จะได้รับรายงานที่แสดงระดับความยั่งยืนของบริษัท ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น (Starter) ปานกลาง (Intermediate) หรือสูง (Advanced) รายงานนี้จะมีแผนงาน (Roadmap) สำหรับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เสมือนเข็มทิศที่ชี้นำทางธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยสรุปได้ใน 5 ขั้นตอน ตั้งแต่การทำความเข้าใจ การวัดผล การกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมาย การดำเนินการตามกลยุทธ์ และการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนแบบบูรณาการ โดยแต่ละขั้นตอนจะมีข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ บรรทัดฐาน และมาตราฐานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับโซลูชันทางการเงินที่เหมาะสม เพื่อให้ SMEs สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการด้านความยั่งยืน  นอกจากนี้ รายงานยังรวบรวมเครื่องมือทางการเงินที่ธุรกิจสามารถเข้าถึงได้  อีกทั้งยังสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของ UOB เพิ่มเติมได้อีกด้วย

UOB Sustainability Compass ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ไม่เพียงจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของ SMEs ให้เข้าใจบริบทความยั่งยืนที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงกับอุตสาหกรรมและระดับความพร้อมของตน  แต่ยังช่วยชี้นำแนวทาง (How to) ในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น  การดำเนินงานตามแนวทางความยั่งยืนนี้จะช่วยให้ SMEs ลดความเสี่ยงจากมาตรการทางกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก ความคาดหวังจากพันธมิตรทางธุรกิจ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เอื้อต่อธุรกิจสีเขียว สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและเสริมสร้างความได้เปรียมทางการแข่งขันในระยะยาว

สำหรับ SMEs ท่านใดที่สนใจ เข้าไปใช้งานได้ที่เว็บไซต์: https://www.uob.co.th/compass-th

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

6 เทคนิคใช้ AI ยกระดับธุรกิจ SME ให้โดดเด่นและติดตลาดไว

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันกันอย่างดุเดือด การสร้างแบรนด์ที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรและงบประมาณ อย่างไรก็ตามป...

Responsive image

Startup Ecosystem จีน ถึงจุดต่ำสุด นักลงทุนหาย startup เกิดใหม่น้อย

‘จีน’ ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เป็นตลาดส่งออกสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดของนักลงทุน…แต่ในตอนนี้ประเทศมหาอำนาจอย่างแห่งนี้กำล...

Responsive image

Gartner เผย! AI เป็นตัวการสำคัญ ทำค่าความปลอดภัยด้านข้อมูลทั่วโลกพุ่ง 15% ภายในปี 2025

Gartner เผยผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านความปลอดภัยข้อมูล (Information Security) ที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเติบโตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์...