บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover : เลือกตั้งสหรัฐฯ จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย รุกสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม | Techsauce

บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover : เลือกตั้งสหรัฐฯ จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย รุกสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

การเมืองของสหรัฐฯ และความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ไทย กับการเลือกตั้งปี 2024 บทสรุปจากการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองของสหรัฐฯ และผู้อำนวยการโครงการ Tribal Administration ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ไทย และความท้าทายสำคัญสำหรับทั้งสองประเทศ

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2024

  • การเข้ามาของกมลา แฮร์ริสผลกระทบที่เกิดขึ้น: ดร. โกเวอร์ชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการแข่งขันหลังจากการถอนตัวของโจ ไบเดน และการปรากฏตัวของกมลา แฮร์ริส ในฐานะผู้ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคเดโมแครต สร้างผลกระทบเชิงบวกในด้านความกระตือรือร้นของผู้ลงคะแนนและตัวเลขจากการสำรวจความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Battleground states หรือสมรภูมิรัฐชี้ขาดที่สำคัญ
  • การต่อสู้และกลยุทธ์ของทรัมป์: ดร. โกเวอร์ให้ความเห็นว่า โดนัลด์ ทรัมป์กำลังประสบปัญหาในการตอบโต้แฮร์ริสได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการเน้นโจมตีข้อมูลส่วนบุคคลได้พิสูจน์แล้วว่าไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังปิดกั้นเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสำคัญ โดยเฉพาะเสียงจากผู้หญิงในแถบชานเมือง ดร. โกเวอร์เสนอแนะว่า ทรัมป์ควรเน้นไปที่นโยบายและเปรียบเทียบสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกับในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
  • ความท้าทายและโอกาสของแฮร์ริส: ดร. โกเวอร์ยอมรับว่าแฮร์ริสมีความท้าทายที่จะต้องสร้างตัวตนของตัวเองต่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อาจจะคุ้นเคยเธอแค่ในฐานะรองประธานาธิบดี เขาย้ำถึงความสำคัญในการใช้ประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครตเพื่อแนะนำเสนอเรื่องราวชีวิต ปรัชญา และแผนการณ์ของเธอในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น เงินเฟ้อและค่าครองชีพ

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • การถอนตัวของสหรัฐฯ และการเติบโตของจีน: ดร. โกเวอร์วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของทั้งไบเดนและทรัมป์ที่ละเลยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดช่องว่างให้จีนเข้ามาเติมเต็ม และย้ำถึงความวิตกกังวลในอิทธิพลจีนที่รายล้อมในภูมิภาค โดยยกตัวอย่างการบีบบังคับทางเศรษฐกิจและการกระทำที่ก้าวร้าวในทะเลจีนใต้
  • การฟื้นฟูการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ: ดร. โกเวอร์เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไปจะต้องฟื้นฟูการติดต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างขะมักเขม้นอีกครั้ง โดยเฉพาะความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ต้องเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านสาธารณสุข และต่อต้านการครอบงำของจีน เป็นต้น
  • อุปสรรคและการคุ้มครองทางการค้า: ดร. โกเวอร์วิจารณ์การคุ้มครองทางการค้าของสหรัฐฯ โดยแย้งว่า นโยบายดังกล่าวขัดขวางความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการเข้าถึงตลาดสหรัฐฯ และเสนอให้เลิกใช้แนวทางนี้จึงจะเกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย

ย้อนกลับมองประเทศไทย 

  • การเน้นภายในสหรัฐฯ และมติมหาชน: ดร. โกเวอร์ระบุว่า การที่สหรัฐฯ ไม่สนใจไทยนั้นเป็นผลมาจากแนวโน้มมุ่งเน้นภายในสหรัฐฯ บวกกับความเหนื่อยล้าหลังสงครามอิรัก/อัฟกานิสถาน นำไปสู่การตั้งคำถามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับต่างชาติ ดร. โกเวอร์เชื่อว่าการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
  • ความท้าทายหลักของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย: ดร. โกเวอร์เสนอว่าทั้งสองประเทศจำเป็นต้องสื่อสารกับพลเมืองของตนอย่างมีประสิทธิภาพถึงการรักษาความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่งมีความสำคัญอย่างใด นอกจากนี้ ดร. โกเวอร์เน้นย้ำถึงความท้าทายในการแก้ปัญหาร่วมกัน เช่น การค้ามนุษย์ การรักษาความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทาน และการพัฒนา AI ผ่านความร่วมมือร่วมกัน เป็นต้น
  • อิทธิพลของจีนและการสร้างสมดุลของไทย: ดร. โกเวอร์ทราบถึงความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของเศรษฐกิจจีนที่มีต่อไทยเพิ่มมากขึ้น เขาแนะนำให้หลีกเลี่ยงการกดดันให้ประเทศไทยเลือกข้างระหว่างประเทศมหาอำนาจ แต่เน้นย้ำถึงแนวทางการทูตที่เน้นผลในทางปฏิบัติของไทยและความสำคัญของการเคารพความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • ผลกระทบของการเลือกตั้งปี 2024 ต่อประเทศไทย: ดร. โกเวอร์คาดการณ์ว่าสหรัฐฯ จะให้ความสนใจกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมากขึ้นไม่ว่าผู้ชนะการเลือกตั้งจะเป็นใคร เนื่องจากการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนทวีความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ดร. โกเวอร์คาดการณ์ว่าทรัมป์จะให้ความสำคัญกับพันธมิตรในด้านความมั่นคงและลดการขาดดุลการค้าแต่อาจจะละเลยด้านสิทธิมนุษยชนไป ในขณะที่รัฐบาลของแฮร์ริสอาจมุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือที่กว้างขึ้น สิทธิมนุษยชน และแนวทางที่ลดการกีดกันทางการค้าน้อยลง

เจาะประเด็นเทคโนโลยีและนวัตกรรม

  • ความน่าดึงดูดของไทยสำหรับความร่วมมือกับสหรัฐฯ: ดร. โกเวอร์เชื่อว่าไทยยังคงเป็นพันธมิตรที่น่าสนใจสำหรับการริเริ่มในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสหรัฐฯ โดยย้ำถึงความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในด้านการสื่อสารและด้านการศึกษาจากทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนเพื่อมุ่งเน้นถึงประโยชน์ร่วมกันของความร่วมมือดังกล่าว
  • บทบาทของผู้นำและธุรกิจไทย: ดร. โกเวอร์สนับสนุนให้ผู้นำและธุรกิจของไทยมีส่วนร่วมโดยตรงกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและ stakeholders หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียชาวอเมริกัน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของประเทศไทยในฐานะหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์และแสดงให้เห็นถึงผลที่อาจตามมาจากการละเลยความสัมพันธ์

ดร. โกเวอร์กล่าวสรุปโดยเน้นย้ำถึงความไม่แน่นอนของการเมืองในสหรัฐฯ และระบุว่า แม้โพลจะบ่งชี้ให้เหห็นถึงแนวโน้มบางประการ แต่การเลือกตั้งปี 2024 ยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ 

นอกจากนี้ ดร. โกเวอร์ยังชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย โดยย้ำถึงความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง เข้าใจจุดยืนร่วมกัน และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันจากทั้งสองฝ่ายเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิรัฐศาสตร์โลก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Gartner เผย! AI เป็นตัวการสำคัญ ทำค่าความปลอดภัยด้านข้อมูลทั่วโลกพุ่ง 15% ภายในปี 2025

Gartner เผยผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านความปลอดภัยข้อมูล (Information Security) ที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเติบโตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์...

Responsive image

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืน

"UOB Sustainability Compass" เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางความยั่งยืนได้...

Responsive image

ซูชิสายพาน หนึ่งใน Game Changer ที่สำคัญของวงการอาหารญี่ปุ่น

บทความนี้ เราจะพาทุกคนย้อนกลับไปสำรวจต้นกำเนิดของซูชิสายพานที่ไม่เพียงแค่เปลี่ยนวิถีการกินซูชิของคนญี่ปุ่น แต่ยังกลายเป็นธุรกิจร้านอาหารที่ถูกใจคนไทยในยุคปัจจุบันอย่างมาก...