“เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ทำให้ธุรกิจยุคนี้เติบโตยากกว่าเมื่อก่อนมาก”
เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายรายอาจจะกำลังคิดเช่นเดียวกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่ดำเนินการมานานแล้ว หรือเป็นธุรกิจที่เพิ่งเกิดใหม่ก็ตาม ซึ่งถ้าให้พูดคุยถึงประเด็นนี้เมื่อปี 2020 หนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบคงหนีไม่พ้นการแพร่ระบาดของ COVID-19 แน่นอน
แต่ถ้าลองมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่า คำพูดดังกล่าวนั้นได้เกิดขึ้นก่อนหน้าที่ COVID-19 จะมาอีกต่างหาก เพราะหลายธุรกิจได้ประสบกับการมาของคลื่น Digital Disruption ที่อาจจะทำให้ปรับตัวไม่ทันกันเลยทีเดียว เราได้เห็นภาพของหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ ต่างก็ทยอยล้มหายตายจาก หรือไม่ก็ประสบกับปัญหารายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง IMF ก็เคยได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า กว่า 40% ของธุรกิจเดิมบนโลกใบนี้จะหายไป และยิ่งมีโรคระบาดอย่าง COVID-19 เข้ามาอีก ยิ่งเหมือนเป็นการเร่งให้ธุรกิจต้องปรับตัวเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการผลักดันให้เทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อน
นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น คือ ภาพของโลกในยุค VUCA (Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity : VUCA) หมายถึง โลกที่เต็มไปด้วยความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือ แน่นอนว่าในสถานการณ์เช่นนี้ได้ส่งผลกระทบทั้งในแง่ของการใช้วิถีชีวิตและการดำเนินธุรกิจในแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิมที่อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว หรือแม้กระทั่งการทำธุรกรรมการเงิน ซึ่งประเด็นนี้เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่รับรู้ได้อย่างชัดเจนมาก และสถานการณ์เช่นนี้สำหรับคนทำธุรกิจแล้วถือเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะการปรับตัวของธุรกิจ SME
ดังนั้น ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังทำธุรกิจ ถึงเวลาที่จะต้องย้อนถามตัวเองแล้วว่า วันนี้ธุรกิจของคุณพร้อมที่จะรับมือในโลกยุค VUCA แล้วหรือยัง ?
ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา เชื่อว่าหนึ่งในบทเรียนของธุรกิจ SME ที่ทำให้เผชิญกับสภาวะยากลำบาก ก็คือ การบริหารการเงิน โดยความจริงที่น่ากลัวอย่างหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจต้องปิดตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ กระแสเงินสดไม่เพียงพอ โดยค่าเฉลี่ยของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่จะมี Cash Buffer Days แค่ 27 วัน ดังนั้นธุรกิจ SME ในไทยก็ไม่ต่างกันมาก ดังนั้นสำหรับกระแสเงินสดแล้วถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่มาหล่อเลี้ยงธุรกิจให้อยู่รอดได้เลยทีเดียว อีกทั้ง SME ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการเตรียมแผนสำรอง โดยเฉพาะการทำ Business Continuity Plan (BCP) เพื่อไว้รองรับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงไว้ด้วย
ในอดีตที่ผ่านมาอาจจะเป็นยุคทองของหลายธุรกิจ ซึ่งอาจจะเป็นความเคยชินของการดำเนินธุรกิจในยุค SCSC (Stability, Certainty, Simplicity, Clarity : SCSC) หมายถึง โลกที่เต็มไปด้วยความมีเสถียรภาพ ความแน่นอน ความเรียบง่าย และความชัดเจน ซึ่งล้วนแล้วแต่ตรงกันข้ามกับ VUCA ทั้งสิ้น ดังนั้นสำหรับธุรกิจแล้วความมั่นคงและวิธีการในอดีตไม่ตอบโจทย์กับปัจจุบันและอนาคตอีกต่อไป ธุรกิจจึงต้องมีการหาวิธีการใหม่และปรับให้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด
แน่นอนว่าในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา หลายธุรกิจที่สามารถอยู่รอดและเติบโตมาได้นั้น ล้วนแล้วแต่มีการปรับตัวสู่ออนไลน์ทั้งสิ้น ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ เพราะไม่ได้เพียงแต่สามารถสร้างโอกาสให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
ยกตัวอย่าง เช่น ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมามีการปิดเมือง ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ซึ่งหลายร้านที่มักจะขายแบบเน้นประสบการณ์ของลูกค้า อย่างร้านอาหารญี่ปุ่นแบบ Omakase ที่ต้องไปทานที่ร้านเท่านั้น หลายแบรนด์ต่างก็ได้มีการปรับตัวด้วยการเพิ่มช่องทางการขายผ่านออนไลน์มากขึ้น และมีการผูกกับเดลิเวอรี่อย่าง Grab, Lineman, Gojek และ Foodpanda แน่นอนว่าไม่ได้เพียงแค่ช่วยในการชดเชยรายได้ แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสให้สามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ได้อีกด้วย
กรณีศึกษาชั้นดีที่เห็นได้ชัดในเรื่องของการปรับตัวด้วยการหาไอเดียธุรกิจใหม่ ๆ คือ สายการบินและโรงแรม ซึ่งเราก็ทราบดีว่า ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่หลายสายการบินก็ปรับตัวมาเป็นธุรกิจขนส่งบ้าง หาเอกลักษณ์ของตัวเองอย่างอาหารแยกออกมาขายบ้าง หรือแม้แต่โรงแรมที่ไม่ได้เพียงแต่จัดลดราคา แต่ยังปรับรูปแบบการเข้าพักให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ให้บริการเหมารายเดือนเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการ Work From Home ดังนั้นการปรับตัวด้วยการหาไอเดียมาสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ นั้นจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจควรจะทำเพื่อให้อยู่รอดและเติบโตต่อไปได้
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นก็คือกรณีของการบินไทย ได้มีการปรับตัวด้วยการนำจุดเด่นอย่างอาหารออกมาขาย โดยที่ฮิตติดลมบน คงหนีไม่พ้นปาท่องโก๋ สังขยาจำปี ที่กลายเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดสูงภายในชั่วข้ามคืน และสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล นอกจากนี้ยังมีการปรับตัวมาทำร้านอาหารที่สร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าที่คิดถึงบริการบนเครื่องบิน ผ่านการจำลองสถานที่และบรรยากาศเสมือนว่ากำลังรับบริการอยู่บนเครื่องอีกด้วย
ในยุค VUCA นี้ ไม่มีอะไรที่มั่นคงและแน่นอน ดังนั้นในการบริหารจัดการภายในของธุรกิจนั้นจึงต้องลดความซับซ้อน ตัดกระบวนการที่ยุ่งยาก หรือที่เรียกว่า Lean Management เพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากที่สุด และในขณะเดียวกันการบริหารงานนั้นก็ต้องทำให้มีความยืดหยุ่น เพื่อที่จะง่ายต่อการปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายของธุรกิจ เพราะก่อนที่ SME จะสามารถหาวิธีเอาตัวรอดในยามที่เจอวิกฤตได้นั้น ควรมีกระแสเงินสด รัดเข็มขัดให้มีทรัพยากรเพียงพอที่พร้อมจะก้าวต่อไปได้
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าการทำธุรกิจในยุคนี้ การเดินคนเดียวอาจจะไม่เพียงพอและช่วยให้ก้าวได้เร็วทันการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ถ้าหากธุรกิจมีตัวช่วยที่สามารถเข้ามาช่วยปิดจุดอ่อน และส่งเสริมจุดแข็งได้ก็จะสามารถทำให้ก้าวไปได้ไกลและเร็วมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น ในกรณีของการบริหารการเงินของธุรกิจ ก่อนหน้านี้เราจะเห็นได้ว่าการทำธุรกรรมออนไลน์นั้นได้มอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้าบุคคลเป็นหลัก แต่ทุกวันนี้ธนาคารต่างพากันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกรรมการเงินแบบครบวงจรที่สามารถทำได้ง่าย ๆ และสะดวกสบายบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเข้ามาตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า SME ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหนึ่งในธนาคารนั้นก็คือ TMB ซึ่งเป็นผู้นำด้านดิจิทัลมาโดยตลอดนั่นเอง
เพราะ TMB เล็งเห็นว่า ปัจจุบันการทำธุรกิจ SME นั้นต้องปรับตัวให้เร็ว และต้องรัดเข็มขัดพอสมควร ดังนั้นการมีเครื่องมือทางการเงินที่ครบเพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับ SME ในช่วงสถานการณ์แบบนี้มีความจำเป็นมาก TMB จึงนำเสนอธุรกรรมทางการเงินครบวงจรที่ตอบโจทย์เพื่อ SME โดยเฉพาะ ที่ใช้งานง่ายและช่วยเพิ่มความสะดวก สามารถเห็นข้อมูลและนำมาวิเคราะห์เพื่อช่วยต่อยอดธุรกิจ และที่สำคัญช่วยลดต้นทุน ทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาที่ไม่จำเป็นได้อีกด้วย
ตัวอย่าง เช่น ทุกวันนี้เชื่อว่า SME ทุกคนประสบปัญหากับการเสียค่าธรรมเนียมจุกจิก ยิบย่อย เต็มไปหมด แต่ก็ไม่รู้จะจัดการยังไง ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อใช้บริการโอน-จ่ายเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านแอป BIZ TOUCH หรืออินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง Business ONE ก็จะช่วยให้สะดวกขึ้นและฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อใช้คู่กับบัญชีธุรกิจ SME One Bank หรือหากต้องการจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน ซึ่งจะต้องมีการโอนเงินเดือนผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง บ้างก็เสียค่าธรรมเนียม บ้างก็เสียเวลา ที่ต้องกรอกรายชื่อทีละรายการในทุกเดือน แต่สำหรับ TMB ไม่ได้ทำให้คุณเสียเวลาขนาดนั้น เพราะมีบริการจ่ายเงินเดือนพนักงาน Smart Payroll ผ่านแอป BIZ TOUCH หรืออินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง Business ONE ที่ฟรีทั้งค่าธรรมเนียมการโอนและสามารถโอนได้หลายรายการพร้อมกัน อีกทั้งยังตั้งเวลาล่วงหน้าได้อีกด้วย ทำให้เจ้าของธุรกิจไม่ต้องกังวลอีกต่อไป ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว ยังลดต้นทุนเวลาได้อีกด้วย หรือแม้แต่สำหรับเจ้าของกิจการร้านอาหารหรือร้านกาแฟที่มีหลายสาขาก็สามารถใช้บริการ Smart Shop แอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ช่วยให้บริหารจัดการหน้าร้านได้สะดวก รับชำระผ่าน QR Code รู้ยอดทันใจไม่ว่าจะมีกี่สาขา และที่สำคัญการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งอย่าง Business ONE นอกจากช่วยเรื่องความสะดวกแล้ว ยังสามารถเห็นภาพรวมการเงินต่าง ๆ ได้ในที่เดียว ทำให้สามารถนำข้อมูลการเงินมาวิเคราะห์เพื่อช่วยต่อยอดธุรกิจได้อีกด้วย
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า TMB ได้รวมทุกผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ของ SME มาไว้ให้ครบหมดแล้ว ที่สำคัญไม่ได้เพียงแค่ครบแต่ได้ออกแบบมาตอบโจทย์เพื่อแก้ Pain Points ให้กับ SME โดยเฉพาะ ช่วยลดต้นทุน ลดขั้นตอนยุ่งยาก ให้กับเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดี ทำให้รู้สึกเหมือนมีตัวช่วยในการดำเนินธุรกิจที่ดีเพื่อให้บริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งไม่ต้องเสียเวลากับกระบวนการที่มากมายและสามารถดำเนินการทุกอย่างได้ครบจบในที่เดียว
อย่างไรก็ตามธุรกิจ SME สามารถที่จะสร้างโอกาสอันยิ่งใหญ่จากการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับองค์กร ด้วยการเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการช่วยปรับกลยุทธ์และรูปแบบธุรกิจ รวมถึงการบริหารจัดการการเงินที่ถูกต้อง เพื่อให้ธุรกิจสามารถเอาชนะความท้าทายในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่สามารถคาดเดาได้ในโลก VUCA แบบนี้ได้
สำหรับ SME ใดที่อยากจะหลุดจากการใช้บริการธุรกรรมการเงินแบบเดิม ๆ มาใช้ธุรกรรมทางการเงินที่ง่ายกว่าและตอบโจทย์ครบทุกความต้องการ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Corporate Call Center โทร. 02-643-7000 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ tmbbank.com/transaction/theme/tech
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด