นอกจากปัญหาจากโควิด-19 แล้ว อีกหนึ่งความท้าทายที่อินเดียจะต้องเผชิญอยู่ คือ ‘เชื้อราดำ’ ซึ่งตอนนี้กลายเป็นวาระโรคระบาดระดับชาติ (epidemic) ไปแล้ว โดยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีรายงานว่าอินเดียมีผู้ติดเชื้อราดำมรณะกว่า 40,000 รายเลยทีเดียว อีกทั้งเชื้อราชนิดนี้ยังกระจายตัวได้อย่างรวดเร็วในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ส่งผลให้มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50 % อีกด้วย
เชื้อราดำ (Black Fungus) หรือ โรคราดำมรณะ (Mucormycosis) เกิดจากเชื้อตระกูลฟังไจที่มีชื่อว่า Mucormycetes โดยเชื้อเหล่านี้พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินและอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย เช่น ใบไม้ กองปุ๋ยหมัก และ มูลสัตว์ คนส่วนมากสัมผัสเชื้อเหล่านี้ทุกวันและเชื้อเหล่านี้ก็ไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะมีโอกาสติดเชื้อสูงขึ้น โดยเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดหรือไซนัส และแพร่กระจายไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้
อาการของโรค หากติดเชื้อที่ไซนัสหรือสมอง
หน้าบวมข้างเดียว
ปวดหัว
รู้สึกแน่นบริเวณจมูกหรือไซนัส
มีรอยดำที่สันจมูกหรือในปาก
มีไข้
อาการของโรค หากติดเชื้อที่ปอด
มีไข้
ไอ
เจ็บหน้าอก
หายใจติดขัด
อาการของโรค หากติดเชื้อที่ผิวหนัง
มีแผลพุพอง และบริเวณที่ติดเชื้ออาจเปลี่ยนเป็นสีดำ
มีรอยแดงหรือบวมรอบบาดแผล
เชื้อราดำเป็นโรคที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เชื้อราดำมักพบบริเวณโพรงจมูก สมอง ปอด และดวงตา พบมากในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อราตามใบสั่งแพทย์ และอาจถึงขั้นผ่าตัดนำเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อออก เพื่อป้องกันการลุกลาม
อินเดียรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อราดำตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 แต่พบเพียง 20 รายต่อปีเท่านั้น หลังจากการระบาดของโควิด-19 พบว่ามีผู้ติดเชื้อราดำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด