Startup คืออะไร? | Techsauce

Startup คืออะไร?

Screen Shot 2558-09-04 at 11.21.12 PM

ภาพบริษัท startup แห่งหนึ่งขณะกำลังนำเสนองานให้นักลงทุนดู จาก DEMO Conference startup company หรือบริษัทเกิดใหม่ มักจะเป็นคำที่ใช้เรียกบริษัททางด้านเทคโนโลยีใน Silicon Valley ที่สหรัฐอเมริกา ที่ต่อมาก็มีคนเรียกบริษัทแนวนี้ไปทั่วโลก โดยนักลงทุนจะสนใจลงทุนในบริษัทเหล่านี้ด้วยการพิจารณาดูจากอัตราการเติบโตของบริษัท ประวัติการทำงาน ความเป็นไปได้ในการประสบความสำเร็จ ความสามารถในขยายให้เติบโตทำกำไรได้

ตัวอย่าง Facebook, Google

ลองนึกภาพในหนัง The Social Network ตอนที่ Peter Thiel ลงเงินใน Facebook แล้วได้ถือหุ้นดูนะครับ จะทำให้เห็นภาพมากขึ้น อย่างตอนนี้ Facebook ก็กำลังจะเข้าตลาดหุ้นแล้ว เงินที่ Peter ลงไปไม่กี่แสนเหรียญในตอนแรก ตอนนี้กำลังจะหลายเป็นหลักหลายพันล้านเหรียญ กำไรมหาศาลหลายร้อยหลายพันเท่าเลยใช่ไหมล่ะครับ หรือลองดูตัวอย่าง Google ซึ่งขณะนี้ Larry Page กับ Sergey Brin ผู้ก่อตั้งทั้งสองคนกลายเป็นเศรษฐีพันล้านหมื่นล้านไปแล้วก็เพราะ Search Engine ที่ทั้งสองคนร่วมสร้างขึ้นมานั้นถูกใจคนทั้งโลก และทั้งสองคนหารายได้จากการโฆษณาบนการค้นหาของคนนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันว่า startup นั้นมีความเสี่ยงสูงมาก ไม่ใช่ทุกบริษัทจะทำได้แบบ Google ว่ากันว่า 90-95% ของบริษัทแนวนี้ล้มเหลว มีไม่กี่บริษัทนักหรอกที่จะประสบความสำเร็จ มุ่งหน้าสร้างความเติบโตให้ธุรกิจเพื่อที่จะได้กำไรมากขึ้น หรือเข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วยการปล่อย IPO หรือแม้กระทั่งขายกิจการให้รายใหญ่ไป

ถ้าแล้วอย่างนั้นทำไมถึงมีคนที่อยากสู้ อยากลอง เกิดใหม่อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน?

ส่วนหนึ่งมันเกิดขึ้นมาจากกระแสความคลั่งไคล้ในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต คิดว่าพวกเราคงจำยุคปลายทศวรรษที่ 90 ที่เรียกกว่า “ฟองสบู่ดอตคอม” กันได้นะครับ ตอนนั้นที่อเมริกาโดยเฉพาะบริเวณ Silicon Valley ทางตอนเหนือของรัฐ California มีบริษัทมากหน้าหลายตาพากันสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมา Netscape สร้างบราวเซอร์ให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต Amazon ทำเว็บอีคอมเมิร์ซ Google ทำ Search Engine Facebook ทำ Social Network Instagram ทำแอพพลิเคชั่นแนว Social Network ฯลฯ บริษัทเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เปลี่ยนแปลงโลกอย่างถอนรากถอนโคน พวกเขาเปลี่ยนวิถีชีวิตคนมากมาย คนเคยต้องเดินเข้าไปห้องสมุดเพื่อหาข้อมูล สมัยนี้เพียงแค่ไม่กี่คลิกก็ได้ข้อมูล คนเคยต้องซื้อของจากร้านจริง เดี๋ยวนี้สั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ตส่งให้ถึงบ้าน

และด้วยการที่มันสนุก และน่าลุ้นน่าลอง การทำ startup จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายคนรุ่นใหม่อยู่ตลอดทุกยุคทุกสมัย เราจึงเห็นฝรั่งเขาจะมีการสร้างบริษัท startup ขึ้นมาโดยผู้ก่อตั้ง (founder) จะมีไอเดียเจ๋งๆ รวมตัวกันทำบริษัทในโรงรถกันมากมาย จนต่อมามักจะไปเจอนักลงทุนทั้งที่เป็นแบบ Venture capital และแบบ Angel investor ที่จะช่วยลงเงินทำให้บริษัทมีเงินมาจ้างคนเพิ่มและดำเนินกิจการไปได้ต่อ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นการเอาสัดส่วนหุ้นแลกกับเงินลงทุน

ถ้านิยามโดยทั่วไปก็มีแค่นี้ครับ ไม่น่าจะมีอะไรไปกว่านี้

แต่การที่จะสร้างบริษัท startup ให้ประสบความสำเร็จแบบ Silicon Valley ทำได้นั้นทำกันอย่างไร เรามีของแถมให้ครับ นั่นก็คือ การที่ startup ตั้งอยู่ใน Silicon Valley อันเป็นแหล่งสถานที่ที่มีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ในนิเวศวิทยาของมัน 3 อย่างคือ บุคลากร เงินทุน และวัฒนธรรมความเป็นเจ้าของกิจการ และความคิดสร้างสรรค์ ถ้าสนใจอ่านกันต่อเลย

1.บุคลากร ใน Silicon Valley อุตสาหกรรมดิจิตอลเทคโนโลยีจะขับเคลื่อนไปได้ ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความสามารถ ที่นี่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายต่อหลายแห่ง หนึ่งในนั้นก็คือ Stanford ที่ผู้ก่อตั้งบริษัทดังๆ ก็จบจากที่นี่ อย่าง Jerry Yang, David Filo แห่ง Yahoo! และ Sergey Brin, Larry Page แห่ง Google เรียกได้ว่านอกจากเป็นแหล่งผลิตบุคลากรชั้นดีแล้ว ก็ยังสามารถ รับสมัครพนักงานเก่งๆ รุ่นใหม่ได้จากที่นี่โดยตรงอีกด้วย

2.เงินทุน บรรดาคนทำงานด้านดอตคอมทุกคนจะรู้จักถนน Sandhill ที่ว่ากันว่าเป็นแหล่งรวมของบริษัท Venture Capital หรือที่ เรียกกันสั้นๆ ว่า VC ใครที่มีไอเดียใหม่ๆ ใครที่อยากได้คำแนะนำดีๆ อยากได้เงินนำไปลงทุน ก็มาคุยกับ VC อย่าง Kleiner Perkins ที่นี่ได้ หรือเลยออกไปทาง Menlo Park ก็จะมี Sequoia Capital ลองไปเสิร์ชกันดูนะครับว่าบริษัทเหล่านี้ลงทุนกับบริษัทดอตคอมอะไรกันบ้าง แต่ทั้งนี้ระบบ VC นั้นในเมืองไทยได้ยินมาว่าเริ่มมีบริษัทต่างชาติเริ่ม เดินสายเข้าไปบ้างแล้ว แต่ถ้าไม่มีหาไม่เจอเราก็ออกไปหาจากเมืองนอกใกล้ๆ บ้านเราได้ครับ เห็นว่ามาลงกันที่สิงคโปร์เยอะ

3.วัฒนธรรมความเป็นเจ้าของกิจการและความคิดสร้างสรรค์ ด้วยความโด่งดังและความสำเร็จของ Silicon Valley มาหลาย ยุคหลายสมัย ทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกฝันอยากจะสร้าง Silicon Valley ในประเทศของตัวเองบ้าง เช่น บังกาลอร์ ที่อินเดีย ไซบีเรียที่รัสเซีย จงกวนชุน ที่เมืองจีน หรือในประเทศไทยเองก็เห็นว่า เราพยายามผลักดันภูเก็ต ให้เติบโตอย่างนั้นบ้าง แต่ก็ยังไม่เห็นคืบหน้าเท่าไหร่

แต่สิ่งที่แตกต่างที่สุด (และผมว่าน่าจะสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่เลียน แบบ Silicon Valley ยาก) ก็คือวัฒนธรรมความเป็นเจ้าของกิจการ และความคิดสร้างสรรค์ ถ้าทุกๆ ประเทศเน้นย้ำเรื่องวัฒนธรรมความคิดสร้างสรรค์ การศึกษา ที่บ่มเพาะให้คนได้คิด ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องของระบบการศึกษา และระบบ ความคิดเรื่องการเป็น เจ้าของกิจการที่ต้องปลูกฝัง กันยาวนาน ถึงจะสำเร็จได้

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ thumbsup.in.th

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...