ได้เวลา reskill & upskill สู่ Data Scientist ทำไมอาชีพนี้คือทางรอดในอนาคต | Techsauce

ได้เวลา reskill & upskill สู่ Data Scientist ทำไมอาชีพนี้คือทางรอดในอนาคต

ว่ากันว่า “Data is the New Oil” ข้อมูลคือน้ำมันดิบ Data Scientist ก็คือผู้ช่วยธุรกิจในการขุดขุมทรัพย์นี้ขึ้นมา เขาคือผู้ช่วยปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่าทางธุรกิจอย่างมหาศาลได้

องค์กรใดก็ตามที่ไม่มีความสามารถในการขุดเจาะน้ำมันดิบนี้ขึ้นมาในการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร จะเสียเปรียบอย่างมาก และหนึ่งในคนที่จะทำให้องค์กรสามารถสร้างคุณค่าทางธุรกิจได้ก็คือ Data Scientist

Data Scientist หรือ “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกฝน มีความกระตือรือร้น และความอยากรู้อยากเห็นในการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ในโลกของคลังข้อมูล เมื่อไม่นานมานี้ Harvard Business Review ได้นิยาม ‘Data Scientist’ ว่าเป็น 'งานที่เซ็กซี่ที่สุดในศตวรรษที่ 21’ ซึ่งถ้าเซ็กซี่ในที่นี้หมายถึงการมีคุณสมบัติที่หายาก และกำลังเป็นที่ต้องการของใครหลายๆ คน อาชีพนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น และการที่พวกเขามีสกิลที่เป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งค่าตัวก็สูงลิบ จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับองค์กรที่จะรักษาคนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้

หากองค์กรใดจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลจำนวนมากในการดำเนินธุรกิจ การมองหานักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ที่มีความสามารถในการดึงข้อมูลที่จำเป็นมาใช้ ก็จะเป็นความท้าทายสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องมองหาผู้ที่เลือกใช้ข้อมูลเป็นและทำให้เกิดประสิทธิผลกับธุรกิจมากที่สุด

Data Scientist กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ในปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากเกิดขึ้นในโซเชียลมีเดีย และในอนาคตจะมีข้อมูลที่เกิดจากเซนเซอร์เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ดังนั้นอาชีพนี้จึงสำคัญมาก

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer ผู้ดูแลหน่วยงาน Digital Office ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง SCG หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าทีม “WEDO” กล่าว

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer ผู้ดูแลหน่วยงาน Digital Office ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง SCGคุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer ผู้ดูแลหน่วยงาน Digital Office ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง SCG

เมื่อการมีแค่ Hard skills ไม่เพียงพออีกต่อไป แล้วทักษะอะไรที่ Data Scientist ต้องมีในยุคนี้?

เป็นที่ทราบกันดีว่า อาชีพนี้ไม่ได้เป็นอะไรใหม่ แล้วทำไมในช่วงที่ผ่านมาถึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากเป็นพิเศษ?

ในอดีตผู้ที่ทำอาชีพนี้ได้ ต้องมีพื้นฐานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ผสานกับทักษะการคำนวณ และการวิเคราะห์ แต่ในปัจจุบัน ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะทำอาชีพนี้ให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ได้มีแค่นี้ 

“ปัจจุบันเราไม่ได้ต้องการผู้ที่เข้าใจแค่ชุดข้อมูล แต่เราต้องการคนที่รักในการ explore ค้นหา insight 

เพราะผู้เป็น Data Scientist จะต้องทำ exploration process ซึ่งผู้ที่จะทำได้ ไม่สามารถเป็นเพียงนักสถิติหรือนักคณิตศาสตร์ แต่ต้องเข้าใจคน ซึ่งก็คือลูกค้า และธุรกิจ จึงจะสามารถเข้าใจ insight ได้” คุณอภิรัตน์ กล่าว

“ในอดีตข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลจากองค์กรหรือ structural data แต่ปัจจุบันจะเป็น unstructural data หรือข้อมูลเชิงพฤติกรรมจากโซเชียลมีเดีย และในอนาคตข้อมูลจะมาจากเซ็นเซอร์ ดังนั้นชุดข้อมูลจะมีความลึกซึ้งและมีความท้าทายมากขึ้น”

นัก Data Scientist ที่ดี จะต้องมีความเข้าใจ ไม่ใช่แค่ในเชิงเทคนิคเท่านั้น แต่จะต้องเป็นคนที่มีทักษะในลักษณะ T-Shape คือมีความเข้าใจคนและธุรกิจ จึงจะสามารถหา insight และตีความข้อมูลที่ลึกได้

“เราอยู่ในยุคที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว แต่ก่อนข้อมูลกระจัดกระจาย องค์กรใดที่ลงทุนกับการจัดการข้อมูลและคนที่มีความสามารถในการจัดการจะได้เปรียบ” ดร.จักรพงษ์ อัตถากร Head of Digital Intelligence จากทีม WEDO กล่าว

คุณจักรพงษ์ อัตถากร Head of Digital Intelligence จากทีม WEDOดร. จักรพงษ์ อัตถากร Head of Digital Intelligence จากทีม WEDO

การที่หลายบริษัทประสบความสำเร็จในการใช้ข้อมูลที่มีให้เกิดประโยชน์ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้บริษัทอื่นๆ นอกจากนี้การพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการจัดการข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ ก็เป็นการช่วยบริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

และเพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่าย ปัจจุบัน ก็ได้มีการพัฒนาเครื่องมือช่วยบริษัทในการจัดการข้อมูล ทำการเลียนแบบนัก Data Scientist ที่แม้แต่คนที่ไม่มีพื้นฐานด้านนี้ ก็สามารถทำ data analytic ได้ ด้วยการเขียนโค้ดเพียงไม่กี่บรรทัด

ตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการใช้ข้อมูล เช่น Facebook, Google, Amazon, Microsoft, Walmart, eBay, LinkedIn และ Twitter ซึ่งต่างก็ได้เพิ่มและปรับแต่งชุดเครื่องมือที่จำเป็นให้กับทีม Data Scientist ของพวกเขา

เมื่อการพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความฉลาดเทียบเท่ากับมนุษย์นั้นมีมานานแล้ว แล้วเช่นนี้ Data Scientist ยังจำเป็นอยู่หรือไม่? ทักษะที่คนทำอาชีพนี้ต้องมีในปัจจุบันต่างจากในอดีตอย่างไร?

คุณอภิรัตน์ให้คำตอบว่า “หาก Data Scientist มองตัวเองว่าเป็นแค่นักวิเคราะห์ข้อมูล อีกไม่นานหลังจากนี้แมชชีนจะสามารถทำได้และเร็วกว่า แต่ถ้าพวกเขามองตัวเองว่าเป็นนักค้นหา (Explorer) นักสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ๆ โดยใช้ข้อมูล (Data) เป็นน้ำมันดิบ เขาคนนั้นจะมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลคนอื่นๆ” 

“แน่นอนว่า AI ยังไม่สามารถทำแทนได้ในเร็ววันแน่นอน เพราะมันไม่มีแรงขับเคลื่อน แพชชั่น และการเข้าใจผู้อื่นอย่างที่มนุษย์มี อย่างไรก็ตามหาก AI พัฒนาเก่งขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ชีวิตของ Data Scientist ง่ายขึ้นเช่นกัน”

“นอกจากนี้ ทักษะสำคัญที่ Data Scientist จำเป็นต้องมีคือทักษะในการเล่าเรื่อง (Storytelling) และทักษะในการนำเสนอ (Presentation) พวกเขาจะต้องสื่อสารไปยังผู้อื่นให้สามารถเข้าใจได้ อีกทั้งสามารถนำไปต่อยอด และสร้างอิมแพคทางธุรกิจได้จริง”

ซึ่งคนที่มีคุณสมบัติทั้งหมดนี้ เขาจะได้เปรียบในตลาดแรงงานอย่างแน่นอน แต่การตามหาคนที่มีคุณสมบัติครบเครื่องไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งทักษะต่างๆ ที่จำเป็นเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังไม่มีสอน

WEDO x HARBOUR.SPACE@UTCC เฟ้นหาผู้มีคุณสมบัติหายาก พร้อมเทรนทักษะที่จำเป็นเพื่อทำการต่อยอดในอนาคต

SCG จึงเชิญชวนเหล่า talent มาปลุกทักษะด้าน Data Science ทำการ reskill และ upskill ฉีกทุกกฏตำราเรียนเดิม ด้วยหลักสูตรปริญญาโทด้าน Data Science ของ HARBOUR.SPACE@UTCC ซึ่งเป็น Disruptive university ของสเปนจับมือกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองหา Data Scientist คนใหม่ของไทย โดยผู้ที่ได้รับทุน จะได้เรียนทั้งทักษะ Data Science ที่จำเป็นต่อการทำงานยุคใหม่ ได้ความรู้รอบด้านแบบ T-Shaped skills อีกทั้งเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและลงมือทำจริงจาก “กูรูตัวจริงของวงการ” ระดับโลก ทั้งในแวดวง Design, Business และ Technology

WEDO x HARBOUR.SPACE@UTCC

ก่อนหน้านี้ ผู้สมัครโครงการได้ผ่านบททดสอบวัดความสามารถด้าน hard skills มาแล้ว และในวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา ก็ได้มีการจัด Audition day 2020 ขึ้น ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายของการพิชิตทุน ความท้าทายในครั้งนี้ก็เปรียบเสมือนการพิชิตยอดเขา ที่เหล่าผู้สมัครต้องเอาชนะความกลัว เผชิญกับเส้นทางสุดท้าทายเพื่อคว้าทุน ซึ่งผู้สมัครได้ผ่านบททดสอบต่างๆ ที่ไม่ได้วัดแค่ความรู้เชิงวิชาการ เพราะ Data Scientist ที่ดีต้องมีจิตวิญญาณของเถ้าแก่ ดีไซน์เนอร์ มีไอเดียทางธุรกิจ

ทั้งยังต้องมี mindset, passion และsoft skills ที่ใช่ โดยค้นหาผ่าน challenge ทั้งสามแบบ ได้แก่

  • challenge#1 pitching ชี้วัดเรื่องการเลือกใช้และวิเคราะห์ data การนำเสนอ รวมถึง passion และ mindset ของผู้สมัคร  
  • challenge#2 test ชี้วัดความสามารถด้าน logical thinking ทักษะสำคัญของสายงาน Data Science ผ่านการไขโจทย์ปัญหาสุดท้าทาย
  • challenge#3 board game เล่นเกมก็วัดทักษะได้! ด้วยเกม ANACADE ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น Game of 21st Century Skills ดำเนินการโดย BASE Playhouse ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบ gamification ซึ่งเกมนี้ชี้วัดได้ทั้งด้าน collaboration, communication, critical thinking, creativity รวมทั้ง mindset สำคัญอย่าง humble และ fearless 

จากการค้นหาสุดเข้มข้น ในที่สุด WEDO ก็ได้พบผู้สมัครที่ฝ่าฟันด่านทดสอบจนพิชิตยอดเขา เอาชนะขีดจำกัดของตัวเอง คว้าทุนฯ นี้ไปครองได้สำเร็จ นั่นคือ “คุณกุลธิดา ภูมินา” 

งานในครั้งนี้จัดโดยทีมงาน “WEDO” หน่วยงาน Digital Office ที่ดำเนินงานภายใต้ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างของเอสซีจี หรือ SCG Cement-Building Materials มีภารกิจหลักคือการช่วย transform และพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ให้กับ SCG โดยใช้เทคโนโลยีมาสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า  เข้าไปดูแลลูกค้ามากกว่าแค่สิ่งที่จับต้องได้อย่างเรื่องของบ้าน ดูแลให้การอยู่อาศัยในบ้าน มีชีวิตที่ดีขึ้น และดีต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น โดยความสามารถหลักของ Digital Office  มีสามด้านคือ เข้าใจคน (Design), ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบให้กับองค์กร (Business) และใช้เทคโนโลยีในการเข้ามาเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจใหม่ให้กับองค์กร ให้รวดเร็ว และเข้าถึงลูกค้า (Technology) ซึ่งทั้งสามอย่างจะสำเร็จได้จะต้องมี ‘คน’ หรือ talent ที่เหมาะสม

ติดตามโครงการดี ๆ จาก WEDO เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/wedotheofficial/

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...