ทำงานวันละ 6 ชั่วโมง เคล็ดลับสู่ความสำเร็จของ Tech Startup ในสวีเดน | Techsauce

ทำงานวันละ 6 ชั่วโมง เคล็ดลับสู่ความสำเร็จของ Tech Startup ในสวีเดน

เคยสงสัยกันมั้ยคะว่าทำไมเราต้องทำงานในออฟฟิศวันละ 8 ชั่วโมง (เป็นอย่างน้อย) ตัวเลขนี้มาจากไหน ใครกำหนด ทำน้อยกว่านี้ได้มั้ย? ขอตอบว่าได้ค่ะ เพราะตอนนี้ที่สวีเดน การทำงานในออฟฟิศวันละ 6 ชั่วโมง กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แถมยังไม่ทำให้รายได้บริษัทลดลงด้วย ผู้บริหารคิดยังไง แล้วทำได้ยังไง มาติดตามกันค่ะ

บทความจาก Fast Company ระบุว่า การทำงานวันละ 8 ชั่วโมง มาจากการทดลองที่ Henry Ford จัดขึ้นในโรงงานของเขา ซึ่งแปลว่ามันนานมากแล้ว และในตอนนี้ ชาวอเมริกันทำงานกันนานกว่านั้นด้วยซ้ำ โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 8.7 ชั่วโมง ต่อวัน โดยส่วนมากจะถูกใช้ไปกับอีเมล ประชุม และ Facebook มากกว่าหน้าที่ที่ควรจะเป็น

แปลว่ามันถึงเวลาแล้วที่เราจะกลับมาทบทวนชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด

Linus Feldt ซีอีโอบริษัท Filimundus ผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นในสตอคโฮล์ม กล่าวว่า “การทำงานวันละ 8 ชั่วโมงไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพอย่างที่ทุกคนคิดหรอกนะ”

3051448-poster-p-1-why-sweden-is-shifting-to-a-six-hour-workday

เพราะการพยายามโฟกัสกับงานบางอย่างเป็นเวลาถึง 8 ชั่วโมง ถือเป็นความท้าทายมาก และโดยมากแล้วเราก็ต้องวุ่นวายกับงานหลายๆ อย่างแบบจับแพะชนแกะ ในขณะเดียวกัน เราก็พบว่าการจัดการชีวิตส่วนตัวกลายเป็นเรื่องยาก  ทั้งๆ ที่อยากจะใช้เวลากับครอบครัวให้มากขึ้น อยากเรียนรู้มากขึ้น หรือออกกำลังกายให้มากขึ้น จะมีวิธีการใดบ้างที่ทำให้สิ่งเหล่านี้ไปด้วยกันได้ดี

นั่นคือสิ่งที่ Linus Feldt คิด

เมื่อปีที่แล้ว บริษัท Filimundus เปลี่ยนนโยบายมาเป็นการทำงานแบบ 6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งไม่ได้ทำให้วิธีการทำงานของคนในบริษัทเปลี่ยนไป นอกจากชั่วโมงการทำงานที่ลดลงแล้ว หัวหน้าทีมยังขอให้ลูกค้าโฟกัสกับงานมากขึ้น ด้วยการงดใช้โซเชียลมีเดีย  และงดการประชุมประจำสัปดาห์ที่ไม่จำเป็น

“สิ่งที่ผมประทับใจเกี่ยวกับนโยบายนี้คือ มันทำให้เราโฟกัสกับงานได้มากขึ้น งานเสร็จมากขึ้น และเราก็ยังเหลือพลังงานอีกมากสำหรับการใช้ชีวิตส่วนตัวนอกเวลางาน” Feldt กล่าว

ไม่ใช่แค่บริษัทของ Feldt เท่านั้น แต่ Brath สตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีอีกรายหนึ่งในสวีเดนก็เริ่มใช้นโยบายนี้มาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว และประโยยชน์สูงสุดที่พวกเขาได้มาก็คือ มันช่วยรักษาพนักงานเอาไว้กับบริษัท

“เรายังคงเชื่อว่า เมื่อคุณมีเวลาให้ครอบครัว ไปรับลูกที่โรงเรียน มีเวลาไปออกกำลังกาย หาความรู้ หรือทำอาหารดีๆ ที่บ้าน คุณคงไม่อยากเสียเวลาเหล่านี้ไป เราเชื่อว่ามันคือเหตุผลที่ดีที่คุณจะอยู่กับเรา”

นอกจากภาคเอกชนแล้ว หน่วยงานของรัฐในสวีเดนก็ยังนำเอานโยบายนี้ไปใช้เช่นกัน จากการทดลองครั้งล่าสุด พยาบาลที่บ้านพักคนชราของรัฐ ก็เปลี่ยนมาทำงานวันละ 6 ชั่วโมง โดยที่ยังได้รับค่าจ้างเท่าเดิม ถึงแม้ว่าในกรณีนี้ จะทำให้ต้นสังกัดมีต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่การที่ผู้ป่วยและคนชราในความดูแลได้รับบริการที่ดีมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นต้นทุนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

3051448-inline-i-2-why-sweden-is-shifting-to-a-six-hour-workday

การทดลองในภาครัฐครั้งนี้ยังเป็นแบบชั่วคราวเท่านั้น และอาจจะไม่กลายเป็นนโยบายอย่างเป็นทางการ เพราะในปี 1990 บ้านพักคนชราและสถานรับเลี้ยงเด็กบางแห่งในสวีเดนเคยทดลองทำงาน 6 ชั่วโมงต่อวันมาแล้ว และเมื่อการทดลองเสร็จสิ้น พวกเขาก็กลับไปใช้นโยบายเดิม คือ 8 ชั่วโมงต่อวัน เพราะไม่ต้องการแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น ในขณะที่หน่วยงานภาคเอกชนมีแนวโน้มจะเปลี่ยนมาทำงานวันละ 6 ชั่วโมงมากขึ้น

ที่ Filimundus ยังไม่พบว่ามีผลเสียอะไรจากนโยบายนี้ บริษัทยังคงมีผลงานเท่ากับเมื่อครั้งยังทำงานวันละ 8 ชั่วโมง

“มันก็มีบ้างที่เราต้องการอะไรแบบเร่งด่วน และไม่มีคนที่รับผิดชอบอยู่ตรงนั้น เพราะมันนอกเวลาทำงานของเรา แต่เรื่องแบบนี้มันก็เกิดขึ้นกับบริษัทที่ทำงานวันละ 8 ชั่วโมงอยู่ดี คุณหลีกเลี่ยงมันไม่ได้หรอก” Feldt กล่าว

“สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ คนของเรามีพลังงานมากขึ้น พวกเขากลับบ้านอย่างมีความสุข และกลับมาทำงานในวันถัดไปอย่างมีความสุข ไม่มีใครรู้สึกหมดพลัง หรืออ่อนเพลีย นั่นมันเรื่องดีไม่ใช่เหรอ? พวกเขาทำงานกับทีมได้ดีขึ้น ความขัดแย้งน้อยลง”

นั่นคือสิ่งที่ Feldt เห็นว่าเป็นพื้นฐานความสำเร็จของงบริษัท

“ทุกวันนี้ ผมเชื่อว่าเวลามีค่ามากกว่าเงิน ผมค่อนข้างมั่นใจว่าคนจำนวนมากมีความยินดีกับเวลาที่มากขึ้น มากกว่าเงินเดือนสูงๆ และการเปลี่ยนมาทำงานวันละ 6 ชั่วโมง ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราลงทุนกับคนของเรา ก็อย่างที่เราเชื่อนั่นล่ะครับ พนักงานที่มีความสุขคือสิ่งสำคัญที่สุดของบริษัทเรา ถ้าพนักงานมีความสุข บริษัทก็มีความสุข”

ว่าแต่มีบริษัทไหนในกรุงเทพฯ อยากจะลองเอานโยบายนี้ไปใช้มั้ยคะ

ไม่ใช่อะไร...จะได้รีบเตรียมเรซูเม่ :P

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...