จาง อีหมิง เจ้าของ TikTok ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งในจีน! | Techsauce

จาง อีหมิง เจ้าของ TikTok ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งในจีน!

ปี 2024 ดูเหมือนเศรษฐกิจจีนจะไม่สู้ดีนัก ส่งผลให้จำนวนมหาเศรษฐีจีนเติบโตช้าที่สุดในรอบ 20 ปี รายงานจากสถาบันวิจัย Hurun เผยว่าในปีนี้มีเศรษฐีหน้าใหม่เพียง 54 คนที่ได้เข้าสู่รายชื่อมหาเศรษฐีจาก 1,094 คน แถมจำนวนมหาเศรษฐีโดยรวมยังลดลงถึง 12% จากปีที่แล้ว ในขณะที่อีก 88% ที่เหลือก็มีทรัพย์สินลดลงหรือไม่ก็เท่าเดิม

การจัดอันดับเศรษฐีจีนในปี 2024 

  • จาง อีหมิง ผู้ก่อตั้ง ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ขึ้นแท่นเศรษฐีอันดับหนึ่งของจีนเป็นครั้งแรก โดยทรัพย์สินของเขาเพิ่มขึ้นถึง 14.8 พันล้านดอลลาร์ รวมเป็น 49.3 พันล้านดอลลาร์ ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากฐานผู้ใช้ TikTok ที่แข็งแกร่งในสหรัฐฯ ทำให้รายได้ทั่วโลกของ ByteDance โตขึ้นถึง 30% โดยอยู่ที่ 110 พันล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา
  • จง ซานซาน เจ้าของธุรกิจน้ำดื่ม Nongfu Spring จง ซานซาน ตกไปอยู่อันดับสองในปีนี้ เนื่องจากทรัพย์สินของเขาลดลงถึง 15.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นการลดลง 24% ผลกระทบนี้เกิดจากการเผชิญกระแสต่อต้านทางธุรกิจในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
  • ฉางเผิง จ้าว อีกหนึ่งเศรษฐีที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นสูงคือ เจ้า ชางเผิง ผู้ก่อตั้ง Binance บริษัทเทรดคริปโทฯ โดยทรัพย์สินของเขาเพิ่มขึ้น 12.6 พันล้านดอลลาร์ รวมเป็น 19 พันล้านดอลลาร์จากการพุ่งขึ้นของตลาดคริปโต
  • เจิ้ง อูชุนเจิ้ง ยู่ฉุน ผู้ก่อตั้ง CATL บริษัทแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า อันดับลดลงมาอยู่ที่ 6 เนื่องจากทรัพย์สินของเขาลดลง 7 พันล้านดอลลาร์จากผลกระทบของสินค้าล้นตลาด
  • หลี่ ซูฝู อีกหนึ่งมหาเศรษฐีที่อันดับลดลงในปีนี้คือ หลี่ ซูฟู่ จาก Geely Auto ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในจีน เศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทและอันดับความมั่งคั่งของเขา

ธุรกิจดาวเด่นที่กำลังมาแรงในจีน

  • อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน: ธุรกิจเช่น Temu ของ Pinduoduo และ Shein กำลังได้รับความนิยมสูง
  • สินค้าอุปโภคบริโภค: สินค้าในชีวิตประจำวันมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • เทคโนโลยีสุขภาพ: ยาและอุปกรณ์การแพทย์กำลังมีความต้องการสูงขึ้น เนื่องจากความตระหนักในสุขภาพที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจเหล่านี้เริ่มเข้ามาแทนที่อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเคยเป็นแหล่งสร้างความมั่งคงหลักในอดีต สะท้อนถึงการปรับตัวของเศรษฐกิจจีนในปัจจุบัน ขณะที่ธุรกิจพลังงานสะอาด เช่นแผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ และยานยนต์ไฟฟ้า กำลังเผชิญความท้าทายจากภาวะอุปทานล้นตลาดและความเสี่ยงจากภาษี

ธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาลง

  • อสังหาริมทรัพย์: ที่เคยบูมสุดๆ ในอดีต ตอนนี้ซบเซาลงมาก
  • พลังงานสะอาด: เช่น โซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า ที่กำลังเจอปัญหาอุปทานล้นเกิน

มหาเศรษฐีหน้าใหม่ที่น่าจับตามอง

  • Hsu Bang-Fu เจ้าของ Fortune Electric จากไต้หวันผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • Mao Wenchao และ Qu Fang จาก Xiaohongshu แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
  • Yu Kai จาก Horizon Robotics บริษัทเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติที่เพิ่งระดมทุน IPO กว่า 700 ล้านดอลลาร์ที่ฮ่องกง

สรุป

แม้เศรษฐกิจจีนจะเผชิญกับความท้าทาย แต่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สินค้าอุปโภคบริโภค และเทคโนโลยีสุขภาพยังคงมีโอกาสเติบโต โดยในขณะเดียวกันกลุ่มธุรกิจพลังงานสะอาดและอสังหาริมทรัพย์ต้องเผชิญกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของตลาด

อ้างอิง: nikkei

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...

Responsive image

นวัตกรรมใหม่ จะสร้างโอกาส หรือเข้ามา Disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ ? ส่องความเห็นจาก CEO ชั้นนำในยุคนวัตกรรม

อนาคตกำลังมาถึงเร็วขึ้นเรื่อยๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย และกำลังเปลี่ยนโฉมธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แต่คำถามสำคัญคือ นวัตกรรมอะไรบ้างที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้? ใครคือผ...