History of work ใครกันนะ? ที่เป็นคนคิดค้นการทำงาน | Techsauce
History of work ใครกันนะ? ที่เป็นคนคิดค้นการทำงาน

กุมภาพันธ์ 1, 2024 | By Chanapa Siricheevakesorn

ในวันที่การทำงานไม่เป็นดั่งใจ เคยคิดเล่น ๆ ไหมว่าใครกันนะที่เป็นคนคิดค้นการทำงานขึ้นมาบนโลก! แล้วความหมายแท้จริงของการทำงานคืออะไร แพชชั่น? การได้รับการยอมรับ? หรือการทำเพื่ออยู่รอด? วันนี้ ConNEXT จะพาเพื่อน ๆ ไปหาคำตอบกันกับ ‘History of work’ 

Work

ใครคือคนแรกที่คิดการทำงานขึ้นมา?

คำตอบสั้น ๆ คือ คนแรกที่ประดิษฐ์การทำงานขึ้นมาคือ ‘มนุษย์’ นั่นเอง เพราะตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์ต้องทำงานเพื่อดำรงชีวิต และรูปแบบการทำงานก็พัฒนาอย่างต่อเนื่องไปตามยุคสมัย ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนั้น เกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 และได้มีการพัฒนารูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

แต่ถ้าเราเจาะลึกไปกว่านั้น ในช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม แรงงานส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตรกรรม โดยใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก ซึ่งการทำงานส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและฤดูกาลของพืชผล การทำงานจึงมีลักษณะเป็นงานอิสระสูง สามารถกำหนดเวลาการทำงานและปริมาณงานเองได้

จนมาในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการทำงาน แม้เครื่องจักรกลจะมีบทบาทแทนแรงงานคน สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากขึ้นในเวลาอันสั้น แต่ความต้องการแรงงานมนุษย์ก็ไม่ได้ลดลงแต่กลับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการเริ่มทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย โดยมีรูปแบบการทำงาน แบบงานประจำ มีการกำหนดเวลาการทำงานและปริมาณงานไว้ล่วงหน้า พร้อมทั้งมีการกำหนดเรทค่าจ้าง การทำงานจึงเริ่มมีความสัมพันธ์กับเงินหรือรายได้มากขึ้น

History of work: รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปตามสมัย

รูปแบบการทำงานแบบ 9-5

รูปแบบการทำงานแบบ Remote work

รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid work

รูปแบบการทำงานแบบ 4 Days per week

แล้วรูปแบบการทำงานแบบไหนที่เหมาะกับเรานะ?

รูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับเรานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะงาน ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว รายได้และความพึงพอใจ

ถ้าเราเป็นคนที่ชอบทำงานเป็นทีมและต้องการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การไปทำงานประจำที่ออฟฟิศอาจเป็นรูปแบบการทำงานที่เหมาะกับเรา

แต่ถ้าเราเป็นคนที่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานและต้องการใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น การ Work from home หรือ Hybrid work อาจเป็นรูปแบบการทำงานที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้

ส่วนรูปแบบการทำงานแบบ 4 Days per week นั้น ยังคงเป็นที่น่าจับตามองว่าประเทศไทยเราจะสามารถทำงานรูปแบบนี้ในอนาคตได้หรือไม่? 

สรุป รูปแบบการทำงานแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นจากแนวคิดของคนต่าง ๆ ที่ต้องการปรับปรุงการทำงานให้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมอบความยืดหยุ่น สวัสดิการที่ดีและตอบโจทย์มากขึ้นให้กับพนักงาน ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบ 9-5, Remote work, Hybrid work,และ 4 Days per week นั้น ล้วนมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการและข้อตกลงของพนักงานและองค์กรในการทำงานร่วมกัน

แล้วเพื่อน ๆ ล่ะ ชอบทำงานรูปแบบไหน? อย่าลืมมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะ

อ้างอิง Sources 1, Sources 2, Sources 3, Sources 4, Sources 5, Sources 6, Sources 7, Sources 8

No comment