กับดักนวัตกรรมตอนที่ 3: การบริหารงานที่ดี?!? | Techsauce

กับดักนวัตกรรมตอนที่ 3: การบริหารงานที่ดี?!?

เพื่อนๆ อาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ การบริหารงานที่ดีเป็นกับดักนวัตกรรมได้อย่างไร เดี๋ยวมารับความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ Innovator’s Dilemma ของอาจารย์ Clayton Christensen
Clayton ได้ทำการวิจัยบริษัทที่เคยประสบความสำเร็จมากๆ และในที่สุดพ่ายแพ้ให้กับบริษัทที่เล็กกว่า ทรัพยากรน้อยกว่า และพยว่าบริษัทเหล่านี้หลายๆบริษัทมีการบริหารงานที่ดี ผู้บริหารมีความใส่ใจในเรื่องตัวเลข มีระบบระเบียบการทำงานที่ดี  บริษัทแบบนี้ก็ไม่น่าจะล้มเหลวสิ แต่ทำไมบริษัทกลุ่มนี้ถึงพลาดได้ พอลงไปสัมภาษณ์บริษัทเหล่านี้ Clayton ก็ถึงบางอ้อว่า อ้าวนี่แหล่ะปัญหา

ด้วยความที่ผู้บริหารใส่ใจเรื่องตัวเลข ทำให้เวลาจะของบประมาณไปทำนวัตกรรมใหม่ ผู้บริหารก็ต้องการจะได้ IRR ต้นทุนโครงการ รายได้ ค่าใช้จ่าย ขนาดตลาด เป๊ะๆ แต่หลายๆ ครั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือตลาดใหม่ๆ เป็นเรื่องที่คาดการณ์ยากมากๆ เพราะข้อมูลอาจจะไม่มีเลยก็เป็นได้ พอต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนก่อน ก็เลยไม่ได้ลงทุนสักที นอกจากนี้พอมีข้อมูล แต่ถ้านวัตกรรมไม่ทำให้เกิดผลตอบแทนที่สูงเท่าที่ต้องการ ก็เลือกที่จะไม่ลงทุน
และการบริหารงานที่ดีทำให้พยายามวัดผลว่าพนักงานต้องประสบความสำเร็จ สร้างกำไร และรายได้ แต่นวัตกรรม อย่างที่ทราบ มักจะล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ แถมยังอาจจะใช้เวลานานกว่าจะผลิดอกออกผล หากมานั่งชี้วัดกับนวัตกรรมแบบที่ใช้กับการบริหารงานทั่วไป คงไม่มีใครอยากทำงานนวัตกรรม

ดังนั้น ในบางครั้ง ถ้าไม่ได้ลงทุนมากจริงๆ ก็คงต้อง มั่วๆ บ้าง กะๆ เอา แบบที่พี่โจ้ ธนา พูดบ่อยๆ และมักใช้ในการบริหารงานครับ เพื่อเปิดโอกาสให้ได้ลองและลงทุนกับนวัตกรรมใหม่ๆ
ตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้คือ Intel ในตอนที่ Apple วางแผนทำ iPhone อยู่นั้น Apple มาติดต่อ Intel เพื่อให้ทำ CPU ให้ แต่ Intel คิดว่าตลาด PC ใหญ่มากอยู่แล้ว Apple คงทำ iPhone อย่างมาก ก็คงขายได้ไม่มากหรอก ต้องลงทุนเยอะ และคงไม่ได้รายได้มากนัก และ Intel ก็ไม่ได้มีประสบการณ์ด้านนี้มาก Intel เลยปฏิเสธไป และต้องเจ็บปวดใจจนทุกวันนี้ เพราะ iPhone ขายดีระเบิดเถิดเทิง และทำให้ตลาด Smartphone ใหญ่กว่าตลาด PC เสียอีก ไว้เรื่องนี้จะมาเล่าลงรายละเอียดให้ฟังวันหลังครับ ตัดสินใจพลาดวันนั้น ส่งผลหนักถึงวันนี้เลยทีเดียว

บทความนี้เป็น Guest Post โดย ณัฐ เหลืองนฤมิตชัย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

4 เสาหลักสู่นวัตกรรม ความสำเร็จที่ยั่งยืน ที่องค์กรขาดไม่ได้

ปัญหาจริงของการขาดนวัตกรรมคือ "คุณภาพ" รวมถึงวิธีการ ”เลือก” ไอเดียที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าได้จริง จากการวิจัย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมมักม...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...