การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ : องค์กรขนาดใหญ่ต้องปรับตัวไปกับอุตสาหกรรมอย่างไร และสตาร์ทอัพจะเข้ามาช่วยอะไรได้บ้าง | Techsauce

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ : องค์กรขนาดใหญ่ต้องปรับตัวไปกับอุตสาหกรรมอย่างไร และสตาร์ทอัพจะเข้ามาช่วยอะไรได้บ้าง

ดร.จาชชัว แพส ผู้อำนวยการด้าน Digital Transformation ของเอสซีจี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น กรรมการผู้จัดการ ‘AddVentures By SCG' เมื่อต้นปี 2017 เพื่อช่วยให้ธุรกิจเอสซีจีเติบโตอย่างก้าวกระโดดและเป็นผู้นำด้าน Digital Transformation ซึ่งในงาน Techsauce Global Summit 2017 ดร.จาชชัวมาเป็นหนึ่งใน Speaker ของงาน โดยมาพูดในหัวข้อ ‘The NEW Industrial Revolution: How Corporate Giants Must Transform With the Industry – And How Startups Can Help’

ทำไมเอสซีจีต้องขับเคลื่อนไปสู่ Digital Transformation?

ด้วยความที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่และมีบริษัทในเครือมากมาย เอสซีจีต้องขับเคลื่อนองค์กรเพื่อไปสู่ Digital Transformation (การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจ) โดย ดร.จาชชัวให้เหตุผลไว้ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำเพื่อความอยู่รอด - ตั้งแต่ปี 1995 มีคลื่นความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ธุรกิจถูก Disrupt จนต้องล้มหายตายจาก เช่น ธุรกิจเพลง ธุรกิจเช่าวิดีโอ ธุรกิจถ่ายภาพ ต่อมาในปี 2010 ธุรกิจนิตยสาร การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมทีวี ตามมาด้วยธนาคาร ค้าปลีก สุขภาพ โทรคมนาคม และอุตสาหกรรมประกัน ก็ถูก Disrupt ด้วยเช่นกัน ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าธุรกิจอะไรจะถูก Disrupt ต่อไป ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดในยุคดิจิทัลที่บริษัทต้องทำเพื่อความอยู่รอดคือ Digital Transformation 
  2. ระบบนิเวศยูนิคอร์นที่แข็งแรงขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงในภาคเอกชน - เมื่อต้นทศวรรษที่ผ่านมา Airbnb กับ Pinterest เป็นกลุ่มแรกที่สร้างมูลค่าบริษัทได้ 1 พันล้านดอลลาร์ และตั้งแต่ปี 2014 ทั้งสองสตาร์ทอัพเติบโตขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากการเข้าถึงนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากองค์กรธุรกิจต้องการเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศสตาร์ทอัพหรือเป็นผู้นำทางธุรกิจก็ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา
  3. ต้นทุนที่ลดลงไม่ใช่เรื่องยากที่องค์กรจะเข้าถึงนวัตกรรม - ยกตัวอย่าง โดรน เมื่อ 10 ปีก่อน ราคาประมาณ 100,000 บาท แต่ปัจจุบันราคาเพียง 700 บาท ซึ่งต้นทุนที่ลดลงเรื่อยมาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลนี้  ย่อมทำให้องค์กรเข้าถึงนวัตกรรมได้มากขึ้น
  4. ต้องการความเร็ว - จากที่ในอดีต 500 บริษัทต้องใช้เวลาถึง 20 ปีในการเติบโตเป็นยูนิคอร์น แต่ปัจจุบันบริษัทใช้เวลาลดลงจนเหลือค่าเฉลี่ยเพียง 4.5 ปี แต่บางบริษัททำได้เร็วกว่านั้น เช่น Airbnb ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ปีเท่านั้นในการเป็นยูนิคอร์น

เอสซีจีมอง Digital Transformation ไว้อย่างไร?

ความหมายของ Digital Transformation สำหรับเอสซีจี คือ เทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถสร้างมูลค่าได้ด้วยการเปลี่ยนวิธีเก็บข้อมูล ประมวลผล จัดเก็บ และส่งข้อมูล ซึ่งขั้นตอนนั้นก็จะตรงไปตรงมาโดย

ประการแรก ทำความเข้าใจปัญหาของลูกค้า จับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้ได้

ประการที่สอง การทำแบบจำลองทางธุรกิจแบบดิจิทัล เช่น อีคอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม แล้วตามด้วยการทำแผนที่ข้อมูลระหว่างสินทรัพย์ (การนำข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการตลาดของคุณไปใช้เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางกายภาพ)

ประการสุดท้าย มีระบบอัตโนมัติ คือ เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเชื่อมโยงทุกอย่างและช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ทั้งนี้ ดร.จาชชัว แพส บอกเทคโนโลยี 4 ประการที่เอสซีจีสนใจไว้ดังนี้

  • Internet of Things
  • Advanced analytics
  • Cloud services
  • Everywhere connectivity

สตาร์ทอัพจะมีบทบาทอย่างไรเมื่อองค์กรขนาดใหญ่มุ่งไปยัง Digital Transformation?

ดร.จาชชัวกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อมองไปที่ระบบนิเวศ ไม่มีใครสามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่ายก็คือ ให้เปิดกว้างด้านนวัตกรรม

"ทุกๆ บริษัทและสตาร์ทอัพมีความเชี่ยวชาญของตัวเองก็ให้นำความเชี่ยวชาญนั้นมาแชร์กัน สำหรับ AddVentures เราดูที่การสร้าง การซื้อ การเป็นพาร์ทเนอร์ การลงทุน และการบ่มเพาะ นอกจากนี้ ทุกฝ่ายก็ต้องนำจุดแข็งออกมา เช่น บริษัทส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ เข้าถึงตลาดทั่วทั้งอาเซียน มีผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และมีหลายแผนกในบริษัท เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล วิศวกร ฝ่ายไอที เหล่านี้เป็นทรัพยากรทั้งหมดที่บริษัทเอกชนต้องดึงมาช่วยสตาร์ทอัพ และในทางกลับกัน สตาร์ทอัพก็สามารถช่วยบริษัทได้ด้วยนวัตกรรม” ดร.จาชชัวกล่าว

สุดท้าย สิ่งที่ทำให้บริษัทและสตาร์ทอัพได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอย่างแท้จริงคือ สตาร์ทอัพนั้นเติบโตได้ช้าเมื่อเทียบกับบริษัทเอกชน ซึ่งสตาร์ทอัพสามารถเข้ามาช่วยบริษัทเอกชนทำสิ่งต่างๆ ให้เร็วขึ้นและเปิดกว้างในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากขึ้น โดย AddVentures By SCG หนึ่งใน CVCs รายใหม่ล่าสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อมั่นว่า ความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชนและสตาร์ทอัพจะทำให้การทำงานร่วมกันก้าวไปได้ไกลกว่าการทำงานเพียงลำพัง ด้วยวิสัยทัศน์บริษัทว่า 'You Innovate, We Scale'

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...