ญนน์ โภคทรัพย์ แห่ง Central Retail กับการทำธุรกิจแบบ 1+1 = 11 และกลยุทธ์ 3 ปรับ 3 เปลี่ยน | Techsauce

ญนน์ โภคทรัพย์ แห่ง Central Retail กับการทำธุรกิจแบบ 1+1 = 11 และกลยุทธ์ 3 ปรับ 3 เปลี่ยน

“ในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา ผมเป็นคนที่ตกใจน้อยที่สุด” คุณญนน์ กล่าวกับ Techsauce ถึงการรับมือในช่วงล็อคดาวน์ที่ผ่านมา เขากล่าวว่า เจ้าของธุรกิจนั้นต้องมองเหรียญ 2 ด้าน ในวิกฤตมีโอกาส เริ่มจากการปรับเปลี่ยน Mindset ของตัวเอง พร้อมวิธีการทำธุรกิจร่วมกัน ที่ 1+1 ไม่เท่ากับ 2 แต่ต้องเป็น 11 และการจัดการเรื่องคนด้วยกลยุทธ์ 3 ปรับ 3 เปลี่ยน

Techsauce พูดคุยกับ คุณญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 

กลยุทธ์ขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อให้แข่งขันกับต่างชาติ

ปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม Tech giant มากมายที่เข้ามาเจาะตลาดไทย และเมื่อมาดูกันที่ตลาด ecommerce โดยตรง ยิ่งเป็นเรื่องท้าทายอย่างมากที่ผู้ประกอบการไทยจะสู้รบปรบมือได้ คุณญนน์เผยว่า การมีคู่แข่งก็ทำให้เกิดทางเลือกมากขึ้น ดีต่อลูกค้า ดีต่อประเทศ

โดย มิติที่ 1 สินค้าที่ขายบน Ecommerce ที่ทั้งมาจาก Local (our hometown) กับต่างประเทศ (their hometown) ซึ่งหลักๆสินค้าต่างประเทศ มาจากประเทศจีน และมีสัดส่วนกว่า 70% บนแพลตฟอร์มไทย ทำให้เห็นว่า การค้าบนแพลตฟอร์ม Ecommerce มีอิสระเสรีมาก แต่หากมากไปก็อาจกระทบกับ Local SME ได้ ดังนั้นจึงควร balance สัดส่วนให้เหมาะสมระหว่างสินค้าไทย และสินค้าต่างชาติ


อย่างเซ็นทรัล รีเทล เราเป็น Local Retailer สินค้าที่เราขาย ส่วนมากก็เป็นของไทย และของ SME ไทย แต่มีสินค้า import ด้วย เพื่อให้เกิดความหลากหลายของสินค้า หรืออย่าง Taobao เว็บไซต์ Ecommerce อันดับ 1 ที่ประเทศจีน ก็ขายสินค้าจีน Local เป็นหลัก มีขายสินค้าต่างชาติแค่ประมาณ 20% ดังนั้นเพื่อให้บริษัทไทย และ Local SME สามารถแข่งขันได้เท่าเทียม 

มิติที่ 2 คือ รัฐควรออกมาตรการที่ทำให้เกิด Fair trade มาตรการควบคุม E-Commerce ในด้านราคาและการเสียภาษี

เสนอให้ภาครัฐจัดเก็บภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่บาทแรก ควบคุม E-Commerce ให้ไม่ขายราคาต่ำกว่าทุน เนื่องจากจะทำให้เอสเอ็มอี และค้าปลีกไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก เกิดผลดีต่อภาครัฐ ทำให้รัฐมีรายได้จัดเก็บภาษีจาก E-Commerce ได้ปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท และปราบปรามสินค้าหนีภาษีที่เติบโตจาก E-Commerce อีกด้วย 

รวมถึงต้องมีการกำกับดูแลอย่างโปร่งใส โดยใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่ยุติธรรม ให้เกิดการสมดุลในทุกช่องทางค้าปลีก และคงสภาพการจ้างงานในค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน (Local Retailer) ที่มีมากกว่า 6.2 ล้านอัตรา พร้อมขับเคลื่อนเอสเอ็มอีไทยในระบบให้ก้าวต่อไป

กลยุทธ์เดินเกมฝ่าวิกฤติ

ผู้บริหารหลายคนให้สัมภาษณ์เรื่องการรับมือช่วง crisis หลายคนชอบบอกว่า ในวิกฤตมีโอกาส แต่สำหรับคุณญนน์แล้ว มองว่าในทุกวิกฤต เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ หัวมาคู่กับก้อย ก็เหมือนวิกฤตที่มาคู่กับโอกาส แต่จะเห็นวิกฤต หรือโอกาส ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองแต่ละคน ซึ่งต่างกันใน 3 ด้าน

  1. Mindset - มองโลกในแง่บวก หรือลบ
  2. ความพร้อม - พร้อมปรับตัว เปลี่ยนแปลงหรือไม่
  3. ความกล้า ไม่กล้ว ที่จะ Action – คิดแล้วก็ต้องลงมือทำให้เกิดขึ้นจริง

ซึ่งในช่วงวิกฤต หากมองเห็นโอกาส ก็อาจทำให้เกิด Innovation ใหม่ๆ เป็นโอกาสดีในการ Collaboration เพราะช่วงวิกฤต ทุกคนพร้อมช่วยเหลือกันและกัน People bonding สูงมาก แต่ในทางกลับกันหากเรามองเห็นแต่วิกฤต เราก็อาจเสี่ยงที่จะพลาด และดิ่งลงเหวลึกกว่าเดิม

2 เด้งบวก 2 เด้งลบ

  • 2 เด้งบวก คือ โอกาส + Tail Wind (ตามลม) = ตัวส่ง 2 เด้ง (Accelerator) ถ้าเรามีความพร้อม เราก็จะไปได้ไกล 2-3 เท่า ใช้เวลาน้อยลงในการไปถึงจุดหมาย
  • 2 เด้งลบ คือ ความเสี่ยง + Head wind (ต้านลม) = ตัวลบ 2 เด้ง (Decelerator) เพราะถ้าเราไม่มีความพร้อม ก็จะเจอปัจจัยลบต่างๆ มากมาย มาต้านให้เราต้องถอยหลังกลับไปไกล

สำหรับโควิด-19 ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ถือเป็น issue ระดับโลก และระดับประเทศ เพราะกระทบในวงกว้าง ลึก และยาวนาน Reset ทุกอย่าง โดยเฉพาะในเรื่องของ ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงอย่างเช่น การที่ผู้บริโภคหันมาใช้ออนไลน์ ก็เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน

องค์กรต้องมีสูตรสำเร็จในการจัดการกับโควิด-19 โดยเน้นเรื่อง Cash รักษาสภาพคล่อง และ Productivity & Optimization สร้าง Speed คูณ 2 Cost หาร 2 ให้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

  • 80% Recover ธุรกิจเดิม
  • 20% Discover ธุรกิจใหม่ๆ หา new growth (Partnership, M&A, New Business model)

แต่อย่างไรก็ตาม ยอดขาย และกำไรจะกลับมาเหมือนเดิมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะโควิด สร้างผลกระทบอย่างหนักกับภาคท่องเที่ยว และการส่งออก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน GDP ไทยเกือบ 20%

ดังนั้นผลประกอบการของธุรกิจจะถอยกลับไป 2 ปีด้วยพิษโควิด แต่บางธุรกิจที่ไม่ปรับตัวก็อาจถอยไปมากกว่านี้ สิ่งสำคัญคือ ทุกธุรกิจต้องมี Efficiency & Resilience พร้อมปรับตัว มองไปข้างหน้า หาโอกาสใหม่ๆ อย่ามัวแต่กังวลกับปัจจุบัน

คนตัวเล็กจะทำอย่างไร?

โควิด-19 เปิดความเปราะบางในทุกภาคส่วน อย่างที่บอกว่า โควิด-19 เป็นวิกฤติที่กระทบเป็นวงกว้าง และลึก และเปิดความเปราะบางของทุกประเทศ ในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และองค์กร เห็นว่าไม่ได้ Healthy อย่างที่คิด

ข้อดีของมัน ก็คือ เป็น good school & intensive course ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ และได้เตรียมพร้อมสำหรับการรับมือวิกฤตอื่นๆ ในอนาคต และทำให้เราได้เห็น Covid Hero ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และคนไทยทุกคนที่ร่วมกันดูแลตนเองเต็มที่ การ์ดไม่ตก

ฮีโร่ของผม ในฐานะ CEO คือ พนักงานของเราทุกคน ที่ร่วมมือร่วมใจกันฟันฝ่าวิกฤตนี้อย่างไม่ย่อท้อ แต่ข้อเสียก็คือ บางธุรกิจที่รับความเปราะบาง และอ่อนแอนี้ไม่ไหว ก็ไปต่อไม่ได้ มีหลายบริษัทที่ต้องล้มละลายไป ดังนั้นการจะผ่านวิกฤตนี้ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกคน ทุกภาคส่วน

ในส่วนของภาครัฐ อาจออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ

  1. ภาคเกษตรกร มีนโยบายประกันราคาพืชผล ช่วยหาตลาดส่งออกสินค้าเกษตร ให้กระจายสินค้าได้มากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ราคาสูงขึ้น ตัดตอนพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรได้กำไรมากยิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน
  2. ด้านแรงงานที่ว่างงาน และกลับภูมิลำเนา รัฐต้องช่วยส่งเสริม ให้เอาความรู้จากกทม. ไปใช้พัฒนาบ้านเกิด (Relocate skill)
  3. ส่วน SME ก็ต้องช่วยด้วยนโยบายพักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ยให้เกิดสภาพคล่องมากขึ้น พร้อมทั้งช่วยพัฒนาศักยภาพของ SME ในระยะยาว ทั้งเรื่องแหล่งเงินทุน ความรู้ เทคโนโลยี เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และสร้างมูลค่าเพิ่ม
  4. การท่องเที่ยว ควรเริ่มผ่อนปรน และเปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยวเป็นเฟสๆ เฉพาะพื้นที่ ภายใต้มาตรการที่เคร่งครัด การ์ดไม่ตก
  5. เพิ่มการจ้างงาน ด้วยนโยบายการจ้างงานรายชั่วโมง
  6. นโยบายช้อป ช่วย ชาติ ที่เคยเป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จ อาจพิจารณานำกลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน

ในส่วนของภาคเอกชน ก็ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ ทั้งในเรื่องการสนับสนุนงบประมาณ และการดึง Expertise ขององค์กร ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ

ดังเช่น CRC ที่เป็นผู้นำค้าปลีกของไทย เราสร้างแพลตฟอร์ม Retail & Service ที่แข็งแกร่ง และให้คนทุกภาคส่วนเข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มนี้ด้วยกัน ซึ่งแพลตฟอร์มเราจะแข็งแกร่งยั่งยืน ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย

จึงจะเห็นได้ว่าการจะรับมือโควิด-19 ในครั้งนี้ จะไม่ใช่แค่การวิ่ง 4x100 แต่เป็นการวิ่งมาราธอนกันเป็นทีม เพราะต้องอาศัยความร่วมมือกันไปอีกเป็นระยะเวลานาน จนทุกอย่างเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่

officemate จะเสริมทัพได้อย่างไร?

คุณญนน์เผยว่า การเข้าซื้อ COL ในครั้งนี้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ของ CRC ที่ชูความเป็นผู้นำในด้านธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายรูปแบบ และหลากหลายช่องทาง ทั้งในและต่างประเทศ (Multi-Format & Multi-Category) เสริมพอร์ตธุรกิจ Hardline ของ CRC ให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่มีแค่ Powerbuy, ไทวัสดุ และบ้านแอนด์บียอนด์

เป็นโอกาสในการขยายความสำเร็จของแบรนด์ไทยให้โตก้าวกระโดดไปสู่ระดับต่างประเทศ ด้วยเครือข่ายและแพลตฟอร์มของ CRC ในแง่ของแผนธุรกิจ Short term การที่ CRC เข้าซื้อ COL ที่มี Officemate, B2S และ MEB จะทำให้เราขยายฐานลูกค้า B2B และกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่

ขยายช่องทางการขายเพิ่มขึ้น ทั้งหน้าร้านและออนไลน์ ให้เป็นออมนิแชแนลที่สมบูรณ์แบบและใช้ประโยชน์จาก Automated warehouse มาต่อยอด และใช้ร่วมกับธุรกิจอื่นๆ ของ CRC ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าในแง่ความหลากหลายของประเภทสินค้า และแบรนด์ชั้นนำที่จะวางจำหน่ายร่วมกันแบบ One Stop Shopping

ส่วนซัพพลายเออร์ และพาร์ทเนอร์ ก็ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มออมนิแชนแนลของ CRC ในแง่ของแผนธุรกิจ Long term เราจะ Transform ธุรกิจกลุ่ม Hardline ให้ go beyond และเป็น new growth ให้กับพอร์ตธุรกิจของ CRC

People Transformation

เพื่อให้เกิด Productivity ในการทำงานมากที่สุด Speed x 2 Cost หาร 2 เราต้องมีการทำ People Transformation ด้วยกลยุทธ์ 3 ปรับ 3 เปลี่ยน


ทักษะที่ผู้นำควรต้องปฏิบัติ

ในยามวิกฤต สติและความสงบนิ่งของผู้นำ คือสิ่งสำคัญที่สุด ต้องไม่หวั่นไหวตามกระแส และตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ เด็ดขาด นำพาองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ลืม purpose & core values องค์กร

วันนี้คือยุคของ WE before ME, เราไปคนเดียว ไปไม่ได้ไกลแน่นอน, ต้องมี collaborative mindset, ดำเนินธุรกิจที่ทำให้ทุกคนใน value chain สามารถขับเคลื่อนไปด้วยกันได้ สร้างสรรค์ synergy ในทุกภาคส่วน

  • With external stakeholders: sense of oneness & connection (Inclusive) ไปด้วยกันไปได้ไกล
  • With internal stakeholders: grooming people with mentality that ผู้นำไม่ได้เป็นผู้อัจฉริยะ แต่สร้างคนอัจฉริยะ เพื่อผสานพลังองค์กรให้เป็นหนึ่ง

Resilience

เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความไม่แน่นอน ทักษะของผู้นำต้อง Learn how to learn ไม่หยุดเรียนรู้ Leave Ego behind & adapt to reality ปรับตัวให้เท่าทันโลกความเป็นจริง ต้องมีความยืดหยุ่นมหาศาล (Agile), อยู่เหนือการเปลี่ยนแปลง, พร้อมปรับตัวตลอดเวลา, ไม่ยึดติดกับอะไรเดิมๆ, คิดและทำงานเชิงรุก (Proactive) พร้อมรับมือกับความท้าทายที่ไม่คาดคิด

Conviction

ทุกอย่างกลับไปสู่ purpose ของการทำธุรกิจ เพราะ brand ที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนจึงจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน เหมือนเราที่ทำทุกอย่างเพื่อตอบโจทย์ central of life คำนึงถึงความสำเร็จของทุก stakeholder ไม่ว่าจะเป็น employee success  / customer success หรือ society success เราต้องเป็น good citizen และ go beyond P&L พร้อมคำนึงถึง people และ planet ด้วย

With Patience, Caution & Consistency มานะ รอบคอบ สม่ำเสมอ เราร่วมสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน คิดถึงผลตอบแทนในระยะยาวในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ, สังคม และสิ่งแวดล้อม


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกบทบาท CVC กับการลงทุนใน Startups ยุคใหม่ กับ Nicolas Sauvage หัวเรือใหญ่ TDK Ventures

เจาะลึกบทบาทของ CVC ในการขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ พร้อมเผยกลยุทธ์การเฟ้นหาและสนับสนุน Startups รวมถึงแบ่งปันวิสัยทัศน์เชิงลึกรวมถึงกลยุทธ์การลงทุนใน Startups ที่น่าจับตามอง โดย Nico...

Responsive image

คุยกับ ‘สินนท์ ว่องกุศลกิจ’ ผู้นำทัพการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบริษัทบ้านปู และอนาคตของธุรกิจพลังงานสู่ทศวรรษที่ 5

รู้จัก ‘สินนท์ ว่องกุศลกิจ’ ผู้นำทัพการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบริษัทบ้านปู และอนาคตของธุรกิจพลังงานสู่ทศวรรษที่ 5...

Responsive image

คุยกับ Andrew Ng ผู้ทรงอิทธิพล AI ระดับโลก | Exec Insight EP.75

พบกับบทสัมภาษณ์พิเศษจาก Andrew Ng โดย Techsauce...