10 รหัสแฮ็กง่ายปี 2023 ‘123456’ ยังครองแชมป์ | Techsauce

10 รหัสแฮ็กง่ายปี 2023 ‘123456’ ยังครองแชมป์

NordPass เผย รหัสสุดซํ้า แห่งปี 2023 พบ ‘123456’ ยังครองแชมป์ โดยกว่า 17 จาก 20 อันดับแรกสามารถแฮ็กได้ภายในไม่ถึงหนึ่งวินาที

ถึงแม้การคิดรหัสที่รัดกุมอาจเป็นเรื่องน่าปวดหัว แต่เชื่อเถอะว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องตั้งรหัสให้ปลอดภัย หากคุณต้องการให้อีเมล online banking หรือข้อมูลส่วนตัวบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งปลอดภัยจากเงื้อมมือของแฮกเกอร์ 

รหัสคาดเดาง่าย แม้ภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น

ภัยคุกคามความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามข้อมูลของ AAG พลเมืองสหรัฐฯ มากกว่า 53 ล้านคนได้รับผลกระทบในช่วงครึ่งแรกของปี 2022

ซึ่งจากการศึกษาของ NordPass เครื่องมือจัดการรหัสผ่านจากทีมที่อยู่เบื้องหลัง NordVPN ร่วมมือกับนักวิจัยอิสระ เผยให้เห็นว่า 86% ของการโจมตีทางโลกไซเบอร์มาจากข้อมูลส่วนตัวที่ถูกขโมยมา โดยบัญชีธนาคารออนไลน์ อีเมล และรหัสผ่านคิดเป็นเกือบ 20% ของสินค้าที่ขายบ่อยที่สุดบน Dark web

แต่ถึงอย่างไรผู้คนก็คงยังใช้รหัสที่คาดเดาได้ง่าย โดยเลือกจากชุดตัวเลขที่คิดขึ้นมาเอาง่าย ๆ หรือเป็นรหัสที่ระบบกำหนดค่าเอาไว้แล้วไม่ยอมเปลี่ยน ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยด้วยรหัสผ่านที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

123456 ครองแชมป์รหัสสุดซํ้าแห่งปีติดต่อกันตลอดห้าปีซ้อน

รหัสยอดนิยมประจำปี 2023 ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่ยังคงเป็นแชมป์เก่าอย่าง ‘123456’ ยังคงติดเป็นอันดับหนึ่งติดต่อกันห้าปี นอกจากนี้ยังมีรหัสที่กำหนดค่าโดยระบบอย่าง ‘password’ และ ‘admin’ ที่ไม่เคยติดอันดับต้น ๆ เลยสักครั้ง แต่ทะยานเข้ามาติด top 10 ในปีล่าสุด สังเกตได้ว่า นอกจากผู้คนจะไม่ได้ปรับปรุงการสร้างรหัสให้รัดกุมแล้ว ยังยึดติดกับรหัสดั้งเดิมซึ่งไม่ปลอดภัยเอาซะเลย โดย 10 อันดับของรหัสยอดนิยมประจำปี 2023 ได้แก่

  1. 123456    
  2. admin    
  3. 12345678    
  4. 123456789    
  5. 1234    
  6. 12345    
  7. password    
  8. 123    
  9. Aa123456    
  10. 1234567890    

สิ่งที่น่าตกใจที่สุดจากรายงานนี้ก็คือ สิบอันดับแรกของรหัสยอดนิยมนี้สามารถแฮ็กได้ภายในไม่ถึงวินาที และจาก 20 อันดับแรก มีเพียง ‘UNKNOWN’ ‘admin123’ และ ‘user’ ที่ใช้เวลาแฮ็ก 17 วินาที 11 วินาที 1 วินาที ตามลำดับ

เมื่อแบ่งเป็นหมวดหมู่การใช้งานพบว่า ‘123456’ เป็นรหัสผ่านยอดนิยมสำหรับเว็บไซต์ e-commerce บัญชีอีเมล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ในส่วนของ ‘UNKNOWN’ พบว่าใช้มากในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย บัญชีธนาคาร และรหัสผ่านโทรศัพท์

และอีกไอเดียที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกก็คือการใช้ชื่อเป็นรหัสผ่าน แต่น่าเสียดายว่ามีแนวโน้มซํ้ากันสูงในแต่ละประเทศ อย่าง ‘Isabella’ เป็นรหัสผ่านที่ใช้มากที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศออสเตรีย และ ‘Katerina’ อยู่ที่อันดับที่ 11 ในประเทศกรีซ รวมถึงชื่อสโมสรเช่น ‘liverpool’ ‘arsenal’ และ ‘chelsea’ ซํ้าเป็นอันดับ 4 6 และ 10 ตามลำดับในประเทศอังกฤษ

ถึงแม้หลาย ๆ ประเทศจะมีการนำเลขผสมกับชื่อเพื่อเพิ่มความปลอดภัย แต่นี่ไม่ใช่ทางออกที่ดีเพราะยังพบว่าซํ้ากันสูงและคาดเดาได้ง่าย 

ดังนั้นจึงควรสร้างรหัสผ่านให้รัดกุมมากขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้เลขที่คาดเดาง่าย ไม่ใช้เป็นข้อมูลสวนตัวอย่างวันเกิด เบอร์โทร แต่ควรสร้างรหัสผ่านที่ทั้งไม่เหมือนใครและจดจำได้ง่าย เช่น การเลือกเนื้อเพลงหรือกลอนที่เราสามารถจำได้เป็นต้น

หมดปัญหาลืมรหัสด้วย Passkey ฟีเจอร์จำรหัสที่ทั้งง่ายและปลอดภัย

Passkey หรือรูปแบบการลงชื่อเข้าใช้ที่ไม่ต้องใส่รหัสผ่าน แต่สามารถล็อกอินได้ง่าย ๆ ผ่านการยืนยันตัวตนกับอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นรหัสพินสั้น ๆ ลายนิ้วมือ หรือการสแกนใบหน้าเท่านั้น ด้วยระบบการยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน ทำให้ทั้งปลอดภัยและง่ายต่อการใช้งาน โดยไม่ต้องจำรหัสอีกต่อไป 

การใช้งาน passkey จะช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลจากรหัสที่คาดเดาได้ง่ายหรือรวมถึงช่วยจดจำรหัสที่เราอาจจะจำไม่ได้เนื่องจากถูกจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์ส่วนตัวและต้องผ่านการยืนยันตัวตนสองชั้น อีกทั้งยังป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ไม่ว่าจะเป็น phishing มัลแมร์ และอื่น ๆ โดย passkey สามารถใช้งานได้แล้วทั้ง Apple และ Google ได้ทั้ง Android และบน Chrome

การสร้างรหัสให้รัดกุมเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากในปัจจุบัน จากอันดับรหัสที่ใช้ซํ้าจะเห็นได้ว่าเป็นรหัสที่คาดเดาได้ง่าย และใคร ๆ ก็สามารถแฮ็กจนทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้ ดังนั้นจึงควรปรับการสร้างรหัสใหม่ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี passkey เพื่อป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์และป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลได้อีกขั้นต่อไปในอนาคต

อ้างอิง: cnbc, kstaticsupport.google





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Sovereign AI สำคัญอย่างไร ? จากปาก Jensen Huang ในวันที่ ‘ข้อมูลไทย’ คือทรัพยากรใหม่

สำรวจบทบาทของ Sovereign AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมคำอธิบายจาก Jensen Huang CEO ของ NVIDIA เกี่ยวกับ AI ไทยและ Open Thai GPT ที่จะเปลี่ยนอนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย...

Responsive image

สรุป 3 ความร่วมมือ Jensen Huang ร่วมงาน AI Vision for Thailand ไทยได้อะไรบ้าง ?

Jensen Huang เดินทางเข้าร่วมงาน AI Vision for Thailand จัดขึ้นโดย SIAM.AI CLOUD โดยได้เผยวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน AI ในประเทศไทย ทั้งนี้ Siam.AI ได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ...

Responsive image

Apple เสนอลงทุนในอินโดฯ เพิ่ม 10 เท่า มูลค่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู้ปลดแบน iPhone 16

Apple ทุ่มสุดตัว! เพิ่มเงินลงทุนในอินโดนีเซีย 10 เท่า เป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังข้อเสนอเดิมถูกปัดตก เป้าหมายปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดฯ ให้สำเร็จ...