ระวังหัวหน้าแย่เงียบ เช็ก 3 ลักษณะผู้นำ ‘ยอดแย่’ | Techsauce

ระวังหัวหน้าแย่เงียบ เช็ก 3 ลักษณะผู้นำ ‘ยอดแย่’

เช็กด่วนมีคนแบบนี้เป็นหัวหน้าอยู่หรือเปล่า ! 3 ลักษณะหัวหน้าแย่เงียบ ที่ไม่สังเกตอาจดูไม่ออกแต่ส่งผลร้ายแรงต่ออนาคตการทำงานของคุณแบบไม่รู้ตัว

3 ลักษณะหัวหน้าแย่เงียบ

สิ่งที่น่ากลัวกว่าเจอหัวหน้าที่ไม่ดี คือ การไม่รู้ตัวว่ากำลังเจอกับหัวหน้าที่ไม่ดีอยู่ เพราะหัวหน้าแย่ๆ ไม่ได้มาในรูปแบบขี้โวยวาย ก้าวร้าว หรือจู้จี้จุกจิกอย่างเดียวเสมอไป 

Kevin Legg ผู้ก่อตั้ง SAGE สถาบันชั้นนำด้านการฝึกอบรมในองค์กร เผยว่า เราสามารถสังเกต ‘หัวหน้าแย่เงียบ’ ได้จาก 3 ลักษณะต่อไปนี้

ให้อิสระ แต่ไม่ใส่ใจ 

การให้อิสระแก่ลูกทีมถือเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่บางครั้งมันก็มีเส้นบางๆ กั้นระหว่างความเปิดกว้างและความไม่เอาใจใส่ ซึ่ง Legg ยกตัวอย่างว่า หากคุณอยู่ในเหตุการณ์ตึงเครียดและต้องการคำแนะนำ แต่หัวหน้าของคุณกลับไม่สามารถให้คำแนะนำกับคุณได้ แต่เลือกที่จะบอกให้คุณกลับคิดต่อและอาจจะพูดประมาณว่า "คุณสามารถมาหาฉันได้ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือ" ซึ่งการที่คุณเข้ามาขอคำแนะนำนั่นก็หมายความว่าคุณต้องการความช่วยเหลืออยู่แล้ว

Legg ชี้ว่าหัวหน้าที่ปล่อยปละละเลยแบบนี้แย่กว่าหัวหน้าที่จู้จี้จุกจิกและคอยจ้องจับผิดเสียอีก เพราะพวกเขาไม่สามารถให้คำแนะนำหรือพัฒนาคุณให้เก่งขึ้นได้ด้วยซ้ำ ในระยะสั้นอาจดูไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ในระยะยาวพนักงานใต้บังคับบัญชาจะไม่อยู่กับหัวหน้าแบบนี้ยาวและลาออกจากบริษัทเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่าในการเติบโตและพัฒนาตัวเอง

พูดมากเกินไป

‘มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อ’ คือลักษณะเด่นของเรื่องที่หัวหน้าประเภทนี้ชอบพูด เพราะการเข้าประเด็นเลยอาจทำให้พวกเขาไม่ได้โชว์วิสัยทัศน์ (แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่จำเป็นก็ตาม) อาจดูเหมือนลักษณะของหัวหน้าทั่วไปที่ไม่ได้ส่งผลเสียมากมาย 

แต่ความจริงแล้วเมื่อพนักงานเริ่มเบื่อที่จะฟัง เพราะรู้ดีว่าสิ่งที่หัวหน้าจะพูดต่อไปไม่ใช่สาระสำคัญ พวกเขาก็จะเลิกสนใจคำพูดเหล่านี้ ซึ่งอาจทำให้พวกเขาพลาดข้อมูลสำคัญและส่งผลเสียต่อการทำงาน หรือพลาดโอกาสได้รับคำแนะนำและประสบการณ์ที่มีค่าไป

ติดเล่นเกินไป

คุณสามารถเป็นหัวหน้าที่เป็นมิตรได้ แต่สิ่งสำคัญคืออย่าติดเล่นมากเกินไป บ่อยครั้งที่หัวหน้าพยายามวางตัวเป็นเพื่อนกับลูกน้อง ซึ่ง Legg ชี้ว่าการวางตัวแบบนี้สามารถสร้างปัญหาภายในทีมได้ เพราะเมื่อเมื่อหัวหน้าทำตัวเหมือนเพื่อนมากเกินไป อาจทำให้ทั้งพนักงานและหัวหน้าไม่รู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไร เนื่องจากเส้นแบ่งระหว่างเจ้านาย-ลูกน้องไม่ชัดเจน

นำไปสู่ปัญหา ‘เลือกปฏิบัติและลำเอียง’ ทั้งในเรื่องการมอบหมายงาน หรือแม้แต่ตัดสินใจเลื่อนตำแหน่ง เพราะหัวหน้าอาจตัดสินใจช่วยเหลือพนักงานที่ตนสนิทก่อนคนอื่นๆ ได้ และเมื่อความสัมพันธ์แบบเพื่อนเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นเรื่องยากที่จะกลับไปสู่ความสัมพันธ์แบบเจ้านาย-ลูกน้องตามปกติ

แต่ถึงอย่างไรการที่มีเจ้านายไม่ดีก็เป็นความโชคดีในความโชคร้าย ที่ทำให้พนักงานได้เรียนรู้การเป็นหัวหน้าที่ดี แล้วลูกน้องจะเรียนรู้เรียนรู้จากสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร?

การรู้ว่าอะไรไม่ควรทำก็มีประโยชน์พอๆ กับการรู้ว่าต้องทำอะไร - Kevin Legg

เช่น หากคุณอยู่กับหัวหน้าพูดมากเกินไปในการประชุม คุณอาจเรียนรู้ที่จะให้คนอื่นพูดและแบ่งปันความคิดของพวกเขาแทน จะเห็นว่าการได้เรียนรู้และสัมผัสกับรูปแบบเหล่านี้ไม่ใช่แค่เป็นปัญหาแต่ยังเป็นบทเรียนสำคัญที่สามารถช่วยให้คุณเติบโตและกลายเป็นผู้นำที่ดีขึ้นได้ในอนาคต

อ้างอิง : cnbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Amity Solutions เข้าซื้อกิจการ Tollring ผู้นำด้านระบบวิเคราะห์การโทร เสริมแกร่งผู้นำ GenAI ไทยสู่เวทีโลก

Amity Solutions (ASOL) ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สร้างสรรค์ (GenAI) ชั้นนำของไทย ประกาศเข้าซื้อหุ้นใหญ่ใน Tollring บริษัทผู้ให้บริการชั้นนำด้านการวิเคราะห์การโทรและ...

Responsive image

เปิดคู่มือ CMO ยุค AI กับ 10 แนวทางที่ต้องโฟกัส พลิกโฉมสร้างกลยุทธ์การตลาด สู่ความสำเร็จที่เหนือกว่า

สรุปเนื้อหาจาก Session Future CMOs Guidebook: 10 priorities to focus in the age of AI 10 สิ่งที่ต้องคิดสำหรับ CMO ในยุคสมัยของ AI โดยคุณสโรจ เลาหศิริ จากเพจสโรจขบคิดการตลาด...

Responsive image

Microsoft ร่วม BlackRock ตั้งกองทุน AI มูลค่า 3 ล้านล้าน ลุยแผนพัฒนาเอไอเต็มกำลัง

Microsoft และ BlackRock สองผู้นำในวงการเทคโนโลยีและการเงิน ร่วมกันเปิดตัวกองทุน Global AI Infrastructure Investment Partnership (GAIIP) โดยตั้งเป้าระดมทุนสูงสุดถึง 1 แสนล้านดอลลาร์...