บทความโดย : ณภัทร์ โรมรัน (Napat Romrun), Business Development Manager
ปฏิเสธกันไม่ได้ใช่ไหมครับว่า ทุกวันนี้เวลาเราคุยกับเพื่อนหรือเล่นโซเชียลมีเดียมักเจอจะกับคำศัพท์แปลก ๆ ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นคำว่า ต๊าซ อรุ่มเจ๊าะ พส. สุขิต และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งคำพวกนี้ชวนปวดหัวและบางทีก็ให้ชวนหาคำตอบว่ามันหมายความว่ายังไงกันแน่?
ผู้เขียนเชื่อว่า หลาย ๆ ท่านที่กำลังเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนน่าจะเจอปัญหาคล้ายกับประเด็นข้างต้น คือมีคำศัทพ์ใหม่ ๆ ในโลกของเทคโนโลยีบล็อกเชนมากมายที่เราไม่คุ้นเคย พออ่านบทความจบ ก็ยังคงไม่เข้าใจเพราะมีคำถามกับความหมายของคำใหม่ ๆ ที่อยู่ปรากฎในบทความกันอยู่เสมอ
จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจุดประกายให้ผู้เขียนอยากถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ และความเข้าใจที่ได้สะสมมาจากการทำงานอย่างเข้มข้นที่บริษัท Token X เพื่อปูพื้นฐานและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ในโลกของเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยจะขอหยิบยกคำศัพท์มาอธิบายให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจกันทีละ 3 คำ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถประมวลผลความรู้และย่อยเนื้อหาให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย ซึ่งหาก #ไม่รู้ก็จะตกเทรนด์ กันแน่นอนครับ
ดังนั้นวันนี้ทุกท่านจะได้ทำความรู้จักกับคำว่า Decentralization (ในบริบทของเทคโนโลยีบล็อกเชน), DApp หรือ Decentralized Application, และคำว่า Protocol
ในบริบทของโลกเทคโนโลยีบล็อกเชน คำว่า Decentralization เกิดขึ้นมาพร้อมกับการกำเนิดของ Bitcoin ในปี 2009 ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้เป็นครั้งแรก ๆ
หมายความว่า หากนาย A ต้องการจะส่ง Bitcoin หานาย B สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นาย A ไม่จำเป็นต้องเดินไปที่ธนาคาร หรือเดินไปหาตัวกลางที่ไหนในการขอส่งคำสั่งโอน Bitcoin หานาย B แต่นาย A สามารถส่ง Bitcoin หานาย B ได้โดยตรง โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ของทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายของเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Bitcoin นั้นจะช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม และหากเสียงส่วนมากตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องแล้วนั้น คำสั่งการโอน Bitcoin ของนาย A ก็จะสำเร็จนั่นเอง
ตรงจุดนี้เองหากลองเปรียบเทียบกับโลกการเงินในอดีตจนถึงปัจจุบัน หากนาย A ต้องการโอนเงินให้นาย B นั้น นาย A จะต้องเดินไปที่ธนาคารหรือเปิด Mobile Banking Application ของธนาคารนั้น ๆ ในการส่งคำสั่งโอนเงินให้นาย B โดยธนาคารจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการช่วยอำนวยความสะดวกและตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องของการโอนเงิน
นั่นหมายความว่าเราให้ความเชื่อมั่นและความเชื่อใจต่อธนาคารผู้ดำเนินการทำธุรกรรมให้กับเรา แต่การโอนเงินระหว่างประเทศโดยผ่านตัวกลางนั้นก็อาจมีความยุ่งยาก ซับซ้อน มีค่าธรรมเนียมการดำเนินธุรกรรมที่ค่อนข้างสูง และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการที่ค่อนข้างนาน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า เมื่อทำธุรกรรมผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนจะไม่มีตัวกลางในการบริหารจัดการข้อมูลเพียงคนเดียว แต่ทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายเทคโนโลยีบล็อกเชนนั้น จะสามารถช่วยกันบริหารจัดการ จัดเก็บและตรวจสอบข้อมูล จึงทำให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ มีความปลอดภัยที่สูงมาก รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินการที่ค่อนข้างเร็วกว่าบางประเภทของธุรกรรมเมื่อเทียบกับการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ (Centralization)
ยกตัวอย่างเช่น Ripple (https://ripple.com/) ที่มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาปฏิวัติวงการการเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องการโอนเงินไปให้กับเพื่อน ครอบครัว หรือคู่ค้าที่ต่างประเทศนั้นสามารถทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ปลอดภัยและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง เมื่อเทียบกับการโอนเงินระหว่างประเทศในรูปแบบปกติอาจจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 3 วันถึง 1 สัปดาห์ รวมถึงค่าใช้ธรรมเนียมในระดับหลายพันบาท
ผู้เขียนมั่นใจว่าทุกท่านรู้จัก Mobile Application และ Web Application กันเป็นอย่างดี เช่นรู้จักผ่านการใช้งาน Facebook App บนโทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่บางครั้งเราเข้าใช้ Facebook ผ่าน Web Browser ซึ่งการใช้แพลตฟอร์มของ Facebook นั้น ข้อมูลของผู้ใช้ทั่วโลกจะถูกบันทึก ประมวลผล และบริหารจัดการด้วย Facebook เอง ตรงนี้เราสามารถเรียกได้ว่า Facebook คือ Centralized Application หรือแอปพลิเคชันที่ถูกบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ กล่าวคือ Facebook เป็นผู้บริหารจัดการทุกอย่างแต่เพียงผู้เดียว
ซึ่งเมื่อกลับมาที่คำว่า DApp ที่ย่อมาจาก Decentralized Application นั้นก็คือการที่ Mobile Application หรือ Web Application นั้นถูกสร้างอยู่บนเทคโนโลยีบล็อกเชน จึงทำให้ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ ประมวลผล ตรวจสอบความถูกต้อง และบริหารจัดการนั้นอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเทคโนโลยีบล็อกเชนที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมโลก ไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือผู้ใดผู้หนึ่งบริหารจัดการแต่เพียงผู้เดียว
ซึ่ง ณ ปัจจุบันเครือข่ายเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Ethereum มี DApp ติดตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเครือข่ายเทคโนโลยีบล็อกเชนยอดนิยมอันดับหนึ่งจากทั่วโลกที่มีนักพัฒนา DApp ไปติดตั้งไว้มากที่สุดก็ว่าได้
แล้วประโยชน์ของ DApp คืออะไรกันละ? กล่าวคือ ผู้ใช้ DApp จะมีความรู้สึกว่าข้อมูลของตนเองนั้นมีความปลอดภัยที่สูงขึ้น มีโอกาสที่น้อยมากในการถูกควบคุมหรือแก้ไขข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง รวมถึงผู้ใช้งาน DApp สามารถตรวจสอบความเป็นเจ้าของของข้อมูลได้ โดยบุคคลอื่นจะไม่สามารถมาปลอมแปลงหรือปลอมตัวเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของได้นั้นเอง
Uniswap (https://uniswap.org/) เป็นตัวอย่างที่ทุกคนจะหยิบขึ้นมาประกอบการอธิบายของคำว่า DApp กันบ่อยมาก กล่าวคือ Uniswap เป็น DApp ที่ได้รับความนิยมสูงมากในโลกของเทคโนโลยีบล็อกเชน
ซึ่ง Uniswap ถูกพัฒนาอยู่บนเครือข่ายเทคโนโลยีบล็อกเชนของEthereum โดยเป็น DApp ที่มีความสามารถในการซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซี(Cryptocurrency) และ สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) แบบไม่มีตัวกลาง หมายความว่าทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม Uniswap นั้นจะไม่มีตัวกลางในการควบคุมหรือตรวจสอบข้อมูล แต่ทุกคนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บนเครือข่ายบล็อกเชนของ Ethereum นั้นจะช่วยกันบริหารจัดการนั่นเอง
อีกหนึ่งตัวอย่างคือเกม Axie Infinity (https://axieinfinity.com/) ที่ถูกพัฒนาอยู่บนเครือข่ายเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Ethereum เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ตัวละครและไอเทมภายในเกมนั้นจะอยู่ในรูปแบบของ Non-fungible Token (NFT) ซึ่งทำให้สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือและตรวจสอบสิทธิความเป็นเจ้าของของตัวละครหรือไอเทมชิ้นนั้น ๆ ได้ ยิ่งตัวละครหรือไอเทมชิ้นนั้น ๆ ได้รับการพัฒนาหรือผสมกันออกมาเป็นชนิดพิเศษที่หาได้ยากแล้ว จะทำให้มูลค่าของตัวละครหรือไอเทมชิ้นนั้น ๆ มีมูลค่าที่สูงขึ้นตามมาอีกด้วย
คำว่า Protocol ดูเป็นคำที่เข้าใจยากใช่ไหมครับ อย่าพึ่งตกใจกันไป จริง ๆ แล้วคำว่า Protocol นั้น มันก็คือ Layer ของ Source Code ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อกำหนดเซตของกฎและเงื่อนไขต่าง ๆ (Rule Set) ว่าจะให้สามารถทำฟังก์ชัน (Function) อะไรได้บ้างใน Protocol นั้น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น Bitcoin Protocol ก็คือ Source Code ของ Bitcoin ที่เป็นตัวถือกำเนิดของสกุลเงินดิจิทัล (Digital Money) สกุลแรกของโลก และสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนมือกันได้โดยไร้กังวล ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคนกลางหรือหน่วยงานกลางมาค่อยควบคุมหรือตรวจสอบ
อีกหนึ่งตัวอย่างคือเครือข่ายเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Ethereum นั้นมี Protocol เยอะแยะมากมาย โดยสามารถเขียน Source Code ในรูปแบบที่เรียกว่า สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดกฎและเงื่อนไขของฟังก์ชันต่าง ๆ เอาไว้นั่นเอง
หากต้องการเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า Smart Contract เพิ่มเติม ผู้เขียนแนะนำทุกท่านเข้าไปอ่านบทความที่ทาง Token X เขียนอธิบายก่อนหน้านี้ได้เลยครับ
อ่านบทความ คลิก “Smart Contract ‘สัญญาอัจฉริยะ’ ที่ทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด”
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านมีความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับคำศัพท์ในโลกของเทคโนโลยีบล็อกเชน
สำหรับผู้ที่สนใจการออก Digital Token ก็สามารถเลือกใช้บริการกับทาง Token X ได้เช่นกัน เพราะ Token X พร้อมให้บริการ Tokenization แบบครบวงจรที่นอกจากจะมีบริการให้คำปรึกษา เชื่อมต่อ และพัฒนาเกี่ยวกับ Tokenization อย่างครบวงจรแล้วยังมีบล็อกเชนที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นเองอย่าง TKX Chain และโซลูชันพร้อมใช้อย่าง TKX API และ TKX Enterprise Portal ที่จะช่วยให้การออก Digital Token กลายเป็นเรื่องง่ายการเลือกใช้โทเคนดิจิทัลอย่างถูกจุด และตรงตามจุดประสงค์ล้วนแต่จะสร้างโอกาสและการเติบโตให้ธุรกิจของคุณได้เกินกว่าที่คิดไว้เสมอ สามารถติดต่อ Token X ได้ที่อีเมล [email protected]
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด