7 เคล็ดลับ จาก Priceza เมื่อถึงเวลาต้องขยายสู่ตลาดเอเชีย | Techsauce

7 เคล็ดลับ จาก Priceza เมื่อถึงเวลาต้องขยายสู่ตลาดเอเชีย

“Think Global , Do as Local.”  

เมื่อไรที่สมควรที่จะขยายตลาดสู่ South East Asia แล้วประเทศไหนที่เหมาะสมจะเป็นที่แรก บทความนี้มีคำตอบจากสตาร์ทอัพผู้มีประสบการณ์อย่าง Priceza เว็บไซต์ค้นหาสินค้าออนไลน์ที่มีสาขาในประเทศแถบ South East Asia แล้วกว่า 6 สาขา ที่จะมาแชร์ 7 เคล็ดลับความสำเร็จให้กับชาวสตาร์ทอัพ ไปดูกันเลย! 

1. Win on your home country (first)

แกร่งในประเทศของคุณก่อน - ความสวยงามของธุรกิจออนไลน์คือเราสามารถไปได้ทุกที่ที่เราอยากจะไป แต่ก่อนอื่น คุณควรปรับ Mindset ของตัวเองให้คิดแบบ Global แต่ค่อยๆ ขยายไปแบบ Local  ถามตัวเองว่าคุณเจอ Product Market Fit ของคุณหรือยัง นอกเหนือจากนี้ การ Focus ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณสำเร็จได้อีกด้วย

2. What leverages your international expansion ? 

ควรถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่จะเพิ่มผลทางการเงินของคุณในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศIMG_5471

3. Market Validation

เมื่อคุณต้องขยายไปในแต่ละประเทศ คุณต้องถามตัวเองว่า ทำไมถึงต้องขยายไปประเทศนี้ ประโยชน์คืออะไร  ซึ่งการที่จะตอบคำถามนี้ได้อย่างชัดเจนนั้น คุณควรสำรวจตลาด หรือ Market Validation เพื่อศึกษาและให้เหตุผลกับมัน  สำหรับ Priceza มี 2 สิ่งที่ควรคำนึงใน Market Validation คือ

  • Desk Research คือข้อมูลพื้นฐานในตลาดของประเทศนั้นๆ เช่น จำนวนคนใช้อินเตอร์เน็ตเท่าไร ธุรกิจของคุณมีจำนวนคนในตลาดเท่าไร  คุณควรจะรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับตลาดในประเทศนั้นๆ
  • Primary Research คือคุณควรจะเข้าไปสำรวจตลาดเอง คุยกับคนท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ เพื่อที่จะรู้ Insight ต่างๆได้อย่างชัดเจนมากขึ้น คุณต้องแน่ใจว่าคุณกำลังขยายตลาดไปยังประเทศที่เหมาะสมและคุ้มแก่การลงทุนจริงๆ

คุณไวยกตัวอย่างตอนไปสำรวจตลาดที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ให้ฟังว่า ตอนนั้นเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ได้เจอและทำความรู้จักบุคคลที่อยู่ในสายสตาร์ทอัพของอินโดนีเซีย ได้มองเห็นช่องว่างและโอกาสที่จะขยายธุรกิจ เนื่องจากตลาด Internet ในอินโดนีเซียมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย  การสำรวจตลาดครั้งนั้นจึงทำให้เขาทราบว่า Primary Research เป็นช่องทางที่จะนำมาสู่ก้าวแรกในการขยายธุรกิจ

นอกจากนี้ กลยุทธ์หรือการวางแผนที่เน้นเจาะในแต่ละประเทศ หรือ Country Strategy ก็จะทำให้คุณได้ Focus และลงรายละเอียดได้มากขึ้น

4. Brand Name Consideration

ศึกษาเรื่องแบรนด์ให้ดี การทำการตลาดในแต่ละประเทศ ต้องแน่ใจว่าชื่อแบรนด์ของคุณไม่มีความหมายทางด้านลบหรือเสียหายต่อสังคมและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ อีกทั้งควรจะจดเครื่องหมายการค้าเพื่อเป็นทรัพย์สินของคุณด้วย

5. Company Structure & Partnership

เมื่อต้องขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศคุณควรคำนึงเรื่องโครงสร้างของบริษัทว่าจะเป็นรูปแบบไหน โครงสร้างของทีมเป็นอย่างไร มีทีมที่เป็น Local และทีมระดับ Regional  อีกอย่างที่สำคัญก็คือภาษาที่ใช้สื่อสารในองค์กร ควรจะเป็นภาษาอังกฤษเนื่องจากเป็นภาษาสากลที่ทุกคนทั่วโลกใช้กัน

6. Localization

ต้องแน่ใจว่า Product ที่เราขยายไปในแต่ละประเทศจะได้รับการปรับให้เข้ากับประเทศนั้นๆ เนื่องจากเรากำลังขยายธุรกิจไปยังประเทศที่มีทั้งภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง ดังนั้นเราควรทำงานอย่าง Professional เพื่อให้แน่ใจว่า Local People ในประเทศนั้นๆ จะเข้าใจวัฒนธรรมการทำงานของเราเช่นกัน

7. Immerse yourself to the market

พาตัวเองเข้าสู่ตลาดนั้นๆ ด้วยการเข้าไปจัดอีเวนท์ ออกงาน Exhibition, งาน Meet up หรือ พบปะกับ Local Team บ่อยๆ ก็จะทำให้ Product ของคุณเป็นที่รู้จักในตลาดได้อย่างรวดเร็ว

หวังว่า 7 เคล็ดลับจากคุณไว จะทำให้ชาวสตาร์ทอัพมีกำลังใจและมีแนวทางในการที่จะขยายตลาดเข้าสู่ระดับเอเชียได้มากขึ้น :)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ Gen AI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

แม้พนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Generative AI แต่เกือบ 60% กังวลว่าจะตกงาน ข้อมูลนี้มาจากรายงาน 'Work, work, workers: Reinvented in the age of generative AI' ของ Accentur...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...