AIS เร่งทำ Innovative Culture ตั้งทีม NEXT สร้าง Internal Startup | Techsauce

AIS เร่งทำ Innovative Culture ตั้งทีม NEXT หนุนสร้าง Internal Startup เฟ้นหาธุรกิจใหม่

AIS ชู “นวัตกรรม” เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมขององค์กร จัดตั้งหน่วยงานใหม่ร่วมสนับสนุนแนวคิด พร้อมทั้งผลักดันไอเดีย Startup ของพนักงานให้เกิดขึ้นได้จริง เสริมการ Transform สู่ Digital Life Service Provider อย่างยั่งยืน

คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค Head of Novel Engine Execution Team กล่าวว่า “การที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรจาก Mobile Operator ไปสู่ Digital Life Service Provider ได้นั้น นอกจากจะต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้บริการสอดรับกับทุกความต้องการของลูกค้าอย่างดีที่สุดแล้ว หัวใจหลักในการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ก็คือทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนองค์กร จึงเป็นที่มาของการกำหนด Company Culture ด้วยแนวคิด FINDU (Fighting Spirit, Innovation, New Ability, Live Digital Life และ Sense of Urgency) เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการปรับตัวของพนักงานทุกระดับให้สามารถรับมือกับความท้าทายจากผลกระทบ Digital Transformation ได้อย่างมั่นคง และในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการผลักดันองค์กรตามเป้าหมาย FINDU ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ I – Innovation ที่ถือเป็นฟันเฟืองหลักที่จะสร้างความแตกต่างและรูปแบบธุรกิจใหม่ตามเป้าหมาย จึงจำเป็นจะต้องลงมือจัดทำนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมให้ Innovation เกิดขึ้นได้จริง”

การนำแนวคิดทางด้าน Innovation มาบรรจุเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กร มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารากฐานความคิดแบบ “นวัตกร” ให้กับพนักงาน ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ Business Model หรือแม้แต่กระบวนการทำงานที่ทันสมัย สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลให้บริษัทสามารถ Transform Organization จาก Mobile Operator สู่ Digital Life Service Provider ตามเป้าที่วางไว้

AIS จึงจัดตั้งหน่วยงานพัฒนา Innovation ภายในองค์กรขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก่อนที่ปัจจุบันจะจัดตั้งเป็น Novel Engine Execution Team (NEXT) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2018 หน่วยงานกลางที่จะกระตุ้นให้เกิดการนำแนวคิดที่ก่อเกิดนวัตกรรมเข้าสู่ Culture การทำงาน กระตุ้นให้คิดค้นไอเดียใหม่ๆ ผ่านโครงการหลากหลาย เช่น InnoJump เป็น Platform ให้พนักงานทุกระดับมีช่องทางสร้างสรรค์ไอเดีย โดยมีการสนับสนุน Workshop จากผู้เชี่ยวชาญภายในและภายนอก

นอกจากการสนับสนุนจุดเริ่มต้นแล้ว NEXT ยังพร้อมผลักดันบุคลากรไปจนสุดทางด้วยการตั้ง Internal VC และ Incubator รวมถึงเข้าสู่กระบวนการ Pitching ที่เมื่อผ่านการพิจารณาจะได้งบประมาณสนับสนุนสร้าง Prototype ต่อยอดเป็น Beta Product และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวอร์ชั่นจริงหรือ Production

สำหรับตัวผลิตภัณฑ์ หากสามารถพัฒนาเป็น Business ของ AIS ได้ ก็จะกลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ AIS แต่หากไม่ตรงกับแกนธุรกิจของ AIS ก็จะได้รับการลงทุนจาก InVent ซึ่งเป็น CVC ของ AIS พร้อมกับช่วยผลักดันเข้าสู่ตลาดและ Startup Ecosystem

ทั้งนี้ AIS มองหานวัตกรรมที่เข้าข่ายสนับสนุนทั้งหมด 5 แกน ได้แก่

  • Digital ID Foundation การสร้าง Platform ยืนยันตัวตนเพื่อใช้บริการ Digital โดย AIS ตั้งใจสร้างระบบนี้เพื่อรักษา Privacy ในฐาน Mobile Operator และต้องการผลักดันให้เป็น Platform ระดับภูมิภาค
  • Digital Archive เป็นการจัดการ Digital Asset เช่น การแปลง Digital Media อย่างเพลงหรือวิดีโอให้สามารถส่งต่อ แลกเปลี่ยนกันได้
  • Phigital Exchange Market เป็นแนวคิด Digital Twin (Digital+Physical) คือทำให้สินทรัพย์บนโลกจริงได้รับการลงทะเบียนและจัดระเบียบที่สะดวกยิ่งขึ้น
  • Future Workforce Platform - ทำให้เทคโนโลยีเข้าถึงได้โดยง่ายเพื่อสร้าง Workforce บน Gig Economy
  • New Immune System - สร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ Digital ทำอย่างไรให้ Data เป็น Information ไปเป็น Knowledge และไปเป็น Wisdom

ที่ผ่านมา มีพนักงานส่งผลงานเข้าร่วมพิจารณากว่า 200 ไอเดีย โดยมีโครงการที่ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับทุนไปขยายผลต่อ จำนวน 11 โครงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ School Van Clever ที่มองเห็น Pain Point ของการเดินทางไปโรงเรียนด้วยรถตู้รับส่งทุกวัน จึงอยากสร้างเครื่องมือสำหรับสอดส่องดูแลความปลอดภัยของบุตรหลานขณะกำลังเดินทางไปโรงเรียน

โดยทีม School Van Clever เป็นการรวมตัวกันของพนักงานเอไอเอสจากภาคใต้ ร่วมกันต่อยอดแนวคิดเรื่องรถตู้รับส่งนักเรียน มาเป็นนวัตกรรมที่ผู้ปกครองสามารถสอดส่องดูแลบุตรหลานได้อย่างเรียลไทม์ ผ่านเทคโนโลยีกล้องมองภาพในรถยนต์ พร้อมทั้งติดตั้งเซ็นเซอร์ต่างๆ รวมทั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว โดยทำงานร่วมกับ application ที่ช่วยควบคุมการรับ-ส่ง นักเรียนอย่างเป็นระบบ จากการทดลองนำไปใช้ในโรงเรียน พบว่าได้รับการยอมรับจากทั้งครู ผู้ปกครอง เด็ก และคนขับรถตู้โดยสาร ว่าเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจ ความปลอดภัย และช่วยป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยครั้ง รวมถึงยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับ-ส่งนักเรียนได้อีกด้วย

คุณอราคิน กล่าวเสริมว่า “นี่คือสิ่งเล็กๆ ที่ยืนยันได้ว่าการนำแนวคิด Innovation มาปรับใช้ในองค์กรขนาดใหญ่สามารถทำได้และเห็นผลได้จริง ดังเช่นกรณี School Van Clever ที่ได้รับการยอมรับและแยกตัวออกมาเป็นเหมือนบริษัทย่อย หรือ Internal Startup และตั้งเป้าที่จะเติบโตเป็น New Business ในอนาคต ซึ่งทั้งหมดตอบโจทย์สร้างการเติบโตขององค์กรและเสริมขีดความสามารถใหม่ๆ ของพนักงานได้อย่างยั่งยืน”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...