ปี 2016 เป็นปีที่กล่าวได้ว่าคนไทย เข้าสู่ชีวิตแบบดิจิทัล อย่างเป็นรูปแบบมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา
คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ CEO ของ AIS กล่าวว่า
ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่ Revenue จากการให้บริการ Data สูง Revenue กว่า Voice
หลายปีที่ผ่านมา Mobile มีอัตราการเติบโตที่สูงมาก แต่การจะให้บริการ Data ที่มากขึ้นกว่าเดิม ต้อง Go Beyond Mobile นำมาสู่วิสัยทัศน์ของ "การให้บริการ Data ที่มากขึ้นกว่าเดิม ไม่เพียงแค่บน Mobile เท่านั้น"
จะเห็นได้จากการที่ช่วงหลังมานี้ AIS เข้ามาชูเรื่องการให้บริการอินเทอร์เน็ตในที่พักอาศัย หรือ Fixed Broadband ข้อมูลจากการคาดการณ์ยังระบุว่าปีนี้จะมีการเติบโตจาก Fixed Broadband ในอัตราเปอร์เซ็นต์การเติบโตที่สูงกว่าการขาย Devices และ Mobile Services
แต่ Beyond จากการให้บริการ Data บน Mobile และ Fixed Broadband ยังมีการให้บริการ Data อะไรที่ไปต่อได้อีกบ้าง? คำตอบก็คือ การให้บริการกับ Devices อันหลากหลายอื่นๆ ซึ่งนั่นก็คือ Internet of Things
โดย AIS ประกาศเป็น เครือข่ายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พัฒนาสู่ Narrowband IoT (NB-IoT) มาตรฐานระดับโลก ที่จะรองรับการใช้งานอุปกรณ์ IoT ต่างๆซึ่งทยอยเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากมาย
ขอแนะนำให้อ่านบทความ Narrowband IoT หรือ NB-IoT คืออะไร และภาคธุรกิจทำอะไรกับมันได้บ้าง
นอกจากนี้ AIS ยังได้นำเสนอ Use Cases ของการใช้ Internet of Things ไม่ว่าจะเป็น
โดยสาธิตการทำ Smart Parking บริการจองที่จอดรถที่ทำร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ HUAWEI
โดยสาธิตกับการทำ Personal Tracking นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการ Tracking อื่นๆ ได้
เช่น การประยุกต์ทำ Smart Factory, Smart Logistics, Smart Agriculture, Smart Healthcare เป็นต้น
การคาดการณ์ในปี 2020 เรื่องการใช้ Data และแอปพลิเคชันประยุกต์
ในช่วงกลางของงานแถลงข่าวที่เต็มไปด้วยเสียงฮือฮา กับการประกาศจัดเต็ม Digital Service สุด Exclusive ด้านความบันเทิงจากความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก อาทิ FOX, HBO, NBA พร้อม Chromecast (เชื่อมต่อจอจากมือถือ สู่จอทีวีขนาดใหญ่) มอบแก่สาวกคอบันเทิงชาวไทย
นอกจากด้าน Entertainment แล้ว ยังมีด้าน Business ที่จับมือไมโครซอฟท์ ลงทุนใน Network ร่วมกัน เพื่อนำ Business Cloud ที่เร็วและแรงให้บริการแก่ลูกค้าชาวไทย
เป็นคำถามที่น่าสนใจ เพราะจากตัวอย่างในยุโรป ก็มีกรณีศึกษา Telco หันมาจับ Mobile Banking คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในงาน เพียงแต่มีประโยคน่าสนใจประโยคหนึ่งกล่าวว่า
"เราจะไม่ทำ Bank แข่งกับท่าน แต่เราจะร่วมมือกัน"
โดยเล่าถึงความร่วมมือกับธนาคาร CIMB Thai เมื่อปี 2015 นอกจากนี้ยังเปิดเผยคร่าวๆ ถึงความร่วมมือที่กำลังจะเกิดขึ้นกับธนาคารใหญ่เจ้าหนึ่ง เกี่ยวกับการทำ Nano Finance ซึ่งน่าสนใจจับตาดูต่อ
AIS ร่วมกับ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ทำ Working Space ในชื่อ AIS D.C. เพื่อเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้และเพิ่มขีดความสามารถของคนไทย ซึ่งจะเปิดตัวในเดือนเมษายน โดยประกอบไปด้วย
สำหรับ AIS Playground คือการให้ Startups ได้ทดสอบระบบเชื่อมต่อ API บน Product & Service ของตนเอง กับ AIS Digital Platform ที่รองรับการทำ Digital Business ที่หลากหลาย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจาก AIS ที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
สิ่งที่น่าสนใจคือ การทำ Digital Platforms ต่างๆ จาก AIS โดยได้มีการเปิดตัวแอปพลิชัน หรือแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ AIS พัฒนาขึ้นร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด