อนันดาดึง 3 ม.ชั้นนำระดับโลก ถ่ายทอดความสำเร็จ Tech Transfer ครั้งแรกในไทย

อนันดาดึง 3 ม.ชั้นนำระดับโลก ถ่ายทอดความสำเร็จ Tech Transfer พัฒนาภาคการศึกษา ครั้งแรกในไทย

Ananda Development จำกัด มหาชน ร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยหรือทปอ. และ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ได้แก่ University of Cambridge, University of California, Berkeley และ Stanford University ร่วมกันดำเนินโครงการ How Cambridge Berkeley Stanford do Tech Transfer งานประชุมสัมนาเชิงเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันและจุดประกายให้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เนื่องจากมีความเชื่อว่าการมีรากฐานทางการศึกษาที่ตอบโจทย์ต่อสังคมยุคดิจิทัลสมัยใหม่ จะสามารถนำประเทศไปสู่ความมั่นคั่งและมั่นคง

ดร.จอห์น เลสลี มิลลาร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาผมมั่นใจว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการนําร่องที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนจากสถาบันการศึกษาไทยทั่วประเทศ รวมทั้งผู้ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนและพัฒนาด้านการศึกษาของไทยได้เข้ามาเรียนรู้และร่วมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดจาก 3 มหาวิทยาลัยชั้นนํา เพื่อนําไปปรับใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีวิชาการของการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาของไทย ส่งเสริมให้มีการผลิตนักศึกษาที่มีทักษะมีความสามารถที่เหมาะกับยุคสมัยใหม่ และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก"

ดร. จอห์น มิลลาร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์จำกัด มหาชน

ผศ. ดร. เผชิญชัยภัต ไชยสิทธิ์ เลขาธิการ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และรองอธิการบดีอาวุโส ฝ่ายบริหาร ทรัพยากรและบริการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า “การร่วมมือในโครงการนี้ นับว่าครั้งแรกในประเทศไทยกับบริษัทเอกชนชั้นนํา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นการรับมือที่ดีในยุคที่สังคมไทยกําลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นสังคมยุคดิจิทัล อีกทั้งทั้งยังเป็นการช่วยขับเคลื่อนระบบการศึกษาไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว"

ผศ. ดร. เผชิญชัยภัต ไชยสิทธิ์ เลขาธิการ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และรองอธิการบดีอาวุโส ฝ่ายบริหาร ทรัพยากรและบริการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

โครงการ “How Cambridge Berkeley Stanford do Tech Transfer” ในครั้งนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ จากแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของโลก และมาร่วมถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับตัวแทนจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย และผู้เข้าร่วมจากทุกองศ์กร เพื่อได้ร่วมศึกษาและร่วมประเมินหาแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีที่ดีและสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมให้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยภายในงานจะมีวิทยากรหลักจาก 3 มหาวิทยาลัยระดับโลกมาถ่ายอดความรู้ ได้แก่

ดร. แครอล มิมูระ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี และผู้ช่วยอธิบดีฝ่ายวิจัยด้านทรัพย์สินทางปัญญา และอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ กล่าวถึงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีว่า "มหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ได้มีการคิดค้นนวัตกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ความสำเร็จหลายโปรเจคด้วยกัน หนึ่งในความสำเร็จของ James P. Allison สำหรับการพัฒนาเทคนิคนำระบบภูมิคุ้มกันไปสู่การโจมตีเนื้องอกมะเร็ง ล่าสุดได้รับรางวัล  Nobel Prize ในด้านในสรีรวิทยาหรือการแพทย์ โดยหลังจากที่ได้มีการต่อยอดเทคโนโลยีดังกล่าว ได้สร้างรายได้ให้กับทางมหาวิทยาลัยถึง 87.5 ล้านเหรียญ ในการปรับปรุงในการวิจัยด้านมะเร็ง นอกจากนี้ยังได้มีการตั้งศูนย์ร่วมงานกับภาคเอกชน ซึ่งปัจจุบันได้มีการสนับสนุนจากทุนวิจัยจากบริษัทกว่า 1,300 บริษัท"

"บทบาทของเทคโนโลยีในการเข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคการศึกษา เศรษฐกิจ และความมั่นคง ทางมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ได้มีการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน ให้นักศึกษาและบุคลากรได้มีการพัฒนางานวิจัย ในการนำไปพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม บางสาขาการเรียนได้มีผู้สอนที่เป็นทั้งนักวิจัย รวมทั้งนักธุรกิจ อีกหนึ่งความสำเร็จความร่วมมือคือกับผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาเคมีจาก Novartis-Berkeley Center ซึ่งสามารถจุดประกายให้นักพัฒนารุ่นหลังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด ในส่วนของงานวันพรุ่งนี้ทางเราจะถ่ายทอดวิวัฒนาการการถ่ายทอดเทคโนโลยี การคิดค้นสู่การนำไปพัฒนาต่อยอด รวมถึงการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา"

ดร.แครอล มิมูระ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี และผู้ช่วยอธิบดีฝ่ายวิจัยด้านทรัพย์สินทางปัญญา และอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์

ในส่วนของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มิสแคทเธอรีน คู กรรมการบริหารสำนักงานใบอนุญาตเทคโนโลยีและสัญญาจ้างอุตสาหกรรม ได้พูดถึงความท้าทายของความร่วมมือกับบริษัท ที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดว่า "หนึ่งในความสำเร็จคือความร่วมร่วมมือในการคิดค้น Web Search Engine จนพัฒนาต่อยอดเกิดเป็น Google โดยทางเราได้สนับสนุนจัดหาทุนจนประสบความสำเร็จ โดยในวันพรุ่งนี้ทางเราจะถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์ของทำงานกว่า 47 ปี ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวของการทำงานในซิลิคอน วัลเลย์”

ดร. พอล เจ ซีไบรท์ รองผู้อำนวยการ เคมบริดจ์ เอนเตอร์ไพรซ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เล่าถึงปัจจัยวัดความสำเร็จของการนำเทคโนโลยีมาถ่ายทอดนั้นอาจวัดได้จากมูลค่าที่ได้จากนวัตกรรม และการที่สามารถนำนวัตกรรมมาใช้ในวงกว้าง โดยในวันพรุ่งนี้จะเป็นการถ่ายทอดและมอบความรู้จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในด้านการพิจารณากฎหมาย แรงกดดันทางสังคม ระบบนิเวศน์ภายในประเทศอังกฤษ รวมถึงเรื่อง Seed fund ที่ทางมหาวิทยาลัยได้สนับสนุนในการนำไปต่อยอดจัดตั้งบริษัท"

เวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ How Cambridge Berkeley Stanford do Tech Transfer จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2562 ณ. Town Hall ชั้น 11, อนันดา แคมปัส, อาคาร FYI กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 08:00 - 18:30 น. ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ Ananda UrbanTech

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...