ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง พัทยา จับมือ AIS พัฒนา Smart Terminal นำร่องเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC | Techsauce

ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง พัทยา จับมือ AIS พัฒนา Smart Terminal นำร่องเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC

ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ประกาศจับมือกับ เอไอเอส นำเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาให้เป็น Smart Terminal ในช่วงก่อนการสร้างและเปิดใช้อาคาร 3 ให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์ลำดับที่ 3 ของกรุงเทพมหานครในอนาคต เป็นการเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารและสินค้ากับสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ ตามแผนเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์สำคัญภายใต้นโยบาย Thailand 4.0

โดยท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง-พัทยา เลือกเอาอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เป็นอาคารผู้โดยสารอัจฉริยะ หรือ “Smart Terminalในระยะแรก โดยจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ

  • ยกระดับการให้บริการผู้โดยสาร ด้วยแอปพลิเคชัน U-Tapao ที่จะมีข้อมูลด้านการบินและสนามบินในแอปฯ เดียว อาทิ
    • สถานะตารางการบิน
    • บริการการเดินทางไปกลับสนามบิน
    • บริการที่จอดรถ ฯลฯ
    • รวมทั้งแผนที่แสดงจุดให้บริการต่างๆที่เสริมระบบการนำทางและการแสดงข้อมูลการบริการภายในสนามบินด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เป็นครั้งแรกของไทย
  • เสริมระบบบริหารจัดการอาคารผู้โดยสารด้วยเทคโนโลยี Video Analytics ประกอบด้วย
    • เครือข่ายกล้องวงจรปิดทั่วอาคาร และโปรแกรมวิเคราะห์ประมวลผลภาพปัญญาประดิษฐ์และ Big Data ประยุกต์ใช้เป็นระบบตรวจจับและจดจำใบหน้าบุคคล (Face Recognition) ในพื้นที่สนามบิน เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย เช่น กรณีบุคคลหรือวัตถุต้องสงสัย หรือกรณีบุคคลสำคัญ เป็นต้น
    • ระบบแสดงข้อมูลความหนาแน่นของผู้โดยสาร (Heat Map Analytics) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัย และการบริหารและบริการของการท่าฯ

โดยแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทในเครือของเอไอเอส เป็นผู้พัฒนา Mobile Application และระบบวิเคราะห์ภาพวีดีโอ หรือ Video Analytics รวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเพื่อให้บริการดังกล่าวในพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 โดยมีเป้าหมายหลักคือ ขยายขีดความสามารถในการให้บริการแก่ท่ากาศยานแห่งนี้ จากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกและมอบประสบการณ์ที่เป็นเลิศให้แก่ผู้ใช้บริการท่าอากาศยาน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพการบริหารอาคาร

ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ

เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC กำลังถูกกล่าวถึงกันเป็นอย่างมาก และมีหลายโครงการที่เกิดขึ้นมากมายเต็มไปหมด และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งในโครงการนำร่องอีกตัว แม้ Smart Terminal ในที่นี้อาจจะยังไม่ได้ล้ำหน้าเหมือนสนามบินที่สิงคโปร์ที่เริ่มมีระบบ Seamless การ Checkin แบบไร้คนขนาดนั้น แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะได้เห็นการนำดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้ประสบการณ์ของผู้โดยสารดีขึ้น

ในมุมมองของประชาชนอย่างเรา เราก็อยากเห็นรัฐเข้ามาสนับสนุนอย่างจริงจัง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความโปร่งใส ไม่ใช่เพียงการตั้งโครงการขึ้นมา มีแผนที่วางไว้แล้ว แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็เริ่มต้นใหม่กันอีกครั้งหนึ่ง เราคงไม่อยากเห็นวังวนแบบนี้เกิดขึ้นในสังคมไทยเฉกเช่นที่ผ่านมาอีก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...