มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน IT รองรับการผลิตวิศวกรรม AI ที่เข้าใจโลกธุรกิจ | Techsauce

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน IT รองรับการผลิตวิศวกรรม AI ที่เข้าใจโลกธุรกิจ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เลือกใช้งานระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีจากไอบีเอ็ม โดยคอมพิวเตอร์ยูเนี่ยนพาร์ตเนอร์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ติดตั้งระบบ ชูจุดเด่นสร้างวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ที่พร้อมทำงานได้จริง

จากการขาดแคลนบุคลากรทางด้านไอทีโดยเฉพาะบุคลากรด้านเอไอ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งเป้าหมายในการผลิตบุคลากรทางด้านเอไอ จำนวน 700,000 คนภายใน 7 ปีข้างหน้า ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพเองก็เช่นกัน เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิศวกรรมข้อมูล หรือวิศวกรรมเอไอเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาวิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์ที่แตกต่างออกไปจากหลักสูตรของทางด้านประเทศฝั่งตะวันตกที่มุ่งเน้นในการพัฒนาในเรื่องของอัลกอลิธึมและการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์

แต่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพมุ่งมั่นสร้างวิศกรด้านปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถนำเอาอัลกอริธึมและแพลตฟอร์มต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับงานด้านธุรกิจได้อย่างแท้จริง จึงถือว่าเป็นจุดแตกต่างในการผลิตวิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.วิศาล พัฒน์ชู คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้อธิบายถึงความแตกต่างของหลักสูตรนี้ว่า “ความรู้ทางด้านเทคนิคเราไม่ห่วงเลย ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มีอยู่มากมาย แต่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และนำเอาเอไอไปใช้ต่างหากเป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจ ทางมหาวิทยาลัยจึงเน้นให้นักศึกษาของเราได้มีโอกาสฝึกทดลองปฏิบัติดาต้าเซ็ตชุดจริงที่ใช้ในโลกธุรกิจ เพื่อให้ได้สัมผัสกับการใช้งานในธุรกิจจริง”

หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ที่แตกต่าง

นักศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล จะมีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างจากวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะเป็นหลักสูตร 4 ปีเหมือนกัน แต่ระดับความเข้มข้นของการเรียนรู้กลับแตกต่างออกไปจากที่เคยมีมา โดยเริ่มต้นจากปี 1 จะเป็นการปูพื้นฐานด้านต่างๆ พอก้าวเข้าสู่ปีที่ 2 เป็นการเรียนรู้ในเรื่องของโปรแกรมมิ่ง เช่น Python, PyTorch การเรียกใช้งาน Library ด้านเอไอต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสมกับขนาดของข้อมูลที่แตกต่างกัน 

ต่อมาในปีที่ 3 จะเป็นการเจาะลึกด้านเอไอ ได้เรียนรู้เครื่องมือที่มีบนแพลตฟอร์มและสภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กๆ ที่สามารถทำบนเครื่องของนักศึกษาเองได้ จนกระทั่งถึงการทำงานบนสภาพแวดล้อมบนคลาวด์ หรือจะเป็นงานที่ต้องการกำลังในการประมวลผลขนาดใหญ่ที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ก็สามารถทำได้ เมื่อนักศึกษาคุ้นเคยกับเครื่องมือต่างๆ ก็ถึงเวลาที่จะต้องถูกส่งเข้าสู่การลงมือทำงานจริงกับภาคธุรกิจในรูปแบบของการทำสหกิจหรือการรับโจทย์จริงเพื่อแก้ปัญหาในช่วงปี 3 เทอม 2  

หลังจากกลับจากสหกิจเพื่อเข้าเรียนในชั้นปีที่ 4 ก็เชื่อว่าทุกคนจะนำความรู้ ประสบการณ์ และความต้องการทางธุรกิจที่แท้จริงมาทำโครงการเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจก่อนที่จะจบการศึกษาออกไป จะเห็นได้ว่าหลักสูตรนี้กำลังสร้างบัณฑิตที่พร้อมใช้งาน 

ลงทุนสร้างความได้เปรียบด้วยสภาพแวดล้อมที่ครบถ้วน

ทั้งนี้ การเรียนรู้การใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ในปีที่ 3 และปีที่ 4 จำเป็นต้องประมวลผลดาต้าเซ็ตขนาดใหญ่ ซึ่งการประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของนักศึกษา หรือการประมวลผลบนคลาวด์ จะใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสูงกว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไอทีไว้ใช้งานเองที่มหาวิทยาลัย จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทางมหาวิทยาลัยตัดสินใจลงทุนจัดสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที เพื่อรองรับการประมวลผลดาต้าเซ็ตขนาดใหญ่ โดยเลือกใช้งานเซิร์ฟเวอร์ประมวลผล และสตอเรจประสิทธิภาพสูง  

IBM และ CU ช่วยเติมเต็ม

ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพตัดสินใจเลือก IBM Power System AC922 ใช้ซีพียู Power9 ที่ออกแบบมาเพื่องานเอไอ 2 เครื่อง โดยอีกเครื่องมาพร้อมกับ GPU NVIDIA Tesla V100จำนวน 4 ใบ เพื่อเพิ่มความแรงในการประมวลผลได้อย่างเต็มที่ จากความมั่นใจในเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านเอไอที่ทางไอบีเอ็มสะสมมา ประกอบกับข้อมูลที่ทางมหาวิทยาลัยได้มาจากงานแสดงประสิทธิภาพทางด้านเทคโนโลยี ที่แสดงให้เห็นว่าสำหรับงานวิจัยด้านเอไอ และวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) โซลูชั่นของไอบีเอ็มมีค่า Performance Index ดีกว่าแบรนด์อื่น อีกทั้งยังมีซอฟต์แวร์เด่น เช่น Watson ที่ทำให้คนทั้งโลกยอมรับการทำงานด้านเอไอ 

นอกจากนี้ไอบีเอ็ม ยังมีเครื่องมือทางด้านเอไอให้เลือกใช้มากมาย และมีประสบการณ์ในการนำเอไอ ไปใช้ในธุรกิจจริง เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ การเงิน การธนาคาร การประกันภัย อุตสาหกรรมโรงงานและการผลิต อุตสาหกรรมสุขภาพและโรงพยาบาล ทำให้นักศึกษามีเครื่องมือและประสบการณ์ที่ช่วยย่นระยะเวลาในการเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้น ทำให้โซลูชั่นที่เลือกลงทุนครั้งนี้สามารถรองรับการใช้งานของนักศึกษาที่ต้องการได้อย่างเต็มรูปแบบ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.วิศาล กล่าวว่า “ทางมหาวิทยาลัยเลือกไอบีเอ็ม เพราะเราอยากได้โซลูชั่น ซึ่งนอกจากไอบีเอ็มจะมีเซิร์ฟเวอร์แล้ว ไอบีเอ็มยังมีแพลตฟอร์ม Watson ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเอไอที่ใช้งานจริงในโลกธุรกิจ เราอยากให้นักศึกษาได้มีโอกาสใช้งานโซลูชั่นเหล่านี้ เวลาไปทำงานจริง Learning curve ก็จะไปเร็ว“ 

นอกจากการเลือกโซลูชั่นของทางไอบีเอ็มแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯ เลือกผู้ให้บริการติดตั้งและให้บริการหลังการขายที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นการเลือกใช้บริการมืออาชีพอันดับต้นๆ ของเมืองไทยอย่างคอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน การเลือกใช้บริการครั้งนี้ พิจารณาจากประสบการณ์ของทีมงานของคอมพิวเตอร์ยูเนี่ยนที่เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์ในการให้บริการกับลูกค้าขนาดใหญ่มากมาย เชื่อว่าจะสามารถร่วมถ่ายทอดความรู้ในทั้งในเชิงเทคนิคและความต้องการทางธุรกิจให้กับทางมหาวิทยาลัยได้อย่างลงตัวที่สุด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.วิศาล กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทางมหาวิทยาลัยเลือก บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน เป็นผู้ติดตั้งระบบ เพราะเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายด้านเทคโนโลยีและผู้ให้บริการมาอย่างยาวนาน และมีบุคลากรมือต้นๆ ของประเทศ ในการถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญให้กับมหาวิทยาลัยอีกด้วย” 

เน้นความร่วมมือจริงกับโลกธุรกิจ

การทำสหกิจ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทดลองทำงานจริงกับผู้ประกอบการ  ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการรับรู้ความต้องการในโลกธุรกิจและนำมาต่อยอดจนกลายเป็นผลงานที่ตอบโจทย์ให้กับธุรกิจได้

ตัวอย่างเช่น ในปีที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับทางบริษัทที่ทำการพัฒนาแชทบ็อตและไมโครไฟแนนซ์ มาช่วยสอนและแนะนำการนำเอไอมาใช้งานในธุรกิจ โดยทั้งสองบริษัทเป็นตัวอย่างของการพัฒนาความร่วมมือของทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งจะมีการขยายความร่วมมือในบริษัทอื่นๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

เปิดคอร์สเอไอเพื่ออัพสกิลคนไอที 

ในระยะยาวด้วยจำนวนของนักศึกษาที่จบไปในแต่ละปีการศึกษาย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานด้านไอที ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงมีแนวความคิดที่จะเปิดเป็นหลักสูตรให้กับคนภายนอก และคนทำงานด้านไอทีให้เข้ามาเพิ่มพูนทักษะด้านเอไอโดยเฉพาะเชื่อว่าการรับรองหลักสูตรที่ครบองค์ที่ประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากคอมพิวเตอร์ยูเนี่ยนและเทคโนโลยีระดับโลกของไอบีเอ็ม หากสามารถร่วมรับรองหลักสูตรที่จะพัฒนาขึ้นในอนาคต เชื่อว่าจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนและผู้สอบได้อย่างแน่นอน

บทสรุป

ปัจจุบันนักศึกษารุ่นแรกที่เข้ามาเรียนในปีการศึกษา 2563 กำลังก้าวขึ้นสู่ชั้นปีที่ 2 นั่นหมายความว่าบัณฑิตรุ่นแรกของหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะเข้าสู่ตลาดแรงงานทางด้านนี้ได้จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คนในปี 2566 เชื่อว่า บัณฑิตรุ่นแรกจะเป็นกำลังสำคัญและเป็นบุคลากรที่พร้อมทำงานให้กับธุรกิจที่ต้องการนำเอาปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ในรูปแบบที่พร้อมใช้และเข้าใจความต้องการของธุรกิจอย่างแท้จริง


บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด
โทร 02 311 6881 # 7151, 7156 หรือ email : [email protected]


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Sovereign AI สำคัญอย่างไร ? จากปาก Jensen Huang ในวันที่ ‘ข้อมูลไทย’ คือทรัพยากรใหม่

สำรวจบทบาทของ Sovereign AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมคำอธิบายจาก Jensen Huang CEO ของ NVIDIA เกี่ยวกับ AI ไทยและ Open Thai GPT ที่จะเปลี่ยนอนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย...

Responsive image

สรุป 3 ความร่วมมือ Jensen Huang ร่วมงาน AI Vision for Thailand ไทยได้อะไรบ้าง ?

Jensen Huang เดินทางเข้าร่วมงาน AI Vision for Thailand จัดขึ้นโดย SIAM.AI CLOUD โดยได้เผยวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน AI ในประเทศไทย ทั้งนี้ Siam.AI ได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ...

Responsive image

Apple เสนอลงทุนในอินโดฯ เพิ่ม 10 เท่า มูลค่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู้ปลดแบน iPhone 16

Apple ทุ่มสุดตัว! เพิ่มเงินลงทุนในอินโดนีเซีย 10 เท่า เป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังข้อเสนอเดิมถูกปัดตก เป้าหมายปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดฯ ให้สำเร็จ...