ในเวลานี้ หลายธนาคารได้เริ่มเผยผลประกอบการประจำปีออกมาให้เห็นกันบ้างแล้ว ซึ่ง Techsauce ได้รวบรวมผลกำไรสุทธิของ 8 ธนาคารนำเสนอออกมาเป็นกราฟดังนี้ โดยธนาคารที่ได้ผลกำไรสุทธิมากที่สุดคือธนาคารไทยพาณิชย์ ตามมาด้วยธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารมีกำไรสุทธิ จำนวน 35,330 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากปี 2017 โดยมีรายได้จากการดำเนิ
ธนาคารมีกำไรสุทธิ จำนวน 28,491 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.0% จากปีก่อน และกำไรสุทธิในไตรมาส 4/2561 เติบโต โดยกลุ่มธนาคารมีสินเชื่อรวมเติบโต 4.4% จากสิ้นปีก่อน สินเชื่อทุกกลุ่มเติบโตอย่างโดดเด่นในไตรมาสสุดท้ายของปี อีกทั้งสามารถบริหารต้นทุนทางการเงินในระดับที่เหมาะสม มุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องตามหลักความระมัดระวัง ทั้งจากนโยบายการจัดชั้นเชิงคุณภาพที่เข้มงวดขึ้น และนโยบายการตั้งค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลมีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 125.81%
ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 24,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.9% จากปี 2017 ปัจจัยขับเคลื่อนผลการดำเนินงานมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากการเติบโตของเงินให้สินเชื่อที่สูงถึง 10.4% และการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม รวมทั้งการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ ตอกย้ำศักยภาพที่แข็งแกร่งของกรุงศรีและความคล่องตัวในการปรับพอร์ตสินเชื่อในกลุ่มธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง
ธนาคารมีผลกำไรสุทธิจำนวน 38,459 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 4,121 ล้านบาท หรือ 12.00% เกิดจากธนาคารมีการตั้งสำรองค่
ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 มีกำไรสุทธิจำนวน 6.9 ล้านบาท ลดลงจำนวน 378 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.2 เมื่อเทียบกับผลกำไรสุทธิของปี 2560 กำไรก่อนภาษีเงินได้จำนวน 271.2 ล้านบาท ลดลงจำนวน 217.6 ล้านบาทหรือร้อยละ 44.5 สาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานร้อยละ 9.6 และการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิและรายได้อื่น ร้อยละ 7.0 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับสุทธิกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิร้อยละ 5.3 และการลดลงของสำรองหนี้สงสัยจะสูญร้อยละ 2.6
ธนาคารมีผลกำไรสุทธิจำนวน 11,601 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34% จากปีก่อน พร้อมเพิ่มอัตราส่วนสำรองฯ ต่อ NPL มาอยู่ที่ 152% เพื่อเตรียมรับ IFRS 9 และมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ 30,540 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.7% หนุนโดยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากการรับรู้กำไรจากดีลอีสท์สปริง ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง โดยยังคงดูแลคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิด ทั้งยังเตรียมความพร้อมรับ IFRS 9 ด้วยการตั้งสำรองฯ เพิ่มจากระดับปกติเป็นจำนวน 7,000 ล้านบาท ในปี 2018 ธนาคารดำเนินการตั้งสำรองฯ ทั้งสิ้น 16,100 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนสำรองฯ ต่อ NPL (Coverage Ratio) ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการรองรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 152% จาก 143% ในปีก่อนหน้า ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 2.76% โดยหลังหักสำรองฯ และภาษี ธนาคารรายงานกำไรสุทธิที่ 11,601 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.6% จากปีที่แล้ว
ธนาคารมีผลกำไรสุทธิจำนวน 40,068 ล้านบาท (งบการเงินรวมก่อนตรวจสอบ) ลดลง 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในปี 2018 รายได้จากการดำเนิ
ธนาคารมีผลกำไรสุทธิจำนวน 14,703 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว โดยเฉลี่ยเติบโตปีละ 10% ขณะที่ตัวเลขหนี้เสีย (NPL Ratio) ยังคงที่ 2.3% และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเติบโต 5.53% สินเชื่อเติบโต 5.88% และมีสินทรัพท์รวมกันกว่า 1 ล้านล้านบาท
หากมีการเผยผลประกอบการจากธนาคารอื่นๆเพิ่มเติม Techsauce จะรวบรวมและสรุปมาผู้อ่านอีกครั้ง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด