ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังทำการศึกษาด้านใบอนุญาตประกอบการธนาคารดิจิทัล ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่กำลังเป็นที่ต้องการของผู้คนในยุคดิจิทัล โดยเจ้าหน้าที่อาวุโส เผยว่า ผู้เล่นใหม่จะช่วยกระตุ้นคู่แข่งและเข้าแทรกแซงอุตสาหกรรมธนาคารท้องถิ่น พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินและพัฒนาระบบการเงินโดยทั่ว
“ในยุคดิจิทัลเช่นนี้ ธนาคารกลางจำเป็นจะต้องคิดถึงภาพรวมใหม่ของธนาคารทั่วประเทศในระยะยาว ซึ่งธนาคารดิจิทัลคือหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ ถึงอย่างไรการออกแบบใบอนุญาตการทำธนาคารดิจิทัลก็ต้องมีการศึกษาอย่างรอบด้าน”
ธนาคารเสมือนเติบโตเป็นอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของผู้บริโภคและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี บริษัทฟินเทคหลายแห่งในประเทศไทยก็ได้พัฒนาตามยุคสมัยไป โดยให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ เช่น การชำระเงินผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
ที่ผ่านมาหลายประเทศในเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน และล่าสุดคือสิงคโปร์ ต่างได้สร้างใบอนุญาตทำธนาคารดิจิทัลในประเทศ ในขณะที่มาเลเซียน่าจะเริ่มต้นในปีนี้
การทำธนาคารดิจิทัลนั้นสามารถขยายและควบคุมการทำงานโดยใช้ต้นทุนไม่สูงมากนัก อีกทั้งยังมีหลากหลายบริการกว่าแบบดั้งเดิม
ด้าน SCB เผยว่า การคาดเดาความสำเร็จของโมเดลดิจิทัลนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะส่วนมากจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจด้านกฎระเบียบต่างๆ คุณอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าว
สำหรับ SCB สามารถให้บริการธนาคารเสมือนได้ผ่านบริษัทในเครือ SCB 10X Co Ltd แทนที่จะเป็นตัวธนาคารเอง หากเป็นกรณีนี้ SCB จะมีบทบาทในการจัดการการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมต้นทุนและคุณภาพสินทรัพย์รวมถึงการจัดการทรัพยากรในขณะที่ SCB 10X จะรองรับการเติบโตของ S-curve และการสร้างรายได้ในระยะยาว
ในขณะเดียวกัน คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานร่วมธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารมีทิศทางที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจด้านดิจิทัล ธนาคารกสิกรไทยจะดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อให้บริการทางการเงินในตลาดท้องถิ่นและค้นหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในภูมิภาคซึ่งรวมไปถึงธนาคารดิจิทัลด้วย
ที่มา: Bangkokpost
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด