สรุปกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 2564 ของ 6 ธนาคารใหญ่ของไทย | Techsauce

สรุปกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 2564 ของ 6 ธนาคารใหญ่ของไทย

Techsauce รวบรวม ผลกำไรสุทธิครึ่งปีแรกของปี 2564 ของ 6 ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ของไทยเป็นอย่างไรบ้าง ท่ามกลางความท้าทายจากการแพร่ระบาดของ COVID-19  

กำไรสุทธิครึ่งปีแรก

ธนาคารกรุงเทพ กำไรครึ่งปีแรกของปี 2564 จำนวน 13,280 ล้านบาท  

ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยรายงานกําไรสุทธิครึ่งแรกของปี 2564 จํานวน 13,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 10,765.49 ล้านบาท 

โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 หลัก ๆ จากผลของการรวมธนาคารเพอร์มาตาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 และมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ อยู่ที่ร้อยละ 2.12 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในครึ่งแรกของปีก่อน รายได้ ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 จากค่าธรรมเนียมบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวม และ ค่าธรรมเนียมธุรกิจหลักทรัพย์ รวมถึงการรวมรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารเพอร์มาตา สําหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ จากการดําเนินงานอยู่ที่ร้อยละ 49.5 ทั้งนี้ ธนาคารมีการตั้งสํารองตามหลักความระมัดระวังโดยคาดการณ์ปัจจัยผลกระทบสําหรับ สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

ธนาคารกรุงไทย กำไรครึ่งปีแรกของปี 2564 จำนวน 11,590 ล้านบาท

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรจากการดําเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เท่ากับ 32,600 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีสาเหตุหลักจากรายได้รวมจากการดําเนินงานที่ลดลงร้อยละ 9.3 เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง โดยในไตรมาสที่ 2/2563 มีรายได้ดอกเบี้ยพิเศษเงินให้สินเชื่อจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจํานอง ประกอบกับ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา ถึงแม้ธนาคารมีการบริหารต้นทุนทางการเงินและสินเชื่อที่ขยายตัว ได้ดีเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) เท่ากับร้อยละ 2.53 ลดลงจาก ร้อยละ 3.15 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงาน ลดลงร้อยละ 3.5 จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานและ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยมี Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 43.33 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.74 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยได้ตั้งสํารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จํานวน 16,154 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30.5 ส่งผลให้กําไรสุทธิ (ส่วนที่เป็นของธนาคาร) เท่ากับ 11,590 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 10,222.02 ล้านบาท

ธนาคารกรุงศรี กำไรครึ่งปีแรกของปี 2564 จำนวน 21,048 ล้านบาท  

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 กรุงศรีส่งมอบกําไรสุทธิที่แข็งแกร่งจํานวน 21,048 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55.5 จากช่วงครึ่งแรกของปี 2563 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 13,540.3 ล้านบาท มาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากการดำเนินงานและการลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สุทธิด้วยการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธโดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จากการบันทึกกําไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นในบริษัท เงินติดล้อ จํากัด (มหาชน) (เงินติดล้อ) ในไตรมาส 2/2564

หากไม่รวมการบันทึกกําไรพิเศษ กําไรสุทธิจากการดําเนินธุรกิจปกติในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ลดลงร้อยละ 5.0 หรือจํานวน 678 ล้านบาท จากช่วงครึ่งแรกของปี 2563 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ สุทธิด้วยการปรับตัวดีขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ทั้งนี้ การลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิส่วนใหญ่เป็นผลจากการ ลดลงของอัตราผลตอบแทนของเงินให้สินเชื่อ สะท้อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยลดภาระทางการเงินให้กับ ลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ยืดเยื้อ

ธนาคารกสิกรไทย กำไรครึ่งปีแรกของปี 2564 จำนวน 19,521 ล้านบาท 

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิจํานวน 19,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจํานวน 9,971 ล้านบาท หรือ 104.40 % โดยในงวดแรกปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสํารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) ลดลง 39.329% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยงวดแรกของปีก่อนธนาคารและบริษัทย่อยได้ตั้งสํารองฯ ใน ระดับที่สูงเป็นจํานวนถึง 32,064 ล้านบาท ภายใต้หลักความระมัดระวัง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโควิด-19 อันเป็นวิกฤติการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในลักษณะนี้มาก่อน

กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้สําหรับงวดแรกปี 2564 มี จํานวน 47,282 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจํานวน 1,332 ล้านบาท หรือ 2.90% เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ เพิ่มขึ้นจํานวน 2,686 ล้านบาท หรือ 4.87% จากการปล่อยเงินให้สินเชื่อแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในงวดนี้อัตราการเติบโตอยู่ที่ 6.17% มาจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่มีศักยภาพ

ธนาคารไทยพาณิชย์ กําไรสุทธิครึ่งปีแรกของปี 2564 จํานวน 18,902 ล้านบาท

ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิ ในไตรมาส 2 ของปี 2564 จํานวน 8,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักสํารองมีจํานวน 21,093 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8% จากช่วง เดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลของการขยายฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยและการปรับตัวลดลงของค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของธนาคาร 

สําหรับครึ่งปีแรกของปี 2564 ธนาคารมีกําไรสุทธิจํานวน 18,902 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรอยู่ที่ 17,611 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ของปี 2564 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจํานวน 23,475 ล้านบาท ลดลง 1.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ภายใต้สภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ําในปัจจุบันและการมุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อที่มีคุณภาพ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจํานวน 12,994 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.0% จากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลของการขยายฐานรายได้ประเภทที่เกิดขึ้นเป็นประจํา (recurring) จากธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์ประกันผ่านธนาคารและธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานมีจํานวน 15,376 ล้านบาท ลดลง 4.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลดลง ของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน

ธนาคารทหารไทยธนชาติ กําไรสุทธิครึ่งปีแรกของปี 2564 จํานวน 5,316 ล้านบาท

ในครึ่งปีแรกของปี 2564 ประเทศไทยเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและกระจายในวงกว้าง ซึ่งทําให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจชะลอตัว ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) ยังคงระมัดระวังในการดําเนินธุรกิจ โดยให้ความสําคัญในการให้ความช่วยเหลือลูกค้าและพนักงานของธนาคารใน สถานการณ์ที่ยากลําบากนี้ ธนาคารดําเนินการปรับโครงสร้างงบดุลให้มีความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ทําให้เงินให้สินเชื่อและเงินฝากของที่ที่มีโครงสร้างที่ เหมาะสมและเน้นพอร์ตที่มีคุณภาพ 

ในไตรมาส 2/2564 ธนาคารตั้งสํารองฯ เป็นจํานวน 5,491 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จาก ไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อขั้นที่ 3 อยู่ที่จํานวน 43,543 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ร้อยละ 2.89 โดยการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพสอดคล้อง กับเป้าหมายของธนาคารและส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวของสินเชื่อและกลยุทธ์การบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพโดยคํานึงถึงมูลค่าสินทรัพย์ในระยะยาว 

หลังหักสํารองฯ และภาษี ที่ที่ปีมีกําไรสุทธิ 2,534 ล้านบาทในไตรมาส 2/2564 ซึ่งลดลงร้อยละ 8.9 QoQ และร้อยละ 18.1 YoY 

สําหรับครึ่งปีแรกของปี 2564 กําไรสุทธิอยู่ที่ 5,316 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรอยู่ที่ 7,258 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ร้อยละ 5.2

รวบรวมข้อมูลจาก SET


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KKP คาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 หดตัว บ้านใหม่เสี่ยงค้างสต๊อกสูงสุดใน 8 ปี หวังมาตรการใหม่ช่วยกระตุ้น

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เผย ตลาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 ยังเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดชะลอตัวได้แก่ หนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90%...

Responsive image

อีคอมเมิร์ซจีนเร่งบุกตลาดต่างประเทศ รับมือเศรษฐกิจซบเซา ผ่านแคมเปญ Singles Day

หลังจากเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดปีที่แล้วที่ซบเซาที่สุดในประวัติศาสตร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจึงตระหนักว่าการขยายตลาดไปต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น...

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...