เจาะลึกธุรกิจผลิตไฟฟ้าในญี่ปุ่นของ Banpu Power กับการลงทุนในโรงไฟฟ้า IGCC รูปแบบใหม่ | Techsauce

เจาะลึกธุรกิจผลิตไฟฟ้าในญี่ปุ่นของ Banpu Power กับการลงทุนในโรงไฟฟ้า IGCC รูปแบบใหม่

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ประสบความสำเร็จในการลงทุนในโรงไฟฟ้านาโกโซ (Nakoso IGCC) ณ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ส่งผลให้บ้านปู เพาเวอร์สามารถขยายกำลังผลิตไฟฟ้าในญี่ปุ่นให้เติบโตขึ้นถึง 128 เมกะวัตต์ในระยะเวลา 1 ปี โดยมาจากการ COD โรงไฟฟ้า 2 แห่งเมื่อปลายปี 2563 พร้อมเตรียมเดินหน้า COD โครงการโรงไฟฟ้าอีก 2 แห่งตามแผนในปี 2564 นอกจากนี้ การลงทุนในโรงไฟฟ้า Nakoso IGCC ยังเป็นการตอกย้ำกลยุทธ์ Greener & Smarter และทิศทางการลงทุนที่มุ่งขยายพอร์ตพลังงานที่สมดุลและยั่งยืน ด้วยการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย Gasification ที่มีประสิทธิภาพการผลิตพลังงานสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ภาพรวมธุรกิจโรงไฟฟ้าของบ้านปู เพาเวอร์ในประเทศญี่ปุ่น

บ้านปู เพาเวอร์ได้เริ่มลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อปี 2557 ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โอลิมเปีย กำลังผลิต 10 เมกะวัตต์ ก่อนสั่งสมประสบการณ์พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันสามารถขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าได้เป็นจำนวนถึง 16 แห่ง ใน 10 จังหวัด แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการ

เชิงพาณิชย์แล้ว 13 แห่ง กำลังผลิตรวม 161 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและพัฒนาอีก 3 โครงการ กำลังผลิตรวม 132 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งหมด 293 เมกะวัตต์ โดยได้จัดตั้งสำนักงานประจำประเทศญี่ปุ่นขึ้นที่เมืองโตเกียวและเมืองไอสึวากามัตสึ เพื่อบริหารจัดการธุรกิจผลิตไฟฟ้า และธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ซึ่งรวมถึงธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์มระบบกลางและธุรกิจค้าปลีกไฟฟ้า (Energy Trading and Retail Electricity)

โดยก่อนหน้านี้ โรงไฟฟ้าในญี่ปุ่นของบ้านปู เพาเวอร์จัดอยู่ในประเภทโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดก่อนที่ล่าสุดบริษัทฯ ได้ขยายพอร์ตฟอลิโอโดยการเพิ่มโรงไฟฟ้ารูปแบบใหม่ IGCC (Integrated Gasification Combined Cycle) ทำให้ปัจจุบัน ในญี่ปุ่น บ้านปู เพาเวอร์มีโรงไฟฟ้าทั้งประเภทพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Thermal Power Plant) และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Plant) สอดคล้องกับจุดยืนของบ้านปู เพาเวอร์ในการเป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน ด้วยพอร์ตพลังงานที่สมดุลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และสอดคล้องกับทิศทางการลงทุนของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยี HELE (High Efficiency, Low Emissions) มาใช้ เพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าที่ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ตามกลยุทธ์ Greener & Smarter รวมทั้งเน้นการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วและโครงการที่ใกล้จะแล้วเสร็จ (Brownfield) ที่จะช่วยสร้างรายได้และ กระแสเงินสดกลับคืนสู่บริษัทฯ อย่างรวดเร็ว

เร่งเดินเครื่องตลาดญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มกำลังผลิต 128 เมกะวัตต์ใน 1 ปี

เมื่อพิจารณาจากกรอบระยะเวลา 1 ปี จะเห็นได้ว่าบ้านปู เพาเวอร์สามารถขยายกำลังผลิตไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นได้ถึง 128 เมกะวัตต์ จากการ COD โรงไฟฟ้าตั้งแต่ปลายปี 2563 ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยามางาตะ (Yamagata) และยาบูกิ (Yabuki)  กำลังผลิตรวม 25 เมกะวัตต์ รวมทั้งเตรียมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าในปี 2564 ตามแผน อีก 2 แห่ง ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เคนเซนนุมะ (Kesennuma) กำลังผลิต 20 เมกะวัตต์ และชิราคาวะ (Shirakawa) กำลังผลิต 10 เมกะวัตต์ และล่าสุดเพิ่มโรงไฟฟ้ารูปแบบใหม่อย่าง Nakoso IGCC กำลังผลิต 73 เมกะวัตต์ เข้ามาในพอร์ตธุรกิจ 

⦁ ยามางาตะ (Yamagata) – เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัท Tohoku Electric Power Co., Inc. เป็นระยะเวลา 20 ปี และมีราคารับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in-Tariff (FiT) 36 เยนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง 

⦁ ยาบูกิ (Yabuki) – เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เดือนธันวาคม 2563 มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัท Tohoku Electric Power Co., Inc. เป็นระยะเวลา 20 ปี มีราคารับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in-Tariff (FiT) 36 เยนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง 

⦁เคเซนนุมะ (Kesennuma) – คาดการณ์เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2564 โดยขณะนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 60

⦁ชิราคาวะ (Shirakawa) – คาดการณ์เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2564 โดยขณะนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 58

⦁โรงไฟฟ้านาโกโซ (Nakoso IGCC) – เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนในจังหวัดฟุกุชิมะ ครอบคลุมถึงเมืองโตเกียวและปริมณฑล ผ่านระบบสายส่งของประเทศตามสัญญาการซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ระยะยาว

นาโกโซ - โรงไฟฟ้า IGCC แห่งแรกในพอร์ตฟอลิโอบ้านปู เพาเวอร์

โรงไฟฟ้านาโกโซ (Nakoso IGCC) ณ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 543 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีผสมผสานในการแปลงสถานะถ่านหินให้กลายเป็นก๊าซเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า 

(Integrated Gasification Combined Cycle: IGCC) โดยเป็นการร่วมทุนในบริษัท Nakoso IGCC Management Co., Ltd. (NIMCO) ระหว่างบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท มิตซูบิชิ 

คอร์ปอเรชั่น เพาเวอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น มูลค่าการลงทุนประมาณ 2,500 ล้านบาท โดยบ้านปู เพาเวอร์ถือหุ้นใน NIMCO ที่สัดส่วนร้อยละ 33.5 โดย NIMCO ถือหุ้นร้อยละ 40 ในโรงไฟฟ้า Nakoso IGCC ส่งผลให้บ้านปู เพาเวอร์มีสัดส่วนการถือหุ้นที่ร้อยละ 13.4 ในโรงไฟฟ้า Nakoso IGCC และมีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุน 73 เมกะวัตต์

โครงสร้างการลงทุน

โรงไฟฟ้า Nakoso IGCC ถือเป็นโรงไฟฟ้า IGCC แห่งแรกที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นโรงไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Scale) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การร่วมทุนของ 5 บริษัท (Joint Venture Partners) โดยมีบริษัท มิตซูบิชิคอร์ปอเรชั่น เพาเวอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้พัฒนาหลัก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพมาอย่างยาวนาน การลงทุนครั้งนี้จึงนับว่ามีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ระยะยาว และมีสัญญาจัดหาเชื้อเพลิงระยะยาว รวมถึงได้นำจุดแข็งของแต่ละพันธมิตรมาใช้ในการบริหารโครงการตามโครงสร้างเพื่อกำหนดบทบาทและหน้าที่อย่างชัดเจน โดยคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ในช่วงไตรมาส 2/2564 

เทคโนโลยีล้ำสมัยของโรงไฟฟ้า IGCC เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าเทคโนโลยี IGCC เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง โดยผสมผสาน (Integrated) ระหว่างเทคโนโลยีการแปลงสถานะเชื้อเพลิงถ่านหินให้อยู่ในรูปของก๊าซเชื้อเพลิง (Gasification) ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเข้าด้วยกัน โดยนำเอาถ่านหินมาแปรสภาพให้กลายเป็นก๊าซเชื้อเพลิง(Gasified) ก่อน แล้วจึงนำก๊าซดังกล่าวมาเป็นเชื้อเพลิงให้กับ Gas Turbine ในขณะเดียวกันก็ได้นำความร้อนส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้และก๊าซไปต้มน้ำ เพื่อให้ได้ไอน้ำไปเป็นต้นกำลังให้กับ Stream Turbine อีกครั้ง ในขั้นตอน Heat Recovery Steam Generator (HRSG)

กระบวนการดังกล่าวทำให้โรงไฟฟ้า Nakoso IGCC มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูง นำมาซึ่งความโดดเด่น 2 ประการคือ

⦁    เป็นโรงไฟฟ้า HELE ที่มีประสิทธิภาพการผลิตพลังงานสูงกว่าระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินทั่วไป นั่นหมายถึง จากจำนวนตันของถ่านหินที่ใช้เท่ากัน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น

⦁    มีการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมในระดับต่ำเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าทั่วไป และมีความยืดหยุ่นต่อคุณภาพถ่านหินที่ใช้ในกระบวนการผลิต โดยเทคโนโลยี IGCC สามารถลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOx), ก๊าซกลุ่มไนโตรเจนออกไซด์ (NOx), และลดการการปล่อยฝุ่นสู่ชั้นบรรยากาศ 





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Willow ชิปควอนตัมจาก Google แรงทะลุจักรวาล ประมวลผลเรื่องยากได้ในเวลา 5 นาที เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ล้านล้านเท่า

Willow คือชื่อชิปควอนตัมใหม่ที่ Google พัฒนาสำเร็จ โดยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวติ้ง ชิปตัวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เร็ว...

Responsive image

ไทยตื่นตัวเซมิคอนดักเตอร์ ปิดดีลไปแล้วกว่า 22,000 ล้าน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนสิ้นปี

ไทยก้าวสู่ยุคเซมิคอนดักเตอร์เต็มตัว! 4 เดือนก่อนสิ้นปี ปิดดีลลงทุนไปกว่า 22,000 ล้านบาท เสริมฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมผลักดันบุคลากรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต...

Responsive image

ลิซ่า ซู จาก AMD คว้า CEO แห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME

ลิซ่า ซู ซีอีโอ AMD ได้รับเลือกให้เป็นซีอีโอแห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME โดยได้รับการยกย่องในวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำที่สามารถพลิกฟื้น AMD จากการเกือบล้มละลายเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเ...