การประกาศเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน T2P ของ Beacon VC ครั้งนี้ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนของธนาคารกสิกรไทย เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญ ในการนำความสามารถและประสบการณ์การให้บริการ e-Wallet แบบ B2B2C (Business to Business to Consumer) ของ T2P ซึ่งเป็นฟินเทคชั้นนำด้านโซลูชันการเงิน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การนำเสนอโซลูชันและบริการ e-Wallet ให้กับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่
ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการที่ คุณศุภนีวรรณ จูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการใช้งาน e-Wallet กับธุรกิจของธนาคาร ซึ่งที่ผ่านมาหลายองค์กรเริ่มให้ความสนใจนำ e-Wallet ไปเพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจมากขึ้น เช่น ธุรกิจค้าปลีกต้องการใช้ e-Wallet เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทำความเข้าใจลูกค้า จึงได้ร่วมมือกับ Beacon VC ในการหาพาร์ทเนอร์ที่เหมาะสม ก่อนจะเลือกเข้าไปพูดคุยกับ T2P และตัดสินใจร่วมลงทุนด้วย
คุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC) กล่าวว่า “เราติดตาม T2P มาสักระยะแล้ว แต่ก่อนหน้านี้ยังไม่มีโอกาสที่เหมาะสมและแง่มุมที่ชัดเจนที่จะเข้าไปร่วมลงทุน แต่เมื่อธนาคารกสิกรไทยมีโครงการจะใช้ e-Wallet จึงเข้าไปพูดคุยกับ T2P ซึ่งเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) โดย T2P จะเข้ามาร่วมทำธุรกิจกับทางธนาคารกสิกรไทย พัฒนา e-Wallet เรามองว่าการให้สตาร์ทอัพมาช่วยทำงานจะทำให้เรามีผลิตภัณฑ์ออกไปหาลูกค้าได้เร็วขึ้น”
สำหรับบริษัท T2P นั้นก่อตั้งในปี 2011 อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และได้รับใบอนุญาต e-Money รวมไปถึงใบอนุญาตระบบการชำระเงิน ซึ่ง T2P นั้นมีทีมงานที่มีประสบการณ์การพัฒนา e-Wallet แบบ B2B2C ให้ตอบโจทย์การทำธุรกรรมการเงิน โดยมีบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ได้แก่
ซึ่งในปี 2021 T2P มีปริมาณธุรกรรมมากถึง 2.9 พันล้านบาท โตขึ้น 70% จากปีก่อนหน้า และมีผู้ใช้งาน Wallet 4.4 ล้านบัญชี โตขึ้น 30% จากปีก่อนหน้า
คุณทวีชัย ภูรีทิพย์ ประธานบริหาร และหนึ่งในผู้ก่อตั้งของทีทูพี กล่าวว่า “ที่ผ่านมา ทีทูพีมีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่องและระบบของเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ตอบโจทย์ธุรกิจลูกค้าองค์กร การที่ได้ธนาคารกสิกรไทย และ Beacon VC มาเป็นพาร์ทเนอร์จะส่งผลให้เราเติบโตได้แบบก้าวกระโดด ซึ่งปัจจุบัน T2P มีลูกค้าองค์กรอยู่ประมาณ 30 ราย แต่หลังจากความร่วมมือน่าจะเข้าถึงลูกค้าได้เป็นร้อยราย”
ด้าน คุณศุภนีวรรณ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและ T2P จะส่งผลดีกับทั้ง 2 ฝ่าย โดยในระยะสั้น T2P จะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพของธนาคารกสิกรไทยให้สามารถให้บริการ e-Wallet แบบ B2B2C อย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง และจะเพิ่มโอกาสให้ T2P ได้ขยายฐานลูกค้า
ขณะเดียวกันก็จะร่วมกับพัฒนา API ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพของ Wallet ให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ เติมเงิน ชำระเงิน หรือ ถอนเงิน เล่นเดียวกับที่ธนาคารกสิกรไทยได้พัฒนาร่วมกับ Grab Wallet ให้ลูกค้าเติมเงินได้อย่างไร้รอยต่อ
นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังเดินหน้าโฟกัส Digital Lending (สินเชื่อดิจิทัล) โดยใช้ศักยภาพของ e-Wallet ที่สามารถเก็บข้อมูลการใช้งานของลูกค้า รู้ว่าลูกค้ามีรายรับรายจ่ายเป็นอย่างไร ลูกค้านำเงินที่ปล่อยสินเชื่อไปใช้ทำอะไร ผิดวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมหรือไม่ ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงให้ธนาคารกับการปล่อยกู้วงเงินขนาดเล็กได้
คุณศุภนีวรรณ ยังมองว่าการร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าให้กับธนาคารกสิกรไทยให้เป็นธนาคารหลักในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ปัจจุบัน K PLUS มีลูกค้า 18.6 ล้านราย ซึ่งยังมีอีกกว่า 50 ล้านบัญชี ที่สามารถเข้าถึงได้ ขณะดียวกันลูกค้ากลุ่มนี้ยังเป็นลูกค้าขององค์กรที่เป็นลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย
“เราคาดหวังการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เดิมเราเข้าถึงไม่ได้ เช่น กลุ่มลูกค้าที่มีอายุน้อย กลุ่มลูกค้าที่ธนาคารไม่สามารถให้บริการ Digital Payment ได้ ขณะที่ลูกค้าเดิมก็จะได้รับบริการที่ไร้รอยต่อมากขึ้น ซึ่งการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเป็นโจทย์ที่เราต้องทำให้สำเร็จ” คุณศุภนีวรรณ กล่าวปิดท้าย
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด