สิงคโปร์สั่งหยุดการควบรวมกิจการ Grab และ Uber ชั่วคราว ระบุอาจทำให้เกิด "การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม" | Techsauce

สิงคโปร์สั่งหยุดการควบรวมกิจการ Grab และ Uber ชั่วคราว ระบุอาจทำให้เกิด "การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม"

หน่วยงานภาครัฐ "คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าแห่งสิงคโปร์" หรือ Competition Commission of Singapore (CCS) สั่งเบรกดีลการควบรวมกิจการ Grab และ Uber ในประเทศสิงคโปร์ชั่วคราว ระบุเหตุผลอาจทำให้เกิด "การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม" เปิดโอกาสให้ทั้งสองบริษัทส่งคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนดำเนินการออกมาตรการถาวรหรือคำสั่งอื่น ๆ ต่อไป

Photo: Reuters

ก่อนหน้านี้ได้รายงานข่าวบริษัท Grab ผู้ให้บริการ Ride-Hailing รายใหญ่ใน Southeast Asia ที่ได้ทำการซื้อกิจการบริษัท Uber ผู้ให้บริการ Ride-Hailing จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ล่าสุดได้ตัดสินใจขายกิจ Uber ใน Southeast Asia ให้ Uber ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วอ่านประกอบ

ต่อมา "คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าแห่งสิงคโปร์" หรือ Competition Commission of Singapore (CCS) ได้ระบุว่าได้เริ่มดำเนินการสอบสวนดีลที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561

ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มีนาคมผ่านมา ทาง CCS ระบุว่าดีลดังกล่าวละเมิดกฎหมายประเทศสิงคโปร์ที่เกี่ยวข้องกับการผูกขาดด้านธุรกิจ จึงออกมาตรการชั่วคราวยังไม่ให้ Grab และ Uber สามารถดำเนินการควบรวมกิจการในสิงคโปร์ได้ในทันที โดยระหว่างการสอบสวนทั้งสองบริษัทจะต้องรักษาตัวเลือกราคาและบริการที่เป็นอิสระไว้ให้คงอยู่ดังเดิม

"คณะกรรมการการแข่งขันสิงคโปร์มีเหตุอันควรสงสัยว่าดีลดังกล่าวอาจทำผิดตาม Section 54 ของ Competition Act (กฎหมายแข่งขันด้านการค้าในสิงคโปร์) เนื่องจากทำให้การแข่งขันในตลาด Ride-Hailing ในสิงคโปร์ลดลงอย่างมาก" หน่วยงาน CCS กล่าว

นี่คือเป็นครั้งแรกในสิงคโปร์ที่ออกมาตรการชั่วคราวต่อธุรกิจในประเทศเลยก็ว่าได้

"เพื่อตอบสนองความกังวลของผู้บริโภค เราได้ตั้งใจที่จะรักษาโครงสร้างค่าโดยสารโดยเจตนาและจะไม่เพิ่มค่าโดยสาร นี่คือคำมั่นที่เรากำลังเตรียมที่จะให้ CCS และต่อสาธารณะ " Lim Kell Jay ในฐานะ Head of Grab Singapore กล่าวกับ Reuters ในการแถลงข่าว

นอกจากนี้ทาง CCS ยังออกมาตรการชั่วคราวห้ามไม่ให้ Uber และ Grab แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นลับทางการค้า (Confidential Information) เช่น ราคาในการให้บริการ, ข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลผู้ขับในระบบ อีกด้วย

โดยทาง CCS จะยังเปิดโอกาสให้ทั้ง Grab และ Uber ส่งคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรมาก่อนที่ทาง CCS จะพิจารณาดำเนินการออกมาตรการถาวรหรือคำสั่งต่าง ๆ เพิ่มเติมต่อไป

อ้างอิงข้อมูลจาก Nikkei Asian Review และ Reuters

 

ล่าสุด (2 เมษายน 2561) Grab ออกจากคำชี้แจงระบุ Grab พร้อมให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์ (CCS: Competition Commission of Singapore) แจงมีการติดต่อประสานงานอยู่ตลอด ยืนยันไม่ขึ้นราคาขั้นต่ำและคงระบบคิดราคาไว้เหมือนเดิม ระบุพร้อมส่งคำชี้แจงถึง CCS เป็นลายลักษณ์อักษรไม่เกินวันที่ 16 เมษายนนี้

อ่านเพิ่มเติม : Grab ชี้แจง พร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐของสิงคโปร์

 

ข้อมูลเสริม : ทำความรู้จักกับ "กฎหมายแข่งขันด้านการค้าในสิงคโปร์"

จากข้อมูล "สรุปผลการเสวนาพฤติกรรมที่เป็นข้อห้ามในทางการค้าตามกฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศอินโดนีเซีย เวียตนาม สิงโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรทราบ" เมื่อวันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ได้ให้ข้อมูล "กฎหมายแข่งขันทางการค้าในสิงคโปร์" ไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่ากฎหมายแข่งขันทางการค้าในสิงคโปร์ คือ Competition Act มีผลบังคับใช้ ในปี 2006 มีโมเดลมาจาก UK Competition Act ของสหราชอาณาจักร มีรายละเอียดอื่น ๆ ดังนี้

วัตถุประสงค์ของกฎหมาย

เพื่อส่งเสริมการแข่งขันและระบบตลาดที่มีประสิทธิภาพ โดยมี "องค์กรแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์" หรือ Competition Commission of Singapore (CCS) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลและรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง

กฎหมายนี้ไม่ใช่กฎหมายควบคุมราคา ดังนั้นการตั้งราคาที่สูงไม่ได้ผิดกฎหมายนี้

ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์

Competition Act ใช้บังคับกับ “Entity” ทั้งหมดที่มีการประกอบกิจการทางการค้า หรือมีกิจกรรมทางการค้าทางเศรษฐกิจ (Carrying on commercial or economic activities) ซึ่งจะใช้บังคับกับทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้ประกอบการที่รวมตัว กันเพื่อทาธุรกิจ องค์กร หรือสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้าหรือวิชาชีพเฉพาะ หรือแม้แต่องค์กร ที่ไม่แสวงหากาไร โดยใช้บังคับกับ State Owned Enterprises และ Government-Linked Companies ไม่ว่าจะอยู่ในรูปบรรษัทข้ามชาติ (MNCs) หรือธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม (SMEs) นอกจากนี้ยังใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลายที่ไม่ได้อยู่ในสิงคโปร์ด้วยเพราะใน กฎหมายแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์ได้กาหนดสิทธิในการบังคับใช้กฎหมายนอกอาณาเขตไว้ด้วย (Extraterritorial Application)

พฤติกรรมต้องห้ามตามกฎหมาย

กฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศสิงคโปร์มีการกาหนดห้ามพฤติกรรมที่ต่อต้าน การแข่งขันและต้องห้ามตามกฎหมายดังนี้

1. Anti-competitive Agreements

กฎหมายห้ามผู้ประกอบการร่วมมือกันไม่ว่าจะวัตถุประสงค์หรือผลกระทบเป็นการลด จำกัด หรือบิดเบือนการแข่งขันในสิงคโปร์ โดยกฎหมายห้ามเฉพาะการร่วมมือจากัด การแข่งขันในแนวระนาบระหว่างคู่แข่งเท่านั้น (Horizontal Agreements) เช่น ห้ามร่วมมือกันกำหนดราคา ห้ามการร่วมมือกันเพื่อให้บุคคลใดชนะการประมูล ห้ามการทาการตกลงร่วมกันเพื่อแบ่งตลาด และห้ามร่วมมือกันจำกัดปริมาณสินค้าในตลาด โดยกฎหมายไม่ได้ห้ามการร่วมมือกันจากัดการแข่งขันในแนวดิ่งระหว่างผู้ประกอบการที่ไม่ได้ เป็นคู่แข่งกัน (Vertical Agreement) หากผู้ประกอบการที่กระทำไม่ได้เข้าข่ายเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดในสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้อง แต่หากผู้ประกอบการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดตามกฎหมายกระทำการร่วมมือกันจากัด การแข่งขันในแนวดิ่งจะถือว่าผิดกฎหมาย เช่น Exclusive Dealing, Tying and Bundling

นอกจากนี้ยังมีมาตรการลดหย่อนผ่อนโทษ (Leniency Program) กำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับ ผู้มีส่วนร่วมในการร่วมมือกันลด หรือ จำกัดการแข่งขัน (Cartels) โดยสามารถลดโทษได้สูงสุดถึง 100%

2. Abuse of Dominant Position

การใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบกำหนดไว้ใน Section 47 ว่าห้ามผู้ประกอบการที่มีอำนาจเหนือตลาด ใช้อำนาจเหนือตลาดที่มีในทางที่มิชอบ เพื่อที่จะให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมกับคู่แข่ง แต่การมีสถานะเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือผู้ผูกขาดในตนเองไม่ได้มีความผิดตามกฎหมาย แต่ต้องมีพฤติการใดๆที่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดหรืออำนาจผูกขาดโดยมิชอบ ส่วนการเป็นผู้ผูกขาดไม่ได้ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด เพราะการที่จะได้มาซึ่งส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่หรือเป็นผู้ผูกขาดไม่ว่าเพราะเหตุผลใดๆนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ กฎหมายไม่ได้ห้าม เพียงแต่การใช้อำนาจเหนือตลาดในทางที่ไม่ชอบเท่านั้น จึงจะผิดตามกฎหมาย

การพิจารณาว่าใครเข้าข่ายเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่นั้น ไม่ได้ดูที่ส่วนแบ่งตลาดเพียงอย่างเดียวเป็นหลัก แต่ดูที่ปัจจัยองค์รวมทั้งหมด (Holistic Approach) ดังนั้นส่วนแบ่งตลาดที่กำหนดไว้เป็นแค่ guideline เท่านั้น พฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบไม่ใช่ความผิดเด็ดขาด (Per se illegal) จึงต้องพิจารณาเป็นรายกรณีๆไป

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ

  • Exclusive Dealing
  • Predatory Pricing
  • การปฏิเสธในการทำธุรกรรมด้วย
  • การบังคับขายพ่วง

3. Merger Control

การควบคุมการควบรวมกิจการในสิงคโปร์ กำหนดห้ามการควบรวมกิจการที่ส่งผล หรือคาดว่าจะส่งผลเป็นการลดการแข่งขันอย่างเป็นนัยยะสำคัญในสิงคโปร์

ลักษณะสำคัญของการควบคุมการควบรวมกิจการในสิงคโปร์

กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องมีการขออนุญาตควบรวมกิจการล่วงหน้า แต่อาศัยความสมัครใจเป็นหลักว่าจะขออนุญาตก่อนการควบรวมกิจการหรือไม่ เพราะใช้ระบบการประเมินตนเอง (Self-Assessment) ว่าการควบรวมกิจการจะก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างเป็นนัยสำคัญหรือไม่ ถ้ามีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดผลเป็นการลดการแข่งขันอย่างเป็นนัยสำคัญควรจะมีการขออนุญาตต่อ Competition Commission of Singapore (CCS)

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการไม่ขออนุญาตควบรวมกิจการ คือ CCS มีอำนาจในตรวจสอบ และทำการสอบสวนได้ว่าการควบรวมกิจการที่ทำไปแล้วส่งผลเป็นการลดการแข่งขันอย่างเป็นนัยยะสาคัญในตลาดที่ เกี่ยวข้องในสิงคโปร์หรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีผลดังกล่าวอำจนาไปสู่คำสั่งให้ Divestment ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนได้แม้ว่าการควบรวมกิจการจะได้ดาเนินการไปแล้วก็ตาม หรือ อาจถูกสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน

นอกจากนี้ CCS ยังเปิดโอกาสให้มีการขอคำแนะนำแบบลับ (Confidential Advice) จาก CCS ได้

การควบรวมกิจการที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดผลกระทบเป็นการลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ

  1. กรณีที่บริษัทที่จะควบรวมกิจการมีส่วนแบ่งตลาดอย่างน้อย 40% ในตลาดของสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้อง
  2. กรณีที่บริษัทที่จะควบรวมกิจการมีส่วนแบ่งตลาดระหว่าง 20-40% และภายหลังการควบรวมกิจการทำให้มีส่วนแบ่งตลาดของบริษัทยักษ์ใหญ่ 3 รายแรกรวมกันอย่างน้อย 70% ขึ้นไป

ซึ่งเกณฑ์ส่วนแบ่งตลาดที่กำหนดไว้เป็นเพียงไกด์ไลน์ ไม่ได้เป็นองค์ประกอบหลักในการตัดสินใจเสมอไป โดยในทางปฏิบัติส่วนใหญ่แล้วประเด็น Merger จะได้รับการเคลียร์โดย CCS เสียเป็นส่วนใหญ่

แต่อาจมีบางกรณีที่ CCS accepts commitments แล้วเคลียร์ Merger ให้ด้วย CCS ไม่มีแนวโน้มที่จะแทรกแซงและควบคุมการควบรวมกิจการของบริษัทขนาดเล็กใน สิงคโปร์ ซึ่งก็คือบริษัทที่มีผลประกอบการรายปีในสิงคโปร์ของแต่ละบริษัทที่จะเข้าควบรวมต่ำกว่า 5,000,000 SGD และผลประกอบการรายปีของทุกๆบริษัทที่จะเข้าควบรวมกิจการรวมกันทั่วโลกต่ำกว่า 50,000,000 SGD

บทลงโทษ

การกระทำพฤติกรรมที่ต้องห้ามตามกฎหมายตามที่กล่าวมานี้มีแต่บทลงโทษทางแพ่งเท่านั้น ไม่มีโทษทางอาญา

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

PepsiCo เปิดเวที Greenhouse Accelerator 2025 เฟ้นหาสตาร์ทอัพสายกรีนในเอเชียแปซิฟิก ชิงทุนกว่า 120,000 ดอลลาร์ฯ

PepsiCo ยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร และเครื่องดื่มระดับโลก ประกาศเปิดรับสมัครสตาร์ทัพด้านความยั่งยืนรุ่นใหม่จากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้าร่วมโครงการ ‘Greenhouse Accelerator 2025’ ปีที่ 3...

Responsive image

OpenAI เปิดตัว “Tasks” ฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT เตือนความจำ-สั่งงานล่วงหน้าได้ หมดกังวลเรื่องหลงลืม

หมดกังวลเรื่องหลงลืม! OpenAI เปิดตัว “Tasks” ฟีเจอร์เตือนความจำ-สั่งงานล่วงหน้า บน ChatGPT...

Responsive image

BOI ปรับเกณฑ์ LTR Visa ใหม่ หวังดึง Talent ต่างชาติ-นักลงทุนเข้าไทย

ล่าสุด ครม. อนุมัติบีโอไอ (BOI) ปรับเกณฑ์วีซ่าพิเศษ LTR Visa (Long-Term Resident Visa) หวังดึงบุคคลากรชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง รวมถึงนักลงทุนระดับโลกเข้าสู่ไทย หวังผลักดันไทยเป็น...