จุดอ่อนของมังกร! สิ่งที่จีน “ยังขาด” ในการสู้สมรภูมิ Digital Economy | Techsauce

จุดอ่อนของมังกร! สิ่งที่จีน “ยังขาด” ในการสู้สมรภูมิ Digital Economy

ในงาน Manufacturing in the Age of Experience 2019 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน มี Keynote Session ที่ว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีน แม้ในปัจจุบัน จีนจะได้รับการขนานนามว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าของโลก แต่จีนเองก็มีจุดอ่อนไม่น้อย โดยเฉพาะรูปแบบการผลิตสินค้าปัจจุบัน และแนวคิดในกระบวนการ Digital Transformation

ภาพรวมอุตสาหกรรม Software จีนกับโอกาสจากจุดแข็งและจุดอ่อนในภาคการผลิต

จากข้อมูลของ China Electronic Information Industry Development หรือ CCID ระบุว่าอุตสาหกรรม Software ในจีนปี 2018 มีมูลค่าถึง 168,000 ล้านหยวน (ประมาณ 721,000 ล้านบาท) ซึ่งผู้นำในตลาดจีนกลับไม่ใช่บริษัท Software ในประเทศจีน แต่เป็นบริษัทต่างชาติ นำโดย Glodon, Dassault Systemes และ Siemens

CCID ยังชี้จุดแข็งและจุดอ่อนของภาคการผลิตจีนเอาไว้อย่างน่าสนใจ โดยจุดแข็งเป็นเรื่องของความหลากหลายของประเภทอุตสาหกรรม, Supply Chain ที่มีประสิทธิภาพ และรูปแบบการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่มขึ้น ส่วนจุดอ่อนคือมูลค่าต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น, กำลังการผลิตสินค้าคุณภาพต่ำที่มากเกินไป และขาดเทคโนโลยีด้านข้อมูล ซึ่งทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนนั้นล้วนเป็นโอกาสของธุรกิจที่สนับสนุนภาคการผลิตโดยตรง

IDC ชี้โลกหมุนเร็วเกินกว่าจะ Lean แนะ Concept ที่ดีเพื่อจีนคงความเป็นใหญ่

IDC บริษัทด้าน Market Intelligence เผยภายในงานเสวนาว่า ภาคธุรกิจจีนให้ความสำคัญกับ Digital Transformation มากขึ้น แต่การทำ Digital Transformation ไม่ใช่การ “เพิ่มผลิตผล” แต่เป็นการ “จัดการกับความซับซ้อน” ของกระบวนการต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันโลกหมุนไปเร็วเกินกว่าที่จะ Lean เพียงอย่างเดียว แต่องค์กรต้องรู้จักหาวิธี “ปรับปรุงประสิทธิภาพ” หรือ Optimise ด้วย

สิ่งที่ IDC เห็นว่าเป็นจุดอ่อนของจีนในกระบวนการ Digital Transformation คือการขาดแผนงานและความเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยี, การขาดเงินสนับสนุน และการขาดทักษะที่จำเป็น ทั้งหมดนี้ นอกจากแก้ด้วยการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นแล้ว แนวคิดและวัฒนธรรมองค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้องค์กรเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่ง IDC แนะว่าธุรกิจจีนควรใช้แนวคิด “Resilience” ที่ยึดวัตถุประสงค์เดียวเป็นแกนหลัก แต่ยืดหยุ่นให้วิธีการปฏิบัติงาน อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคลากรทุกระดับก่อนลงมือทำ เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ

Bob Parker, Senior Vice President, Enterprise Applications, Data Intelligence, Services, and Industry Research ของ IDC

ในส่วนของการใช้เทคโนโลยี ทุกคนควรให้ความสำคัญกับ “คุณภาพของข้อมูล” และการใช้งาน “Cloud Computing” อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ Digital Technology ทั้งหมด IDC ยังชี้อีกว่า Algorithm ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนักนับตั้งแต่มันถูกคิดค้นมา แต่สิ่งที่ทำให้บรรดาเทคโนโลยี Artificial Intelligence และ Machine Learning มี Impact มากขึ้นมาจาก “กระบวนการจัดการข้อมูล” โดยเราสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าแต่ก่อนจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ในปัจจุบัน สิ่งที่จีนต้องคิดคือจะทำอย่างไรให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจมากที่สุด ซึ่งการคิดอย่างไรให้ดี ก็ย้อนกลับมาที่แนวคิดการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรอยู่ดี

Digital Transformation ไม่ใช่การเปลี่ยนทุกอย่างเป็น Digital มันเป็นแค่ “วิธีการ” ที่ใช้ “ปรับปรุง” สิ่งที่มีอยู่จริงหรือลงมือทำมันจริงๆ

ความเห็นบรรณาธิการ : Key Takeaway ที่เราอยากบอกธุรกิจไทย

  • มอง Digital Transformation ที่ระหว่างทางบ้าง แม้ว่าเรื่อง Digital Transformation จะเกิดขึ้นทั่วโลกมาแล้วหลายปี แต่ก็ใช่ว่าทุกองค์กรจะมองกระบวนการดังกล่าวได้ถูกมุมนัก หลายองค์กรยังมองว่า Digital Transformation เป็นแค่การนำเข้าเครื่องมือเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการเดิมโดยหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่ๆ เพียงอย่างเดียว แต่อันที่จริงแล้ว เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ สามารถให้ผลลัพธ์ที่ไปได้ไกลกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการลดขั้นตอนดำเนินการภายในที่มีผลต่อต้นทุนและเวลา การเก็บข้อมูลจากเครื่องมือต่างๆ ในโรงงานเพื่อเป็นต้นทางในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ไปจนถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีตั้งแต่เริ่มอันมีส่วนช่วยในการออกแบบกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการทำความเข้าใจ Function ของเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในขั้นตอนระหว่างทางมากกว่าการมองหาผลลัพธ์ใหม่ปลายทางเพียงอย่างเดียว
  • เทคโนโลยีคือเครื่องมือ ต้องเข้าใจเพื่อลงทุนและเลือกใช้ให้เหมาะ ในกระบวนการ Digital Transformation การเลือกเทคโนโลยีเป็นอีกความสำคัญที่องค์กรต้องนึกถึง ซึ่งหลายครั้ง เรามักได้ยินว่าองค์กรควรนำ AI หรือ ML หรือแม้กระทั่ง Blockchain มาใช้ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจ องค์กรควรทำความเข้าใจเทคโนโลยีในฐานะ “เครื่องมือ” ให้ชัดเจนเสียก่อน ธุรกิจของเราอาจไม่จำเป็นต้องไปดำเนินการอย่างซับซ้อนกับ Blockchain ในเวลานี้ หรืออาจจะไม่ต้องใช้ Deep Learning ในขั้นตอนคัดกรองเอกสาร หากธุรกิจเข้าใจ Function ก็จะเลือกลงทุนและใช้งานเพื่อการเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  • Software Solution โอกาสที่ธุรกิจไทยยังคว้าได้ในจีน จากตัวเลขสถิติของ CCID ระบุว่า Enterprise Software Solution ในจีนมีบริษัทต่างชาติเป็นผู้นำตลาด นั่นหมายความว่าจริงๆ แล้ว ธุรกิจจีนเปิดรับและมีความต้องการ Enterprise Software Solution ที่มีประสิทธิภาพจากทั่วโลก จึงเป็นอีกหนึ่งโอกาสของผู้สร้างสรรค์ Software ชาวไทยที่จะเสนอเครื่องมือต่างๆ ให้กับภาคธุรกิจจีนซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งช่องว่างที่ไทยพอจะแทรกตัวเข้าไปได้คือการนำเสนอ Solution ในบางขั้นตอนให้กับธุรกิจขนาดกลางหรือเล็กในประเทศจีนด้วยราคาที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ จากตัวเลขของ National Equities Exchange and Quotations หรือ NEEQ ในปีระบุว่า SMEs จีนทั่วประเทศลงทุนในด้าน R&D ไปแล้วเป็นมูลค่าสูงถึง 11,580 ล้านหยวน (ประมาณ 50,000 ล้านบาท) เลยทีเดียว
  • วัฒนธรรมองค์กร แนวคิดสำคัญตัดสินความสำเร็จใน Digital Transformation เรียกได้ว่าเป็นประเด็นร้อนที่แม้แต่ Consulting Firm ยังต้องเน้นให้กับธุรกิจในประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจของโลกอย่างจีน วัฒนธรรมองค์กรเป็นส่วนสำคัญที่บุคลากร “กล้า” ที่จะคิดหาทางใช้เทคโนโลยีอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเองก็มีหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของขนาด ประเภทธุรกิจ และความเร็วที่ต้องการในแต่ละสถานการณ์

อ่านบทความเรื่องวัฒนธรรมองค์กรโดย Techsauce ได้ที่นี่

สิ่งที่องค์กรมักพลาดในการสร้าง Culture คือ "เลียนแบบองค์กรอื่น"

ไขทุกข้อสงสัยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรและการบริหารคน ใน Techsauce Culture Summit 2019

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

PepsiCo เปิดเวที Greenhouse Accelerator 2025 เฟ้นหาสตาร์ทอัพสายกรีนในเอเชียแปซิฟิก ชิงทุนกว่า 120,000 ดอลลาร์ฯ

PepsiCo ยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร และเครื่องดื่มระดับโลก ประกาศเปิดรับสมัครสตาร์ทัพด้านความยั่งยืนรุ่นใหม่จากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้าร่วมโครงการ ‘Greenhouse Accelerator 2025’ ปีที่ 3...

Responsive image

OpenAI เปิดตัว “Tasks” ฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT เตือนความจำ-สั่งงานล่วงหน้าได้ หมดกังวลเรื่องหลงลืม

หมดกังวลเรื่องหลงลืม! OpenAI เปิดตัว “Tasks” ฟีเจอร์เตือนความจำ-สั่งงานล่วงหน้า บน ChatGPT...

Responsive image

BOI ปรับเกณฑ์ LTR Visa ใหม่ หวังดึง Talent ต่างชาติ-นักลงทุนเข้าไทย

ล่าสุด ครม. อนุมัติบีโอไอ (BOI) ปรับเกณฑ์วีซ่าพิเศษ LTR Visa (Long-Term Resident Visa) หวังดึงบุคคลากรชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง รวมถึงนักลงทุนระดับโลกเข้าสู่ไทย หวังผลักดันไทยเป็น...