Citibank เผยผลการวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกครึ่งหลังปี พ.ศ. 2563 คาดเศรษฐกิจโลก -3.5% ยุโรป-อเมริกา ยังหดตัว ส่วนเอเชียอาจบวกเล็กน้อย
ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เผยผลการวิเคราะห์เศรษฐกิ
ด้านภาพรวมตลาดการลงทุนยั
คุณบุญนิเศรษฐ์ ธัญวรอนันต์ ที่ปรึกษาทางการลงทุน ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า นักวิเคราะห์ซิตี้คาดการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ติดลบ 3.5% ก่อนที่ตลาดโลกจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว 5.5% ในปี 2564 ในขณะที่ระดับอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.8% และเพิ่มขึ้นเป็น 2.4% ในปี 2564 จากปัจจัยแนวโน้มความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลก เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ความไม่แน่นอนด้านภูมิศาสตร์การเมืองที่ยังคงตึงเครียด สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีน รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ผันผวนตลอดปีที่ผ่านมา ในขณะที่เศรษฐกิจระดับภูมิภาคคาดว่ากลุ่มตลาดเกิดใหม่ชะลอตัวลงเล็กน้อย -1.5% และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวขึ้น 6.4% ในปี 2564 ในทางกลับกันด้านตลาดพัฒนาแล้วมีแนวโน้มการเติบโตชะลอตัว -5% ในปีนี้จากผลกระทบของโควิด-19 ตลอดจนความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลให้การลงทุนมีความความท้าทายสูง ถึงแม้ว่าตลาดทุนทั่วโลกกลับตัวบวก 40.6% จากจุดต่ำสุดในเดือนมีนาคม แต่ก็ยังติดลบ 4% เมื่อเทียบกับต้นปี (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 - วันที่ 23 มิถุนายน 2563)
คุณบุญนิเศรษฐ์ กล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้นักวิเคราะห์ซิตี้คาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปีนี้อาจทำให้ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยอย่างหนัก แต่ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกจะเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังจากมาตรการคลายล็อคดาวน์ของหลายประเทศและการที่สามารถเริ่มควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ และโดยเฉพาะหากมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคได้สำเร็จ โดยจีดีพีของสหรัฐอเมริกาในปีนี้คาดว่าจะหดตัว 3.3% แต่เริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอีกครั้ง จากอัตราการว่างงานที่ลดลง รวมถึงยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับ 0% - 0.25% รวมทั้งรัฐบาลสหรัฐมีแผนอัดฉีดเงินมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ส่วนยุโรปคาดว่าจีดีพีจะลดลง 6.7% สืบเนื่องมาจากการมาตรการข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ออกมา โดยแนวโน้มการฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังอาจจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี กว่าจีดีพีจะกลับไปสู่ระดับเดิมเทียบเท่าช่วงไตรมาส 4 ปี 62 ทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำกว่า 0% ต่อเนื่อง ล่าสุดเปิดโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินเป็นวงเงินสูงถึง 7.5 แสนล้านยูโร ตลอดจนคณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมเสนองบประมาณการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งมีวงเงินสูงถึง 1.1 ล้านล้านยูโร สำหรับช่วง 7 ปีข้างหน้า เพื่อช่วยเหลือและปกป้องเศรษฐกิจของยุโรปที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ในขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียในปีนี้จะโต 0.5% โดยเฉพาะประเทศจีนที่อาจโตแตะ 2.4% เนื่องจากความต้องการภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเห็นได้จากประเทศจีนที่แม้เป็นประเทศแรกที่เผชิญหน้ากับไวรัส แต่ก็เริ่มเห็นการกลับมาทำกิจกรรมในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยไตรมาส 1 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ พบว่าช่วงไตรมาส 2 ส่วนใหญ่ยังคงเห็นการถดถอยอยู่ก่อนที่จะมีการค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มกลับมามีการฟื้นตัวใหม่อีกครั้ง แนวโน้มจะเป็นการฟื้นตัวแบบไม่เท่ากันในแต่ละภูมิภาค
ด้านน้ำมันยังคงเป็นที่น่าจับตา โดยน้ำมันดิบยังมีอุปสงค์สวนทางกับอุปทานจึงคาดว่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 42 และ 38 ดอลลาร์สหรัฐต่อบารร์เรลตามลำดับ ส่วนทองคำยังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,600 -1,800 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และมีแนวโน้มว่ามูลค่าเฉลี่ยจะขยับขึ้นในระดับประมาณ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในปี 2564
ส่วนค่าเงินต้องจับตาเป็นพิเศษเพราะยังคงมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้คาดยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะกลางถึงระยะยาวจากปัจจัยการขยายงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพื่อตอบสนองสภาพคล่องต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนกรอบความเคลื่อนไหวเงินบาทไทยคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 31.0 – 31.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ในขณะที่ นักวิเคราะห์ซิตี้ ยังคงมีมุมมองบวกต่อหุ้นวัฎจักรที่คาดว่าจะมีการเติบโตต่อเนื่อง พร้อมแนะนักลงทุนให้น้ำหนักในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ภูมิภาคเอเชียและกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สุขภาพ กลุ่มโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัลไลเซชั่น (Digitalization) รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สกุลเงินเยน ตลอดจนการลงทุนในทองคำ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งจะสามารถช่วยเสริมความมั่นคงให้กับพอร์ทโฟลิโอการลงทุน พร้อมกันนี้แนะให้เฝ้าติดตามประเด็นสำคัญของสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาผลประโยชน์ในระยะยาวและลดความเสี่ยงจากการลงทุนท่ามกลางสภาวะผันผวน คุณบุญนิเศรษฐ์ กล่าวสรุป
คุณดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า ซิตี้แบงก์ได้มีการพัฒนาธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าระดับบนอย่างครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดยวางกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้าระดับบนและการพัฒนาการให้บริการด้านการบริหารความมั่งคั่งแบบครบวงจรสำหรับกลุ่มลูกค้าดังกล่าวผ่านกลยุทธ์ต่าง ๆ ล่าสุดร่วมกับพาร์ทเนอร์ UBS และ JP Morgan นำเสนอกองทุนรวมชั้นนำของโลกเพื่อเพิ่มทางเลือกการกระจายความหลากหลายการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถกระจายการลงทุนได้ในสินทรัพย์ที่มีศักยภาพ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ กองทุน UBS China A Opportunity fund, UBS China Opportunity fund, JP Morgan China Pioneer fund, JP Morgan US Technology fund
นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลแบงก์กิ้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อประสบการณ์การลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าในสถานการณ์ช่วงนี้ที่ลูกค้าอาจจะไม่สะดวกในการเดินทางมาที่สาขาได้เช่นเคย อาทิเช่น พัฒนาฟีเจอร์ Authorization corner หรือ เอกสารการทำธุรกรรมในซิตี้โมบายล์แอปและซิตี้แบงก์ออนไลน์ เพิ่มเติมจากได้เปิดตัวไปในปีที่แล้ว ที่ให้ลูกค้าสามารถยืนยันรายการซื้อขายกองทุนและตราสารหนี้ได้ง่าย ๆ สะดวก รวดเร็ว หลังจากที่ลูกค้าสนทนาแจ้งความต้องการการลงทุนกับผู้ดูแลบัญชีส่วนตัวและเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ลูกค้าสามารถยืนยันการทำธุรกรรมการลงทุน โดยฟีเจอร์นี้ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ในปีนี้ทางธนาคารฯ ก็ได้มีการขยายบริการการยืนยันการธุรกรรมให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเพิ่มเติมบริการในการเปิดบัญชีเงินฝากและการทำธุรกรรมการโอนเงินผ่าน Authorization corner อีกด้วย รวมถึงในอนาคตเราก็มีแผนจะขยายการใช้งานของฟีเจอร์นี้ไปถึงเอกสารประเภทอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้นไปอีก
ทั้งการแลกเงินและโอนเงินไปต่างประเทศเป็นเรื่องง่ายกับซิตี้แบงก์ ลูกค้าสามารถโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารซิตี้แบงก์ได้ทั่วโลกผ่านช่องทางออนไลน์ โดยปลายทางได้รับเงินทันทีและไม่เสียค่าใช้จ่าย และเมื่อเร็วๆ นี้เราได้พัฒนาบริการโอนเงินไปต่างประเทศแบบผ่าน Swift ให้ครอบคลุมถึง 38 สกุลเงิน ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถรู้อัตราแลกเปลี่ยนและจำนวนเงินโอนในสกุลท้องถิ่นที่แน่นอนได้ทันที นอกจากนี้ เรามีบริการซิตี้แบงก์ โกลบอล วอลเล็ท ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถใช้จ่ายจากบัญชีสกุลเงินต่างประเทศได้โดยตรงผ่านบัตรซิตี้แบงก์ เดบิต มาสเตอร์การ์ด ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายออนไลน์หรือในต่างประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนเงินเพิ่มเติม ซึ่งลูกค้าสามารถแลกเงินไว้เพื่อใช้จ่ายได้มากถึง 8 สกุลเงินผ่านซิตี้โมบายล์แอป โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเช่นกัน
ธนาคารฯ ยังได้มีการปรับเปลี่ยนสิทธิพิเศษที่มอบให้กับกลุ่มลูกค้าที่เปิดบัญชีตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563 และลูกค้าปัจจุบันที่ยืนยันตอบรับเอกสิทธิ์ใหม่ผ่านทาง SMS ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และลูกค้ายังคงสามารถใช้สิทธิพิเศษที่ทางธนาคารฯมอบให้ได้อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น เครดิตสำหรับการสั่งอาหารส่งตรงถึงบ้านจากร้านอาหารชื่อดังระดับมิชลินสูงสุด 30,000 บาท/ปี เอกสิทธิ์สำหรับลูกค้าซิตี้โกลด์ อีลีท ที่มีเงินฝากและ/หรือเงินลงทุนกับธนาคารฯ ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป เครดิตเงินคืนจากการชำระค่าบริการผ่าน Grab แอปพลิเคชันในประเทศไทยสูงสุด 1,500 บาท/เดือน และเครดิตเงินคืนสำหรับการใช้จ่ายที่ร้านสตาร์บัคส์ ประเทศไทย สูงสุด 500 บาท/เดือน เป็นต้น คุณดอน กล่าวสรุป
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด