รวม Fake News กรณีไวรัสโคโรน่า เตือนอย่าเชื่อข้อความแชร์ผ่าน Social | Techsauce

รวม Fake News กรณีไวรัสโคโรน่า เตือนอย่าเชื่อข้อความแชร์ผ่าน Social

จากกรณีของไวรัสโคโรน่า หรือโรคปลอดอักเสบที่ระบาดจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน ทำให้ทุกคนต่างตื่นตัวในการติดตามข่าวสาร แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงที่ข่าวสารมีความอ่อนไหว เพราะมักจะมีข้อความ Fake News ที่แชร์ผ่าน Social Network อย่างรวดเร็ว ทั้ง LINE , Facebook Twitter เกิดเป็นความเข้าใจผิด และอาจสร้างความเสียหายได้

Techsauce จึงขอรวบรวม Fake News และเรื่องที่เข้าใจผิดจากกรณีไวรัสโคโรน่า รวมทั้งคำแนะนำในการเสพข่าวในเวลานี้

รวม Fake News ข่าวปลอมกรณีไวรัสโคโรน่า

1. สีจิ้นผิงสั่งใช้กฏหมายสูงสุด วิสามัญโดยเจ้าหน้าที่ (ไม่จริง)

ข่าวนี้มีข้อความที่แชร์กันว่า “การใช้กฏหมายสูงสุดฉบับคำสั่งพิเศษ คือ การรับโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือ ถูกวิสามัญฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ จบตรงนั้นในที่เกิดเหตุ โดยไม่ต้องขึ้นศาล” โดยจากการตรวจสอบนั้นพบว่าเป็นข่าวที่แชร์กันในไทยด้านเดียว ไม่มีสำนักข่าวต่างประเทศยืนยันกรณีดังกล่าว ดังนั้นจึงสรุปว่าเป็นข่าวมั่ว ไม่เป็นความจริง

2. วีดีโอเผยภาพผู้คนล้มทั้งยืนทั่วเมืองอู่ฮั่น (ไม่จริง)

มีการแชร์วีดีโอพร้อมข้อความที่ระบุว่า เป็นประชาชนในอู่ฮั่นที่ล้มทั้งยืนจากการระบาดของไว้รัสโคโรน่า โดยจากการตรวจสอบเป็นวีดีโอที่มีมาก่อนเหตุการณ์ไวรัสระบาดนี้ โดยไม่มีแหล่งข่าวที่สามารถเชื่อถือได้ว่ามาจากเหตุการณ์จริง

3. ไวรัสโคโรน่าทำให้เสียชีวิตทุกรายในเวลาอันสั้น (ไม่จริง)

อัปเดตล่าสุดเที่ยงคืนวันที่ 27 ม.ค. ทางการสาธารณสุขจีนรายงานว่า คณะกรรมาธิการสาธารณสุขแห่งชาติของจีน รายงานจำนวนผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ว่าอยู่ที่อย่างน้อย 80 คน และจำนวนผู้ติดเชื้อรวมฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน แล้ว  2,761 คน ขณะเดียวกันมีผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 51 คน ดังนั้นข้อความที่บอกว่าเสียชีวิตทุกรายในเวลาอันสั้นจึงเป็นการสร้างความแตกตื่นตกใจ ไม่ควรแชร์ต่อ

4. รัฐบาลจีนปิดบังข้อมูล มีคนติดเชื้อ 90,000 หมื่น

มีผู้อ้างว่าเป็นบุคลากรทางการแพทย์จีน อัดคลิปเผยว่ามีผู้ติดเชื้อกว่า 90,000 ราย นั้น มีผู้ออกมาจับผิดว่าเป็นคลิปปลอม ด้วยลักษณะหน้ากากที่สวมนั้นไม่ถูกต้อง และเหมือนกำลังอ่าน Script 

โดยจากการรายงานของทางจีน (เที่ยงคืนวันที่ 27 ม.ค.) มีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 2761 คน และต้องสงสัยราว 5 พันกว่าคน ดังนั้นตัวเลขผู้ติดเชื้อถึง 90,000 ราย หากไม่มีแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ไม่ควรแชร์เรื่องดังกล่าว

5. คำแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ที่อ้างว่า มาจากกระทรวงสาธารณสุข

มีข้อความที่สร้างความเข้าใจผิดที่แชร์ว่า “กระทรวงสาธารณะสุขแจ้งเตือนว่า: ไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้มีความร้ายแรงมาก มีวิธีป้องกันคือ ต้องรักษาความชุ่มชื้นของเยื่อเมือกลำคอ อย่าให้ลำคอแห้ง ดังนั้นห้ามทนกระหายน้ำ เพราะถ้าเยื่อเมือกลำคอแห้ง เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อรู้สึกกระหายน้ำก็ดื่ม ไม่ต้องคำนึงหรือทนกระหายแม้พักนึง แต่ละครั้งให้ดื่มน้ำอุ่น 50-80 ซีซี สำหรับเด็กดื่ม 30-50 ซีซี ควรจะเตรียมน้ำไว้ใกล้มือพร้อมดื่ม ไม่จำเป็นต้องดื่มมากๆ เอาแค่ทำให้เยื่อเมือกลำคอไม่แห้งเป็นใช้ได้ ละเว้นไปสถานที่ที่มีคนหนาแน่นชั่วคราว นั่งรถไฟฟ้าหรือรถโดยสารมวลชน ถ้าจำเป็นก็ให้ใส่หน้ากากอนามัย ของทอดอาหารรสจัดงดรับประทานชั่วคราว กินวิตามินซีให้ครบถ้วน” ซึ่งไม่เป็นความจริง

โดยคำแนะนำที่ถูกต้องในการป้องกันไข้หวัดใหญ่คือ

  1. ฉีดวัคซีนป้องกันปีละ 1 ครั้ง
  2. ล้างมือให้สะอาด ไม่สัมผัสตา จมูก และปาก
  3. ไม่กินอาหารร่วมกับผู้อื่น ใช้ช้อนกลาง และรับประทานของสุก
  4. ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี
  6. หากไอหรือจามต้องปิดปากและจมูก
  7. เมื่อป่วยควรพบแพทย์และหยุดเรียนหรือทำงาน

ทั้งนี้สิ่งที่ผู้อ่านต้องตระหนักการแชร์ Fake News นอกจากสร้างความเข้าใจผิด ยังสร้างความตื่นตระหนัก ดังนั้นควรเช็คข้อมูลข่าวสารก่อนแชร์ต่อ โดย Techsauce ขอแนะนำดังนี้คือ

คำแนะนำในการรับข่าวสาร

  1. หากได้รับข้อความผ่านทาง Social อย่ารีบแชร์ต่อ พิจารณาข้อความที่ได้รับ ว่ามาจากแหล่งข่าวไหน
  2. สังเกตข้อความที่ได้รับ โดยข่าวปลอมมักมีประโยคว่า “โปรดแชร์ข้อความนี้ต่อ” ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน ว่าเป็นข้อความไม่จริง
  3. ให้เช็คข้อความผ่านทางสื่อหลัก หรือค้นหาผ่าน Google ว่าแหล่งที่มาของข่าวนั้นมาจากไหน หรือเช็คจากสื่อต่างประเทศประกอบกัน
  4. เมื่อทราบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ให้เตือนคนที่ส่งมาว่าอย่าแชร์ต่อ พร้อมแนะนำข้อ 1-3
  5. รับข่าวสารจากสื่อหลักที่เชื่อถือได้

ทั้งนี้เรื่องของ Fake News หรือข่าวปลอมนั้นมีตลอดเวลา การเสพข่าวในช่วงเวลานี้ ผู้อ่านต้องวิเคราะห์ให้ดี ตรวจสอบก่อนเสมอ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...