5 สัปดาห์หลังจากคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกาศลงทุน 100 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย ล่าสุดวันนี้ (16 เมษายน 2563) ได้มีการเปิดโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยเป็นวันแรก พร้อมส่งมอบให้กับแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 100,000 ชิ้น โดย Techsauce ได้เข้าร่วมชมการเปิดโรงงานวันแรก และได้สัมภาษณ์คุณธนินท์ถึงการเป็นผู้ให้ในครั้งนี้
คุณธนินท์เปิดเผยว่า “COVID-19 เป็นเรื่องใหญ่ของทั่วโลก เมืองไทยยังควบคุมการระบาดได้ดีแสดงว่าหมอเก่ง จัดการได้ดี ทำให้ติดน้อยและเสียชีวิตน้อย”
ทาง CP เห็นว่าความสำคัญที่สุดคือรักษา ปกป้องหมอ และพยาบาลไม่ให้ติดเชื้อ เพื่อให้มีแรง มีพลังไปรักษาประชาชน หลายๆประเทศหมอและพยาบาลท้อ ดังนั้นหน้ากากอนามัยจึงสำคัญยิ่ง ต้องทำให้ทุกโรงพยาบาล โดยได้มีการบริจาคผ่านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ซึ่งจะมีกำลังการผลิตไม่น้อยกว่า 3 ล้านชิ้นต่อเดือน
ด้านศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เปิดเผยว่า หน้ากากอนามัยมีความสำคัญต่อบุคลากรทางการแพทย์ ในอดีต ถ้ามีสงคราม แพทย์และพยาบาลอาจเป็นทัพหลัง
แต่วิกฤตครั้งนี้หมอและพยาบาล เป็นทัพหน้า เมื่อป้องกันตัวเองได้ ก็จะมีกำลังและมีแรงในการต่อสู้กับข้าศึกที่มองไม่เห็นว่าจะมาเมื่อไหร่ โดยหน้ากากอนามัยสามาระสร้างอาวุธหรือเกาะให้กับแพทย์หรือบุคคลากรทางการแพทย์ได้
คุณธนินท์ยังเผยถึงคุณค่าของการให้ที่มีต่อสังคม และหัวใจของผู้ให้ โดย CP มีวัฒนธรรม ค่านิยมองค์กร 6 ประการ คือ
ซึ่งการมอบหน้ากากอนามัยนี้ เป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับประชาชน ซึ่งเราจะเห็นได้เสมอมาว่า คนไทยมีน้ำใจ หมอมีน้ำใจ คนไทยมีวัฒนธรรมที่มีน้ำใจ ช่วยเหลือคน ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ต้องช่วยกัน
การผลิตในครั้งนี้จะไม่ใช้คน เพราะเราตั้งใจที่จะมอบให้ประชาชน หมอ และพยาบาล ถ้าเราใช้คนเยอะและในจำนวนคนนี้อาจมีไวรัส COVID-19 ก็จะทำให้โรคนี้กระจายไป เนื่องจากมันสามารถอยู่บนสิ่งของได้หลายวัน เราจึงมีการกรองฝุ่นที่ระบบนั้นเหมือนกับห้องผ่าตัดของโรงพยาบาล โดยจะมีพนักงานเข้าไปเพียงคนเดียวต่อกะหนึ่งเท่านั้น และจะมีวิศวะกรดูแลเครื่องจักร 24 ชั่วโมง เพื่อที่จะซ่อมบำรุงได้อย่างทันท่วงที
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ เล่าว่า ความช่วยเหลือนี้จะทำให้พวกเรานั้นฝ่าฟันวิกฤตินี้ไปอย่างเร็วที่สุด และในบทบาทของการเป็นแพทย์ พยาบาลที่เป็นผู้รับ เราก็รู้สึกทราบซึ้งที่ได้มองเห็นประโยชน์และก็บทบาทของพวกเราในการที่ช่วยป้องกันฝ่าฟันวิกฤติ แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ประชาชนไทยทุกคนต้องร่วมมือกัน อย่าพึ่งหมออย่างเดียว อย่าพึ่งผู้บริหารอย่างเดียว และอย่าพึ่งส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งอย่างเดียว เราจะต้องร่วมกันในการที่จะป้องกันให้โรค COVID-19 นั้นยุติโดยเร็วที่สุด รวมถึงการที่ทุกท่านนั้นปฎิบัติตามสิ่งที่เราแนะนำก็จะเป็นการช่วยชาติอย่างดีอีกด้วย และเมื่อวิกฤติผ่านพ้นไปแล้ว ประเทศของเราก็จะเป็นประเทศที่พัฒนามากขึ้น
คุณธนินท์เผยถึงการดูแลพนักงานนั้นคือ หนึ่งเราจะไม่ปลดพนักงาน สองเราจะต้องดูแลพนักงานของเราไม่ให้ติดไวรัส COVID-19 ในส่วนของเซเว่นเรายังมีการเพิ่มพนักงานอีก 20,000 คน เพื่อที่จะจัดส่งสินค้าถึงบ้านฟรีในระหว่างที่ประชาชนกักตัวอยู่บ้าน
หลังวิกฤติจะต้องมีโอกาส เราจะต้องเตรียมพร้อม เตรียมคน เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุค 4.0 สิ่งสำคัญคือรักษาไม่ให้คนของบริษัทไม่ตกงานและเตรียมพร้อมให้พวกเขานั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีก อย่างเช่น รัฐบาลมีคำสั่งให้ปิด พนักงานของคุณมีอยู่ ลูกค้าคุณก็มีอยู่ ครัวของคุณมีอยู่ คุณก็ปิดร้านแล้วก็เปลี่ยนมาส่งถึงบ้าน อย่าไปปลดพนักงานออก เอาพนักงานไปส่งถึงบ้านเพราะทุกคนยังต้องกินต้องใช้อยู่ แล้วพอหลังจากวิกฤติลูกค้าเหล่านี้จะออกมาแล้วมาอุดหนุนคุณอีก
ธุรกิจจำพวกค้าปลีกค้าอาหารจะเสียหายน้อยที่สุด ถ้าทำดี และการอาจจะมียอดขายเพิ่มมากขึ้น แต่บางธุรกิจก็ต้องยอมรับว่าลำบาก เช่น ธุรกิจโรงแรม เงินเดือนพนักงานก็ต้องจ่าย ลูกค้าก็ไม่รู้ว่าจะกลับมาอีกเมื่อไหร่ ในยามเช่นนี้ รัฐต้องช่วยพวกเขา รัฐต้องช่วยให้พวกเขาอยู่รอดซึ่งก็เท่ากับรัฐอยู่รอด อย่าไปคิดว่านักธุรกิจไม่เกี่ยวกับรัฐบาล หรือเอื้อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจ ภาษีมาจากไหน? ถ้าเราไม่ส่งเสริมให้นักธุรกิจให้อยู่รอด นักธุรกิจก็ไม่คงการจ้างงาน ภาษีของรัฐก็จะมีปัญหา ดังนั้นเราก็จะต้องช่วยกันให้อยู่รอด
“ผมมีกำลังใจมาก มืดที่สุดมันก็ต้องสว่าง มันไม่มีวันมืดไปตลอด อยู่ที่ว่าตอนสว่างแล้วเราจะทำอะไร ส่วนในเวลาที่สถานการณ์ราบเรียบที่สุด ก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับวิกฤตอยู่เสมอ สำคัญที่สุดคือ รักษาพนักงานไว้ เตรียมคนให้พร้อมและมีประสิทธิภาพสูง มันจะไม่มีอะไรเสียหาย”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด