แพทย์จุฬาฯ คิดค้น COVID-19 SCAN หาเชื้อโควิดโดยเก็บน้ำลาย เข้าเครื่องสแกน เพิ่มความไวและประสิทธิภาพตรวจเชิงรุก | Techsauce

แพทย์จุฬาฯ คิดค้น COVID-19 SCAN หาเชื้อโควิดโดยเก็บน้ำลาย เข้าเครื่องสแกน เพิ่มความไวและประสิทธิภาพตรวจเชิงรุก

ปัจจุบันวิธีตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 ใช้เทคนิค real-time PCR โดยการเก็บสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก แล้วเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม เทคนิคดังกล่าวสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสปริมาณน้อยได้ ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตาย และมีแม่นยำสูง อย่างไรก็ตาม real-time PCR ก็มีค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง บุคคลกรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งส่วนมากอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น จึงทำให้การตรวจหาเชื้อไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

รศ.ดร.สัญชัย พยุงภร ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณะผู้วิจัย จึงพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 หรือ COVID-19 SCAN ที่สามารถคัดกรองเชื้อได้จากตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ  (Nasopharyngeal swab/Throat swab) และตัวอย่างน้ำลายที่ผ่านกระบวนการสกัดสารพันธุกรรมและการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมภายใต้อุณหภูมิเดียว (isothermal amplification) หากตรวจพบเชื้อโควิด-19 จะเรืองแสง ภายใต้เครื่องกำเนิดแสงสีฟ้า (Blue light transilluminator) 

ข้อดีของนวัตกรรม COVID-19 SCAN คือ ราคาถูก ใช้งานง่าย รวดเร็ว มีความจำเพาะ 100% ความไว 96.23% และมีความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัย 98.78% ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเทคนิค real-time PCR ที่เป็นวิธีมาตรฐานที่องค์กรอนามัยโลกแนะนำ นอกจากนี้ยังเหมาะกับการตรวจเชิงรุกและการตรวจเป็นประจำ เพื่อประเมินความเสี่ยงกลุ่มคนนั้น ๆ อีกทั้งยังสามารถตรวจโควิดสายพันธุ์ alpha, beta และ delta ได้ แม้จะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสายพันธุ์ใด ทั้งนี้หากพบผลเป็นบวก จำเป็นต้องยืนยันผลด้วยด้วยวิธี real-time PCR อีกครั้งหนึ่ง

นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 COVID-19 SCAN มีความพร้อมของเทคโนโลยีระดับ 8 (Technology Readiness Level; TRL8) และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บริษัทไมโคร อินเจคชั่น จำกัด (ประเทศไทย) เพื่อพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยจนเกิดเป็นนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริงและเกิดประโยชน์เชิงสังคมและเชิงพาณิชย์

ปัจจุบันมีการนำ COVID-19 SCAN ไปใช้ในหลายพื้นที่ เช่น  

  • หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ใช้ตรวจคัดกรองโรค COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยโรคไตก่อนที่จะเข้ารับการฟอกไต (hemodialysis) 

  • ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ใช้ประจำหน่วย HIV-NAT เพื่อตรวจคัดกรองโรค COVID-19 ในกลุ่มอาสาสมัครผู้ติดเชื้อ HIV หลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนในผู้ป่วยโรคเอดส์

  • กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ตรวจคัดกรองโรค COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยก่อนที่จะเข้ารับการรักษาด้านทันตกรรม

อย่างไรก็ตามชุดตรวจ COVID-19 SCAN ไม่มีจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป เนื่องจากจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และต้องทำการตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น

อ้างอิง: covidscan.tech

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อัปเดต 2025 มัดรวม 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ขอใบขับขี่สากลผ่าน ‘เป๋าตัง’

ขอใบขับขี่สากลง่าย ๆ ปี 2025 แค่ 4 ขั้นตอนผ่านแอป ‘เป๋าตัง’ ไม่ต้องไปขนส่ง พร้อมเลือกอนุสัญญาและรอรับเอกสารถึงบ้าน สะดวก รวดเร็ว ใช้ขับรถต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง!...

Responsive image

ทำความรู้จัก Gen Beta ผู้ไม่รู้จัก ‘โลกในยุคไร้ AI’ เจนเนอเรชั่นกำเนิดใหม่ของปี 2025

เจเนอเรชัน Beta (Gen Beta) กำลังจะเป็นกลุ่มใหม่ที่เกิดในปี 2025-2039 พวกเขาเติบโตในโลกที่ AI และเทคโนโลยีเชื่อมโยงชีวิตอย่างสมบูรณ์ พร้อมรับมือกับความท้าทายระดับโลกและเน้นความยั่งย...

Responsive image

EU เริ่มกฎบังคับใช้พอร์ตชาร์จ USB-C ตั้งเป้าลดขยะอิเล็กทรอนิกส์

หลังจากที่สหภาพยุโรป หรือ EU ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้านการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการเคลื่อนไหวด้านกฎบังคับให้ใช้พอร์ตชาร์จเดียวกันสำหรับทุกอุปกรณ์มาตั้งแต่ปี 2022 ล่าสุดกฎหมายดังกล่าว...