Poladrone รับเงินลงทุนในรอบ Seed 4.29 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมโดรนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

Poladrone รับเงินลงทุนในรอบ Seed 4.29 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมโดรนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“โพลาโดรน” สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดรน ได้รับเงินลงทุนในรอบ Seed                                4.29 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมโดรนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การขาดแคลนแรงงานเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 เร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในมาเลเซีย     เร็วยิ่งขึ้น ขณะที่ไทยมีแผนเพิ่มบุคลากร 3 เท่า เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การขยายตัวทางธุรกิจ สู่ระดับสากล  

โพลาโดรน ผู้ให้บริการโซลูชั่นโดรนแบบครบวงจร ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในมาเลเซียและไทย ได้รับเงินลงทุนในรอบ seed 4.29 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 140 ล้านบาท นำโดย  เวฟเมคเกอร์ พาร์ทเนอร์ส  (Wavemaker Partners) หนึ่งในบริษัทร่วมลงทุนชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นักลงทุนรายอื่นที่เข้าร่วมลงทุนในรอบนี้ ได้แก่ มาเลเซียน เทคโนโลยี ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น (Malaysian Technology Development Corporation หรือ MTDC) กองทุนเพื่อการลงทุนเชิงกลยุทธ์ที่มีรัฐบาลมาเลเซียถือหุ้นทั้งหมด บริษัท ZB แคปปิตอล จำกัด (ZB Capital Limited) บริษัทที่ดำเนินธุรกิจการลงทุนในประเทศฮ่องกง นางสาว ซุย หลิง เชีย (Sui Ling Cheah) พันธมิตรดำเนินงานของเวฟเมคเกอร์ พาร์ทเนอร์ส  และนักลงทุนอิสระอีกหลายราย

 เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 โพลาโดรน เปิดตัว Oryctes   โดรนเกษตรเพื่อใช้ในการฉีดพ่น (spot spraying) เฉพาะจุดตัวแรกของโลก พร้อมระบบการทำงานแบบอัตโนมัติที่แม่นยำ และมีประสิทธิภาพช่วยแก้ไขปัญหาให้กับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรในท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่   

 ในส่วนของสวนปาล์มน้ำมันนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าด้วงแรด (rhinoceros beetles) เป็นศัตรูตัวฉกาจที่นำความเสียหายมาสู่ต้นปาล์มที่ยังไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อความสามารถในการสังเคราะห์แสงและจำนวนผลผลิตลดลงอย่างมาก ทำให้จำเป็นต้องมีการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงอยู่บ่อยครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นปาล์มเป็นโรค  การฉีดพ่นที่ใช้เครื่องพ่นคันโยกสะพายหลังและรถแทรกเตอร์ติดถังพ่นยานั้นเป็นทั้งการใช้แรงงานจำนวนมากและส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนงาน  การขาดแคลนแรงงานเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 19   เร่งให้การนำเทคโนโลยีมาใช้เร็วยิ่งขึ้นและ โพลาโดรน ได้เพิ่มจำนวนพนักงานขึ้นอีกสี่เท่าจาก 20 คนเป็นกว่า 80 คน ในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี เพื่อรับมือกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้   

 ล่าสุด โพลาโดรน เพิ่งเปิดตัว Mist Drone  โดรนเพื่อการเกษตร ใช้ในการฉีดพ่นครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่เหมาะสำหรับ การปลูกพืชในทุ่งโล่ง เช่น ข้าว อ้อย และข้าวโพด 

 โพลาโดรน เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2561 และได้สร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งกับผู้ใช้บริการโดรนในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม  การเปิดตัวของ Mist Drone ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาวนาทั่วประเทศ และด้วยการระดมทุนครั้งนี้ บริษัทฯ วางแผนที่จะเพิ่มจำนวนบุคลากรในประเทศไทยขึ้น 3 เท่าภายในปีหน้าเพื่อเป็นการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดต่างประเทศ  

 นาย เฉิน จิน ซี ( Cheong Jin Xi (JX) ) ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โพลาโดรน กล่าวว่า “การระดมทุนรอบนี้จะช่วยให้เราสามารถขยายการดำเนินงานเพื่อมอบการบริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้าในภูมิภาค และดึงดูดบุคลากรผู้มีความสามารถระดับหัวกะทิมาร่วมงานกับเราเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราให้ดียิ่งขึ้นต่อไป” 

 โพลาโดรน กำลังจัดตั้งศูนย์บริการ (Service Centres) ในเมืองเกษตรกรรมเพื่อนำเสนอการบริการด้าน “การขาย, การให้บริการ และ อะไหล่” (Sales, Service, and Spare Parts) ทั้งในประเทศมาเลเซียและไทย และกำลังมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดอื่นในภูมิภาคโดยเฉพาะในประเทศอินโดนิเซีย นอกจากนี้ ศูนย์บริการยังจะทำหน้าที่ในฐานะศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Centres of Excellence) ที่ให้การฝึกอบรมและแบ่งปันองค์ความรู้ของภาคอุตสาหกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้    

 “ลูกค้าหลายรายของเราต้องพึ่งพาโดรนในการประกอบอาชีพ และการหยุดทำงานย่อมสร้างความยากลำบากในการดำรงชีวิตให้กับพวกเขา เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเมืองใหญ่ ศูนย์บริการของเราจะมอบการบริการที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นแก่ลูกค้าเพื่อความรวดเร็วในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับทีมงานของ เวฟเมคเกอร์ และ เอ็มทีดีซี ผู้ซึ่งมีวิสัยทัศน์เฉกเช่นเดียวกัน นั่นคือความต้องการของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจของเรา” นายเฉิน กล่าวเสริม

 “เป็นเรื่องที่น่าทึ่งที่ได้เห็นแนวทางการทำงานของทีม โพลาโดรน  ในการสร้างโซลูชั่นที่ปรับใช้เข้ากับระดับท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และปรับใช้เข้ากับพื้นที่เพาะปลูกได้ทุกขนาด  ปัจจุบัน โพลาโดรน  ทำงานร่วมกับ 8 ใน 10 สวนปาล์มที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ซึ่งเป็นผลงานที่น่าประทับใจที่ทำให้เรามั่นใจที่จะให้การสนับสนุนทีมงานและวิสัยทัศน์ของพวกเขาในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทางการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”   นายเกวิน ลี (Gavin Lee) นักลงทุน (General Partner)  เวฟเมคเกอร์ พาร์ทเนอร์ส กล่าว 

 นายแอรอน ชินด์เล่อร์ (Aron Schindler) กรรมการผู้จัดการ โพลาโดรน ประเทศไทย เปิดเผยว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้ขยายทีมงาน ผลิตภัณฑ์ และธุรกิจของเราไปทั่วภูมิภาคเพื่อเป็นการเร่งผลักดันการนำโดรนทางการเกษตรอันทันสมัย ที่ใหม่ล่าสุดมาใช้ อาทิ Oryctes และ Mist drones” 

 “เกษตรกรรม เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย โดยมีการจ้างงานประมาณร้อยละ 40 ของแรงงานทั้งหมดในประเทศ  ด้วยนโยบายการพัฒนาเศษฐกิจของประเทศที่มุ่งเน้นการเกษตร 4.0 เรากำลังจะได้เห็นการเติบโตอย่างมากของการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ระบบอัตโนมัติและโดรน  ด้วยศักยภาพของทีมบุคลากร เงินทุน และผลิตภัณฑ์ ทำให้ โพลาโดรน อยู่ในจุดที่พร้อมให้การสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ส่งเสริม และพัฒนาให้อุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่” นายแอรอน ชินด์เล่อร์ กล่าวทิ้งท้าย 

เกี่ยวกับโพลาโดรน

โพลาโดรน ก่อตั้งขึ้นในปี 2559 เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นโดรนแบบครบวงจร เพื่อลดความเสี่ยง อันตรายและความซับซ้อนของการดำเนินงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นเทคโนโลยีโดรนอิสระที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมและการบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศมาเลเซียและประเทศไทย ให้บริการในภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อาทิ เกษตรกรรม การประกอบกิจการ การบริการและสถาบันการศึกษา  

เกี่ยวกับเวฟเมคเกอร์ พาร์ทเนอร์ส 

เวฟเมคเกอร์ พาร์ทเนอร์ส คือบริษัทร่วมลงทุนในกิจการขั้นแรกเริ่มของกิจการ และดีพเทค สตาร์ทอัพ (Deep Tech Startup) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นับตั้งแต่ปี 2555 บริษัทฯ ให้การสนับสนุนมากกว่า 140 บริษัท โดยกว่า 120 แห่ง (ร้อยละ 85) เป็นธุรกิจด้านกิจการและ ดีพเทค  (Deep Tech) บริษัทฯ มีมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดภายใต้การจัดการของบริษัท 180 ล้านเหรียญสหรัฐจาก 3 กองทุน (Asset Under Management) และเห็นการ Exit ของสตาร์ทอัพ 10 บริษัทที่มีมูลค่าเกือบ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ สตาร์ทอัพที่ได้ Exit ล่าสุด ได้แก่ การซื้อกิจการของ TradeGecko โดย Intuit และการซื้อกิจการของ  Moka และCoins.ph โดย Gojek ปัจจุบัน ร้อยละ 70 ของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ที่ เวฟเมคเกอร์  ได้ร่วมลงทุนนั้นได้ดำเนินธุรกิจไปในทิศทางเดียวกับแผนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติอย่างน้อยหนึ่งข้อ ได้แก่ Borneo, ecoSPIRITS, eFishery, Growsari, GudangAda และ Silent Eight

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Apple ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ตั้งเป้าสู่ Net Zero ในปี 2030

Apple เผยรายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม และประกาศปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2024...

Responsive image

สร้างวิดีโอสมจริง ใช้แค่รูปนิ่งกับคลิปเสียง รู้จักโมเดล VASA-1 ที่ Microsoft กำลังวิจัย

แค่ใช้รูปถ่ายกับคลิปเสียง ก็สามารถสร้างวิดีโอของเราได้แบบสมจริง ด้วยโมเดล VASA-1 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ต้องบอกว่าทั้งน่าทึ่ง น่าประทับใจ และน่ากลัวด้วย...

Responsive image

เข้าสู่ยุค AI TV ซัมซุงตอกย้ำผู้นำตลาดทีวีทั่วโลก เปิดตัว​ Samsung AI TV เจาะกลุ่มพรีเมี่ยม

ซัมซุง เปิดตัว Samsung AI TV จัดเต็ม 6 ไลน์อัป อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเจาะเซกเมนต์พรีเมี่ยม...