กลุ่มดุสิตธานี เผยผลประกอบารไตรมาส 1/2564 พลิกมีกำไรสุทธิ 74 ล้านบาท มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,311 ล้านบาท หลังปรับกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจ กระจายการลงทุนไปยังธุรกิจอาหารและธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พร้อมบริหารจัดการโครงสร้างทางการเงิน
บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC เผยผลประกอบการไตรมาส 1/2564 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 1,311 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากไตรมาส 1 ปี2563 เนื่องจาก บริษัทมีรายได้จากธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้นจากการขยายธุรกิจของธุรกิจการให้บริการจัดการ อาหารแก่โรงเรียนนานาชาติ กำไรจากการขายเงินลงทุนของบริษัทร่วมทุนแห่งหนึ่งในโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ซึ่งเป็นไปตามแผนงานระยะยาวที่ได้วางไว้ล่วงหน้าและกำไรจากการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน (NRF) ซึ่งเป็นผลจากการปรับกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจของบริษัทที่กระจายการลงทุนไปยังธุรกิจอาหารและธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และจากการบริหารจัดการโครงสร้างทางการเงินที่บริษัทได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการบริหารประสิทธิภาพของทรัพย์สินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ บริษัทยังคงนโยบายการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด ทำให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายคงที่ลงร้อยละ 26จากไตรมาส 1 ปี 2563 ส่งผลให้ในไตรมาส 1ปี 2564 บริษัทมีกำไรสุทธิ 74 ล้านบาทเทียบกับขาดทุนสุทธิ 82 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน และมี EBITDA 545ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 126.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ ธุรกิจการท่องเที่ยวทั่วโลกยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส าหรับประเทศไทย การระบาดรอบที่ 2 ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2563 ส่งผลให้รายได้จากธุรกิจโรงแรมของบริษัทในไตรมาส 1 ปี2564 ลดลงร้อยละ 50.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดังนั้น ในเดือนมีนาคม 2564 บริษัทจึงได้เริ่มบริหารโรงแรมภายใต้รูปแบบ White Label Hotel Managed by Dusit จำนวน 1แห่งที่จังหวัดเชียงใหม่ (151 ห้อง) และในไตรมาส 1 ปี2564 Elite Havens ได้ปรับพอร์ตการรับบริหารวิลล่าในประเทศอินโดนีเซียเพื่อเพิ่มรายได้ต่อหลังและรายได้รวมของ Elite Havens ในอนาคต ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2564 บริษัทมีจำนวนโรงแรมและวิลล่าภายใต้การบริหารจัดการรวม 329 แห่ง (เป็นโรงแรม 44 แห่งและวิลล่า 285แห่ง) รวมจำนวนห้องพัก 11,509 ห้อง
นอกจากการปรับ Business Model ข้างต้นแล้ว บริษัทยังบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Model) เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน ปรับพอร์ตทรัพย์สินและเงินลงทุนเพื่อรับรู้กำไร (Asset Optimization) เพื่อให้บริษัทสามารถเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเพื่อรองรับสถานการณ์ในปัจจุบันและในระยะยาว (Financial Resilience)
สำหรับการปรับโครงสร้างองค์กร (Organization Model) ยังเป็นกลยุทธ์ที่ดำเนินการต่อเนื่องตามแผนงาน เป็นการ Transformation ในส่วนขององค์กร บุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อทำให้องค์กรมีความกระชับขึ้น คล่องตัวขึ้น และใช้เป็นคลัสเตอร์ โมเดล ที่พนักงานสามารถทำงานได้หลายหน้าที่ และสามารถแบ่งปันทรัพยากรในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยในด้านการประหยัดต้นทุนรวมถึงค่าใช้จ่ายในอนาคต
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด