เริ่มตอนนี้ทันไหม? คู่มือการทำ PDPA สำหรับ SMEs และ Startup ใน 10 นาที | Techsauce

เริ่มตอนนี้ทันไหม? คู่มือการทำ PDPA สำหรับ SMEs และ Startup ใน 10 นาที

ตอนนี้เหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 เดือนก่อนที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 หรือ PDPA จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 พ.ค.นี้ องค์กรหรือบริษัทใหญ่ๆก็ได้เริ่มเตรียมการพร้อมในการจัดระบบและให้ความรู้กับพนักงานไปแล้ว หลายๆแห่งมีทีมกฎหมายของตัวเองก็หมดห่วงกันไป แต่ SMEs และ Startup เล็กๆที่ไม่ได้มีกำลังทุนมากมายไปจ้างคนภายนอก และยิ่งหากช่วงนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะทำอย่างไรกันดี?

โดยในบทความนี้เราจะรวบรวม 3 ขั้นตอนสั้นๆที่จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการนั่งหาข้อมูลเพิ่มเติม และสามารถสร้าง Policy ของคุณเองภายใน 10 นาทีเพราะตอนนี้เวลาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราเชื่อว่าก่อนที่คุณจะเข้ามาอ่านบทความนี้ คุณคงทำความเข้าใจมาพอสมควรแล้วว่า PDPA นั้นคืออะไร ดังนั้นก่อนจะเริ่มลงมือ เราจะมาเข้าใจให้ตรงจุดถึงปัญหาความยากง่ายในการจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัวกันก่อน

ทำไม PDPA ถึงต้องใช้เวลาในการจัดทำ?

1. ผู้ประกอบการ ธุรกิจ หรือเว็บไซต์ต่างๆ อาจใช้ Policy คนละฉบับกัน

• Policy ของแต่ละเว็บไซต์ต้องครอบคลุมที่ตั้งและฐานลูกค้าของตัวเอง
• หากคุณขายสินค้าในไทยให้ลูกค้าชาวไทย คุณสามารถอิงแค่กฎหมาย PDPA แต่หากคุณมีกลุ่ม  ลูกค้าชาวยุโรปคุณอาจจะต้องอิงกฎหมาย GDPR ของสหภาพยุโรปด้วย

2.  จะทำยังไงให้เนื้อหาครอบคลุม ในเมื่อ Policy แต่ละฉบับเนื้อหาไม่เหมือนกัน?

• ถ้า Policy คุณต้องอิงตามกฎหมาย 2 ประเทศขึ้นไป คุณควรรวบรวมเนื้อหาทั้งหมดอยู่ในฉบับเดียวเพื่อความสะดวกของผู้เข้าใช้เวลากดให้ความยินยอม
• ดังนั้นคุณต้องหาให้เจอว่ากฎหมายทั้งสองประเทศข้อไหนต่างกัน เหมือนกัน หรือข้อไหนที่อีกฉบับไม่มีเลย และนำมาเรียบเรียงอีกที
• เรามีตัวอย่างข้อแตกต่างบางจุดในเนื้อหาของ Privacy Policy ที่อิงตามกฎหมายคนละประเทศในรูปด้านล่าง

3. เพราะ PDPA ไม่ใช่แค่ Copy และ Paste ก็จบ

• คุณไม่สามารถนำ Policy ของเว็บไซต์อื่นมาใช้ได้ ถึงจะมีฐานลูกค้าและที่ตั้งแบบเดียวกัน
• เนื้อหาของ Policy ต้องเป็นไปตามลักษณะของธุรกิจ ซึ่งจะมีผลต่อระยะเวลาในการเก็บข้อมูลของลูกค้าคุณอีกด้วย
• รายละเอียดเล็กๆในแต่ละฉบับก็แตกต่างกัน เช่น ข้อมูลการติดต่อผู้ควบคุมข้อมูลของคุณ วิธีที่คุณจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้เว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งอีเมลที่คุณใช้เพื่อยกเลิกการรับข่าวสาร

เมื่อคุณเข้าใจว่าการทำ PDPA นั้นมีจุดที่ยากและเสียเวลาตรงไหนแล้วบ้าง เรามาดูกันเลยว่าคุณจะสามารถทำทุกอย่างนี้ให้เสร็จภายในเวลาไม่ถึง 10 นาทีได้อย่างไร

EASY PDPA (www.easypdpa.com) เป็นเว็บไซต์ที่เราจัดทำขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ซึ่งอาจไม่ได้มีทุนทรัพย์ไปจ้างบริษัทภายนอกจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้เรายังเน้นเรื่องความไว ภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที คุณจะได้นโยบายความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์คุณไปใช้ทันที ดังนั้นคุณไม่ต้องมานั่งกังวลแล้วว่า เหลืออีกไม่ถึง 1 เดือนจะทำทันไหม เพราะยังไงก็ทันแน่นอน แถมยังเหลือเวลาให้คุณไปวางระบบการขายและแพลนด้านการตลาดแทน

3 Steps ในการสร้าง Policy ของคุณ แค่คลิก พิมพ์ จบ!

  1. เลือกแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับธุรกิจคุณ
    สิ่งแรกที่คุณต้องรู้คือ บริษัทคุณต้องจัดข้อมูลอิงตามกฎหมายพื้นที่ใด แทนที่คุณจะต้องเสียเวลาไปนั่งหาข้อมูลเอง คุณเพียงแค่ตอบแบบสอบถามของเราแค่ 4 ข้อเท่านั้น เราจะบอกคุณทันทีว่าคุณต้องใช้แบบฟอร์มฉบับไหนและเริ่มสร้างให้คุณทันที

  2. เตรียมข้อมูลบริษัทคุณให้พร้อมและเริ่มสร้าง Policy เลย!
    เปลี่ยนเนื้อหา Policy ให้ตรงกับธุรกิจของคุณ หลังจากคุณตอบแบบสอบถาม เพียงแค่คลิกปุ่ม “เริ่มสร้าง Policy” เราจะให้คุณกรอกข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลาคุณควรเตรียมรายละเอียดเช่น ชื่อการจดทะเบียนบริษัท อีเมลและข้อมูลการติดต่อพนักงานผู้ควบคุมข้อมูล หากคุณไม่ได้เป็นคนจัดการเว็บไซต์ของคุณ คุณอาจต้องสอบถามรวบรวมจากทีมเทคนิคของคุณว่าพวกเขาจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้เอาไว้ยังไง หรือหากคุณรู้อยู่แล้วคร่าวๆก็ไม่เป็นไร เพราะเรามีตัวเลือกคอยไกด์คุณ
     
  3. เช็คข้อมูลให้ครบถ้วน และดาวน์โหลด Privacy Policy ไปใช้ได้ทันที
    หลังจากที่คุณกรอกข้อมูลและคลิกดำเนินการต่อแล้ว ตรวจดูให้แน่ใจว่าข้อมูลคุณครบถ้วนและถูกต้อง ขั้นตอนตรงนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะหากคุณให้ข้อมูลที่ไม่ตรง เช่น หากคุณเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ไม่ตรงกับที่แจ้งใน Policy คุณอาจได้รับความเสียหายด้านกฎหมายเป็นค่าปรับหรือมากกว่านั้น เมื่อคุณเช็คข้อมูลเรียบร้อยและกด submit คุณก็จะได้ไฟล์ไปดาวน์โหลดทันที!

คุณสามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในการสร้าง Privacy Policy ได้ที่ www.easypdpa.com นอกจากนี้ยังพร้อมบริการ consult ให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการคำแนะนำ หากคุณมีข้อสงสัยสามารถติดต่อเราตลอดเวลาได้ที่ FB Page: EasyPDPA

การสร้าง Policy จะไม่ใช่เรื่องยากและน่ากังวลอีกต่อไป เพราะเราทำให้คุณได้ในไม่กี่นาที

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...

Responsive image

Google เผยเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โตอันดับ 2 ใน SEA มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2567 มูลค่ารวมของสินค้าดิจิทัลหรือ GMV จะเพิ่มขึ้นถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.61 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566...

Responsive image

AMD ประกาศลดพนักงาน ราว 1,000 คนทั่วโลก หวังเร่งเครื่องสู่ตลาดชิป AI

AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กรครั้งสำคัญ โดยจะปลดพนักงานประมาณ 1,000 คน หรือคิดเป็น 4% ของพนักงานทั้งหมด 26,000 คนตามข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสำนักง...