สถานทูตญี่ปุ่นร่วมกับ Glowfish จัดงาน “Blend Batch 1” ในวันที่ 9 ตุลาคม 2019 เพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการรายใญ่และ Startup เข้าด้วยกันผ่านแพลตฟอร์ม “Open Innovation Columbus”
โดยในงานครั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นความร่วมมือระหว่างธุรกิจ และ Startup ทั้งจากไทยและญี่ปุ่น รวมถึงได้เชิญเอาผู้ให้ความรู้ทั้งจากไทยและญี่ปุ่นมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ภายในงาน
พร้อมทั้งมีการบรรยายถึงภาพรวมของวงการ Startup ของไทย และกรณีศึกษาที่เคยเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและไทย และให้โอกาสเหล่า Startup ในการ Pitch ต่อหน้าผู้ตัดสินซึ่งมาจากหลากหลายวงการ
System Stone Startup สัญชาติไทยผู้พัฒนาระบบการทำงานผ่านมือถือให้แก่วิศวกรซ่อมบำรุงในภาคอุตสาหกรรม ช่วยให้การทำงานของวิศกรมีความสะดวกสบายและง่ายยิ่งขึ้น
Enres จากไทยคือผู้นำเทคโนโลยี IoT และ AI มาใช้ในการบริหารจัดการพลังงาน พร้อมให้ข้อมูลผู้ประกอบการในการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกกับการจัดการข้อมูลขั้นสูงเข้ากับระบบออนไลน์ และส่งต่อสู่เจ้าของกิจการ
ABEJA คือแพลตฟอร์มจากญี่ปุ่นที่แก้ไขปัญหาให้กับหลายอุตสาหกรรมผ่านการใช้เทคโนโลยี AI ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและคำนวณข้อมูลจาก Big Data โดยไม่มีการแทรกแซงจากมนุษย์ Naoki Tonogi กรรมการผู้จัดการ ABEJA จากสิงคโปร์ เผยถึง 3 จุดเด่นของ ABEJA
ABEJA สามารถให้บริการกับทุกอุตสาหกรรม บริษัท ได้พัฒนาบริการในระดับสากลและได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากการให้บริการโซลูชั่นกับ AI แล้ว บริษัท ยังผลิตผลิตภัณฑ์ของตนเอง
Skydisc จากญี่ปุ่นคือผู้พัฒนาอุปกรณ์เซ็นเซอร์รวมถึงบริการ IoT ที่ให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยี AI ซึ่งเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงมีปรโยชน์ในการสร้างโรงงานอัจฉริยะ เพราะมีการวินิจฉัยความผิดปกติในเครื่องจักรได้ อีกทั้งเพิ่มอัตราผลตอบแทนและปรับปรุงความแม่นยำของการตรวจสอบอีกด้วย
Giztix แพลตฟอร์ม e-Logistics จากไทยตอบโจทย์ผู้ประกอบการระดับ SME ให้ค้นหาบริการขนส่งได้ทันใจ พร้อมเช็คราคาได้ในทันที ไม่ต้องวุ่นวายโทรสอบถาม พร้อมระบบคำนวณต้นทุนค่าส่ง และสามารถจองใช้บริการผ่านทางแพลตฟอร์มได้เลย
DRVR บริการการจัดการและการวิเคราะห์ขบวนรถขนส่งในเอเชีย หนึ่งใน Startup สัญชาติไทยที่เข้ามาช่วยด้านการขนส่งให้คุ้มค่าที่สุดกับผู้ใช้งาน ผ่านการใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์และ IoT
SmartDrive จากญี่ปุ่น ผู้ให้บริการในการรวบรวมข้อมูลการเดินทางของรถยนต์และอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ จากนั้นนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ โดยบริการมีตั้งแต่ SmartDrive Fleet (การจัดการยานพาหนะแบบ real-time ), SmartDrive Cars (การเชื่อมต่อรถยนต์กับอัตราคงที่สำหรับการใช้งานส่วนตัว),SmartDrive Families (การตรวจสอบผู้สูงอายุ) และบริการสาธารณะ (การทำแผนที่พื้นที่อันตรายและการแบ่งปันการจราจร) นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเซ็นเซอร์รวมถึงไดรฟ์บันทึกข้อมูลและสร้างเส้นทางของตัวเองเพื่อไปจัดเก็บ
GROUND จากญี่ปุ่น หนึ่งในผู้นำเสนอโซลูชั่นโลจิสติกส์ด้วย “โลจิสติกส์อัจฉริยะ” นี่คือสโลแกนของบริษัท ปัจจุบัน Ground ได้สร้างแพลตฟอร์มที่รวมเอาหุ่นยนต์และซอฟต์แวร์ AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านโลจิสติกส์
Ground ได้ใช้ machine learning ที่อ้างอิงจากข้อมูลลูกค้าที่สามารถระบุพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ มาคาดการณ์จำนวนของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตและจำนวนการขาย รวมถึงจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการดำเนินงานโลจิสติกทั้งหมด
Helpster จากไทย บริการช่วยหาพนักงานตามความต้องการของผู้จ้าง ยกระดับตลาดแรงงาน เชื่อมต่อทั้งผู้หางานและผู้จ้างงานเข้าด้วยกัน
Ooca แพลตฟอร์มปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์จากไทย ให้บริการพูดคุยผ่านทาง Video Call พร้อมใช้งานทุกที่ ทุกเวลา
Talentex แพลตฟอร์มผู้ให้บริการด้าน HR ยอดนิยมในไทย บริการเชื่อมต่อผู้หางานและผู้จ้างงานเข้าด้วยกัน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด