ETDA จับมือ Omise พัฒนาระบบยืนยันตัวตนของโครงการ National Digital ID | Techsauce

ETDA จับมือ Omise พัฒนาระบบยืนยันตัวตนของโครงการ National Digital ID

ETDA ลงนามความร่วมมือข้อตกลงกับบริษัท Omise พัฒนาระบบยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Identity Provider - IdP) ให้กับโครงการ National Digital ID อย่างเป็นทางการ โดย Omise จะเชื่อมระบบดังกล่าวเข้ากับ Federated Proxy ของ ETDA เป็นรายแรกของไทย

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. หรือ ETDA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงนามความร่วมมือข้อตกลงกับบริษัท Omise ผู้ให้บริการ Payment Gateway รายใหญ่ในไทย พัฒนาระบบยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Identity provider - IdP) ให้กับโครงการ National Digital ID

จากความร่วมมือในครั้งนี้ Omise จะเป็นผู้ให้บริการระบบยืนยันตัวตน (Identity provider - IdP) รายแรกของประเทศไทย ที่มีการเชื่อมต่อตรงเข้ากับ ETDA ผ่านทาง Federated Proxy อีกด้วย

"ในการ MOU กับ Omise ครั้งนี้ ถือเป็นเอกชนรายแรกที่มีความร่วมมือกับ ETDA อย่างเป็นทางการ ในเรื่อง National Digital ID และเร็วๆ นี้ อาจจะมีเอกชนเข้ามาร่วมมือในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกภาคส่วนพยายามผลักดันในเรื่องนี้"  นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวในแถลงการณ์

ส่วนทาง Omise ระบุว่ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อความร่วมมือในครั้งนี้ และคาดหวังที่จะเห็นความร่วมมือลักษณะนี้จากองค์กรอื่น ๆ อีกเช่นกัน

"เชื่อว่าหากได้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาทํางานร่วมกัน จะสามารถเห็นการนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมมากยิ่งขึ้น" นายอิศราดร หะริณสุต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Omise กล่าวในแถลงการณ์

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2560 โครงการ National Digital ID ได้เผยแพร่ร่าง White Paper สำหรับ Digital ID Platform ของคณะทำงานจัดทำคุณสมบัติทางเทคนิคของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และในช่วงเดือนมกราคม ปี 2561 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ออกประกาศคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และคณะทำงานอีกสามคณะ อีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...

Responsive image

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ลี เซียนลุง ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรั...