EU ปรับกฎ Digital Service Act ควบคุมการทำงาน Big Tech ทั้งหมด | Techsauce

EU ปรับกฎ Digital Service Act ควบคุมการทำงาน Big Tech ทั้งหมด

เมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งสหภาพยุโรปรับรองกฎเกณฑ์ควบคุมบริษัท Big Tech ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยมีสาระสำคัญ คือ การควบคุมกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Meta และ Google ในด้านการกลั่นกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ การแบนการใช้ข้อมูลและระบบเพื่อจัดสรรเนื้อหาที่เป็นการโฆษณาสำหรับผู้ใช้งาน รวมถึงอนุมัติกฎหมายสำคัญ ๆ ที่จะกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อดูแลผู้ใช้งานให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นบนโลกออนไลน์ 

EU ปรับกฎ Digital Service Act ควบคุมการทำงาน Big Tech ทั้งหมดThe EU’s new sweeping rules for Big Tech could soon be reshaped and look different - CNBC

Thierry Breton หนึ่งใน Commissioner for The Internal Market กล่าวว่า "เวลาของแพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่กำลังจะหมดลง” โดยกฎหมายฉบับใหม่กำหนดภาระผูกพันที่ชัดเจนสำหรับกลุ่มบริษัทชั้นนำเหล่านี้ที่ต้องยอมรับในกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป ซึ่งคณะกรรมาธิการจะสามารถกำหนดมาตรการคว่ำบาตรสำหรับผู้ที่ละเมิดกฎเกณฑ์ โดยขั้นร้ายแรงสุด คือ การหยุดดำเนินการภายในสหภาพยุโรป 

จากการเจรจาดังกล่าว ระบุว่า กลุ่มบริษัทต้องเปิดเผยต่อหน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปในรายละเอียดที่เกี่ยวกับ Algorithms ที่จัดการเนื้อหาบนโลกออนไลน์ รวมถึงแนวทางในการจัดการข้อมูล และโฆษณาชวนเชื่อเพื่อทำการควบคุมการแพร่กระจายข่าวปลอม โดยในช่วงต้นปี 2022 สหภาพยุโรปได้อนุมัติร่างกฎหมาย Digital Services Act และ Digital Markets Act เพื่อยกระดับกฎเกณฑ์พื้นฐานสำหรับบริการออนไลน์ทั้งหมดในสหภาพยุโรป โดย Ursula von der Leyen ประธานสหภาพยุโรป กล่าวว่า "จะสามารถมั่นใจได้ว่าสิ่งที่ผิดกฎหมายในรูปแบบที่อยู่เบื้องหลังระบบการใช้งาน จะสามารถถูกดำเนินการเอาผิดได้"

Digital Services Act 

จะควบคุมให้กลุ่มบริษัทเหล่านี้มีความรับผิดชอบต่อความเสี่ยงจากบริการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและประชาชน โดยจะจัดการกับวิธีที่บริษัทต่างๆ ควบคุมเนื้อหาบนแพลตฟอร์มของตน รวมไปถึงการจัดการอิทธิพลทางการตลาดของกลุ่มผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งสหภาพยุโรปได้กล่าวหาถึงการบงการทางระบบที่บังคับให้ผู้ใช้งานคลิกชมเนื้อหา 

ผู้ให้บริการจะต้องมีความโปร่งใสในวิธีการแนะนำเนื้อหาให้กับผู้ใช้ และต้องเสนอข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่เข้าใจได้สำหรับแนวปฏิบัติในการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ทางออนไลน์ตามศาสนา เพศ รสนิยม และความคิดเห็นทางการเมือง รวมไปถึงประเด็นข้อห้ามในการให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บริษัทต่างๆ ทางออนไลน์ระหว่างแพลตฟอร์ม 

การเคลื่อนไหวดังกล่าว ถือเป็นความพยายามยกเครื่องกฎหมายควบคุมการปฏิบัติงานที่สำคัญที่สุดในรอบกว่าสองทศวรรษ โดยคณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป และรัฐสมาชิกที่ร่วมกันเป็นผู้นำในการควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นประเด็นที่ยืดเยื้อสืบเนื่องตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการผูกขาด (Antitrust Enforcement) ที่ช้าเกินไป จากรายงานระบุว่าในเร็ว ๆ นี้ฝ่ายนิติบัญญัติ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สิงคโปร์ จะเป็นประเทศที่ออกมาตรการคล้ายคลึงเพื่อปรับใช้เช่นเดียวกัน

แม้ว่าข้อกำหนดจะได้รับการตกลงโดยรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว แต่ยังคงต้องได้รับการสรุปผลและได้รับการโหวตให้เป็นกฎหมายอย่างเป็นทางการอีกขั้นหนึ่ง โดยจะมีผลบังคับใช้กับทุกบริษัท ในเดือนหลังจากที่กฎหมายได้รับการโหวตอย่างเป็นทางการ หรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 

ที่มา

Google, Meta, and others will have to explain their algorithms under new EU legislation

EU sets new online rules for Google, Meta to curb illegal content

EU approves groundbreaking rules to police Big Tech Platforms

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ฟังวิสัยทัศน์ Microsoft ภายใต้กรอบ FY2025 เพราะ AI คือ โอกาสของไทย ที่ทั่วโลกกำลังเริ่มต้นพร้อมกัน

“AI ก็คือเทคโนโลยีที่คล้ายกับไฟฟ้า เทคโนโลยีที่สร้างโอกาสในวงกว้าง” Microsoft ประกาศนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและ...

Responsive image

Meta เผยโฉมเครื่องมือการตลาด AI พร้อมดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย จับมือ ททท. - กระทรวงพาณิชย์

Meta จัดงาน Meta Marketing Summit 2024 พร้อมเผยโฉมโซลูชัน AI ล่าสุดสำหรับการตลาด และประกาศความร่วมมือสำคัญกับภาครัฐ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจซอฟต์พาวเวอร์ของไทย...

Responsive image

จับตากฏหมาย AI ใหม่ โปร่งใสหรือจำกัดการเติบโต ? สร้างปมเห็นต่าง OpenAI และ Elon Musk

กฏหมาย AI ยังต้องไปต่อ ! เมื่อ OpenAI สนับสนุนร่างกฎหมายของของรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความโปร่งใส ลดข้อมูลที่ผิดพลาดและข้อมูลเท็จที่สร้างความเกลียดชัง...