มุมมอง EVAT ต่อจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สู่ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า | Techsauce

มุมมอง EVAT ต่อจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สู่ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมกับ สมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (Testa) เเละบริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จำกัด  จัดงานเสวนาออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ ZEV@35 ยานยนต์ไฟฟ้า 100 % ปี ค.ศ. 2035 จุดเปลี่ยนสำคัญ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยมีคุณสรรชาย นุ่มบุญนำ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย จำกัด เเละ คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย(EVAT) กล่าวเปิดงานดังกล่าว

ภายในงานเสวนาออนไลน์ ยังได้รับเกียรติจาก คุณพะเยาว์ คำมุข รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมงานเสวนา เเละให้ข้อมูลในประเด็นนโยบาย ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ของประเทศไทยว่า ประเทศไทยต้องการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเเละชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยมีตัวเเปรขับเคลื่อนสำคัญคือ การลดมลพิษทางอากาศ (PM 2.5, NOx, Sox ) การช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เเละ การสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี คุณอดิศักดิ์  พรหมบุญ ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ร่วมงานเสวนาช่วงต้น ในหัวข้อ โอกาสของผู้ประกอบการยานยนต์ไทย กับบทบาทของตลาดทุน ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังคงความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะประเทศไทย มียอดขายรถยนต์ส่งออกจัดอยู่ในอันดับท๊อป 20 ของโลก เเม้ว่าในช่วงปีที่เเล้วจะมีช่วงที่การส่งออก ลดลงไปบ้างจากวิกฤตโควิด19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เเต่ประเทศไทยก็ค่อยๆ กลับมาฟื้นตัวได้เหมือนเดิม อีกทั้งการ Disruption ในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าได้เข้ามามีบทบาทต่อตลาดยานยนต์เป็นอย่างมาก

ในส่วนของงานเสวนายานยนต์ไฟฟ้า (EV ) 100 % ปี 2035 จุดเปลี่ยนสำคัญอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ยังได้รับเกียรติ จากวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านยานยนต์ไฟฟ้า อย่าง รศ.ดร. ยศพงษ์ ลออนวล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าเเห่งชาติ เเละหัวหน้าศุนย์วิจัย Mobility Research & Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าว  “ผมคิดว่า ภาคประชาชนเริ่มตื่นตัว ในเรื่องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าค่อนข้างมาก โดยช่วงการเปลี่ยนถ่ายไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยภาครัฐจะมีบทบาทสำคัญมากเนื่องจากเป็นผู้กำหนดนโยบาย และแก้ไขกฎระเบียบที่ล้าสมัย ส่วนภาควิชาการสามารถมีส่วนช่วย ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากรของประเทศ ในขณะที่ภาคเอกชน จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้งานได้จริง โดยมีราคาที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้งานที่เหมาะสม รวมทั้งการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยให้เร็วที่สุดเพื่อเเสวงหาโอกาสในอุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น” 

ในขณะที่ คุณวรากร กติกาวงศ์ กรรมการบริหาร บจก. ไทยยานยนต์ไฟฟ้า (รถบัสไฟฟ้า TEV) เเละกรรมการบริหารสมาคม ส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (THAI SUBCON) กล่าวว่า “ในประเด็นเรื่องการเปลี่ยนผ่านนั้น ตนคิดว่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายเเละในเร็ววันนี้ เพราะฉะนั้น ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์สันดาป หรือ ICE จะยังคงอยู่กับเมืองไทยไปอีกสักระยะ เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านยังคงต้องใช้เวลา ปัญหาที่น่าสนใจตามมาคือ เรื่องการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้า กับกรมขนส่งทางบก ในประเภทต่างๆ เพราะ ยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนจะต่างกับยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปในหลายมิติ รวมถึงมาตรฐานต่างๆจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ด้วย” 

ด้าน ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล นายกสมาคมเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไทย หัวหน้าทีมวิจัยระบบเทคโนโลยีกักเก็บพลังงงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานเเห่งชาติ สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งชาติ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ จากการที่ทั่วโลกมีแนวโน้มการปรับเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยหากจะรักษาฐานเศรษฐกิจในด้านนี้ก็ต้องปรับตัว ยานยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่เป็นส่วนสำคัญ ในปัจจุบัน มูลค่าของเเบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ในตลาดโลกมีมูลค่าราว 40 - 60 % ต่อรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน ถ้าคำนวณจากมูลค่าตลาดของเเบตเตอรี่ทั้งโลก ในปี 2573 หรืออีก 9 ปีข้างหน้าดาดการณ์ว่าจะมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 90 ล้านล้านบาท จากคำถามว่าประเทศไทยจะทำอย่างไรที่จะไปเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในห่วงโซ่อุปทานดังกล่าว ซึ่งในความเห็นเราสามารถเริ่มได้จากการทำในส่วนปลายน้ำ เช่น การนำแพ็กเข้าไปสู่การประกอบในยานยนต์ การประกอบโมดูลเป็นแพ็ก การประกอบเซลล์เป็นโมดูล ซึ่งจริงๆแล้วประเทศไทยมีพื้นฐานและความสามารถในด้านการทำในส่วนนี้อยู่แล้ว ค่อยๆถอยมาในช่วงต้นของห่วงโซ่คือการผลิตเซลล์ ทั้งนี้การก้าวข้ามการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่นี้จะเป็นจุดตั้งต้นของการเจริญเติบโตทางเทคโนโลยีที่จะต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญในอนาคต”

ส่วนคุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า “ประเทศไทยอยู่ในวงการที่ผลิตเครื่องยนต์สันดาป (ICE) มาอย่างยาวนานมาก จะเห็นได้จากไทย เคยเป็นอันดับที่ 11 ของโลกในด้านการผลิตรถยนต์ เเต่ในอนาคตอันใกล้ ชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์ ระบบสันดาปภายใน จะถูกทดเเทนด้วย มอเตอร์ไฟฟ้าเเละเเบตเตอรี่ โดยเฉพาะเเบตเตอรี่นั้นจะมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทั้งในส่วนของการใช้ยานพาหนะ Mobile battery  เเละสำหรับการกักเก็บพลังงาน Stationary battery เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนี้ เราจึงควรปูทางและสนับสนุนให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างฐานการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ที่มั่นคงเเละยั่งยืน"

งานเสวนาในช่วงสุดท้าย คืองานเสวนา มุมมองการเปลี่ยนเทคโนโลยี สู่ยานยนต์ไฟฟ้า ปี 2035 โดยมี 

คุณอนันตเดช อินทรวิศิษฏ์  ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้า E-Mobility Manager บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย คุณกฤษณะ เศรษฐธรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี โฟตอน เซลส์ จำกัด คุณครรชิต ไชยสุโพธิ์ รองประธานบริษัท เกรทวอล มอเตอร์ ประเทศไทยเเละภูมิภาคอาเซียน คุณพงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มจี เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ทุกท่าน มาให้ความรู้ในมุมมอง ของเทคโนโลยีจากภาคเอกชน ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนการผลิต เพื่อการบริโภคของประชาชนที่เปลี่ยนเเปลงไป ซึ่งในฝั่งภาครัฐสามารถช่วยขับเคลื่อน โดยเริ่มได้จากการสนับสนุนให้องค์กรรัฐ หรือ ภาคขนส่งมวลชน ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...