สมาคมฟินเทคประเทศไทย (Thai Fintech Association) เปิดตัวโครงการ F13 ศูนย์ทดสอบและพัฒนาสตาร์ทอัพด้านฟินเทค พร้อมเปิดตัว 13 ทีมที่เข้ามาอยู่ในโครงการ F13 Batch 1
สมาคมฟินเทคประเทศไทย (Thai Fintech Association) เปิดตัวโครงการ F13 ศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคสตาร์ทอัพที่อยู่ภายใต้สมาคมฟินเทคประเทศไทย ณ อาคาร Knowledge Exchange ถนนกรุงธนบุรี ซึ่งภายในงานได้เปิดตัวสตาร์ทอัพทั้ง 13 ทีมที่เข้ามาอยู่ในโครงการ F13 Batch 1 ได้แก่
ทางสมาคมฟินเทคได้ให้พื้นที่ทั้ง 13 ทีมออกบูธเพื่อเป็นการสื่อสารสิ่งที่ทั้ง 13 ทีมกำลังพัฒนาให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้มากยิ่งขึ้น
โดยโครงการ F13 ศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทค ตั้งอยู่ ณ ชั้น 13 อาคาร Knowledge Exchange Center (KX) ซึ่งมีโมเดลของศูนย์ F13 จะใกล้เคียงกับที่สิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งต้องการทุนสนับสนุนโดยรัฐบาล หรือกระทรวงการคลัง และเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารงาน โดย F13 ตั้งอยู่พื้นที่ขนาด 300 ตารางเมตร บริเวณชั้น 13 อาคาร Knowledge Exchange Center (KX) เป็นแหล่งทดสอบและพัฒนาบริการฟินเทค
โดยทีมงานของสมาคมมีส่วนช่วยเชื่อมต่อกับธนาคารพาณิชย์ระหว่างธนาคารกับผู้ประกอบการฟินเทค เพื่อทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ รวมไปถึงการทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำงานร่วมกับหน่วยผู้กำกับดูแลอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อส่งเสริมให้ขั้นตอนและกระบวนการมีความสะดวกและง่ายมากขึ้น
คุณกรณ์ จาติกวณิช ประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย และคุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ อุปนายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย ได้ร่วมกันนำเสนอวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งโครงการ F13 เป้าหมายของสมาคมในอนาคต สิ่งที่สมาคมต้องการได้จากภาครัฐ ประโยชน์ของการก่อตั้งตั้งโครงการ F13 และสิ่งที่ทางสมาคมให้แก่สตาร์ทอัพในโครงการ F13 ทั้งนี้ทางสมาคมได้เปิดตัว Batch 1 ในโครงการทั้ง 13 ทีม โดยมีตัวแทน 3 ทีม จาก 13 ทีม ขึ้นนำเสนอสิ่งที่กำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งตัวแทน 3 ทีม ดังกล่าว ได้แก่ noon, Talad Invoice และ Zee zave
คุณสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ขึ้นพูดในหัวข้อ "แนวทางการสนับสนุนฟินเทคของภาครัฐ" เพื่อนำเสนอมุมมองในภาครัฐบาลให้แต่ภาคอุตสาหกรรมให้เป็นที่รับรับรู้ทั่วกัน
“สิ่งที่เราทำ ณ ตอนนี้นั้นขึ้นการสร้างรากฐานให้สตาร์ทอัพ และเบื้องต้นเราต้องให้ความรู้ด้านฟินเทคให้แก่ประชาชน ทำให้คลัง National E-Payment ในการทำธุรกรรมทางการเงิน และเราต้องสนับสนุนอะไรบางอย่างในอุตสาหกรรมฟินเทค เพื่อแสดงให้เห็นว่าภาครัฐสนับสนุนประโยชน์ของฟินเทค” คุณสมชัยกล่าว
คุณฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน (รส.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้พูดในหัวข้อ "ฟินเทคและธนาคารในยุคถัดไป" อันเป็นการชี้นำแนวทางการพัฒนาของฟินเทคในยุคถัดไป ซึ่งท่านเห็นว่าโครสร้างดีและได้มาตรฐานเป็นเรื่องจำเป็น มีระบบความปลอดภัยสูงและมีระบบไอทีมีมาตรฐานที่จะสามารถเพิ่มพัฒนาการให้กับฟินเทคในอนาคตได้
“การสร้างพื้นฐานและมาตรฐานที่ผู้ประกอบการจะใช้ร่วมกันได้นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งการสร้างพื้นฐานสำคัญที่ผ่านมานั้นคือการมีเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ อย่างไรก็ตามในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดีคือการมีโครสร้างระบบเปิด และจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันได้” คุณฤชุกรกล่าว
คุณรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้พูดในหัวข้อ การพัฒนานวัตกรรมตลาดทุน เชื่อว่าเทคโนโลยีจะมาเปลี่ยนตลาดทุนไปอย่างสิ้นเชิง โดยฟินเทคไม่ได้เข้ามากระทบเพียงผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในตลาด แต่ยังมากระทบหน่วยงานกำกับด้วย
“ฟินเทคจะสามารถตอบโจทย์ตลาดทุนได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเกิดข้อมูลผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยราคาที่ถูกและมีความปลอดภัยสูง ซึ่งต้องสามารถข้อมูลไปใช้ได้อย่างสะดวก” คุณรพีกล่าว
คุณสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้พูดในหัวข้ออนาคตธุรกิจประกันภัย ซึ่งเป็นเกียรติต่อผู้ฟังทุกท่านมากที่ได้รับความรู้จากท่านครั้งนี้ เทคโนโลยีไม่ได้กระทบแค่ธุรกิจ แต่มีผลกับหน่วยงานกำกับด้วย ซึ่งกฎเกณฑ์ต่างๆ นั้นจะมาช้ากว่าเทคโนโลยีเสมอ
“เทคโนโลยีจะไม่สามารถมาแทนคนได้ในภาคของประกันภัย แต่จะมีส่วนช่วยในการประกอบงานด้านประกันภัยให้มีความง่ายขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยมองว่าเทคโนโลยีไม่ได้มีผลทางภาคธุรกิจอย่างเดียว ซึ่งแน่นอนว่าหน่วยงานกำกับดูแลก็จะเปลี่ยนไป” คุณสุทธิพลกล่าว
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด