สรุปกำไรสุทธิประจำปี 2564 ของ 6 ธนาคารใหญ่ในประเทศไทย | Techsauce

สรุปกำไรสุทธิประจำปี 2564 ของ 6 ธนาคารใหญ่ในประเทศไทย

ผ่านไปแล้วสำหรับปี 2564 ช่วงเวลาถัดไปคือการประกาศผลประกอบการประจำปี ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจกลุ่มแรกๆ ที่จะต้องออกมาแสดงผลงานก่อนใครก็คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ นั่นเอง ซึ่งก็ได้มีการประกาศออกมาเป็นที่เรียบร้อย สำหรับกำไรสุทธิประจำปี 2564 ของกลุ่มธนาคารใหญ่ของไทย 

ในครั้งนี้ Techsauce จึงได้ทำการรวบรวมและสรุปให้เป็นที่เรียบร้อยว่าผลประกอบการทั้งปีของ 6 ธนาคารจะเป็นอย่างไรกันบ้าง ท่ามกลางการดำเนินธุรกิจที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง

ชูผลกำไรปี 64 โต 30% 

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิของปี 2564 จำนวน 35,599 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากความสามารถในการทำกำไรจากของธุรกิจที่ดีขึ้นและการตั้งเงินสำรองที่ลดลง

ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองมีจำนวน 86,795 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.9% จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลของการเติบโตที่แข็งแกร่งของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยและการบริหารค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ กำไรสุทธิสำหรับสำหรับไตรมาสสี่ปี 2564 มีจำนวน 7,879 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58.7% จากงวดเดียวกันของปีก่อน

ในปี 2564 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 95,171 ล้านบาท ลดลง 1.8% จากปีก่อน สาเหตุหลักมาจากอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิลดลงภายใต้สภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำในปัจจุบันและการมุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อที่มีคุณภาพ

ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 55,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.3% จากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลของการรับรู้กำไรตามราคาตลาดในปัจจุบันของพอร์ตการลงทุนของธนาคารและบริษัทในเครือ และการขยายฐานรายได้ที่แข็งแกร่งของธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งและธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์ประกันผ่านธนาคาร

สินเชื่อที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งดันกำไรสุทธิโต 29%

ธนาคารกรุงไทย

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร ปี 2564 เท่ากับ 21,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เฉพาะไตรมาส 4 ปี 2564 มีกำไรสุทธิ 4,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินเชื่อที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งถึงร้อยละ 12.6 จากสิ้นปีที่ผ่านมา  เพิ่มระดับของ Coverage ratio ให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 168.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 147.3 ณ สิ้นปี 2563  เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ  มีการบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดีอย่างต่อเนื่อง  โดยมี NPLs Ratio-Gross อยู่ที่ร้อยละ 3.50 ลดลงจากร้อยละ 3.81 ณ สิ้นปีที่ผ่านมา  โดยธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 32,524 ล้านบาท  แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 27.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  แต่ยังเป็นการตั้งสำรองในระดับที่สูง

ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองและภาษีเงินได้ เท่ากับ  63,055 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงเดียวกันของปีก่อนธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยพิเศษเงินให้สินเชื่อจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนอง 

หากไม่รวมรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองและภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการลดลงของแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย โดยมี NIM เท่ากับร้อยละ 2.49 ทั้งนี้ ธนาคารบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 1.4 ส่งผลให้ Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 45.5 เทียบเท่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ไม่รวมรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ

เงินติดล้อ ปัจจัยหลักดันกำไรโต

ธนาคารกรุงศรีฯ

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) เผยผลประกอบการของปี 2564 มีกำไรสุทธิจำนวน 33,794 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,754 ล้านบาท หรือ 46.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปัจจัยหลักคือกำไรพิเศษจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นใน บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) (เงินติดล้อ) ในไตรมาสที่ 2/2564 หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติในปี 2564 อยู่ที่จำนวน 25,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.1% หรือจำนวน 2,569 ล้านบาท จากปีก่อนหน้า

กำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติในปี 2564 อยู่ที่จำนวน 25,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.1% หรือจำนวน 2,569 ล้านบาท จากปีก่อนหน้า ด้วยฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง พร้อมเดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจและครัวเรือนผ่านมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนภาคธุรกิจสู่การฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิด-19 อย่างยั่งยืน

ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) จากการออกมาตรการช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิในปี 2564  อยู่ที่ 3.24% จาก 3.47% ในปี 2563

เงินให้สินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 3.1% หรือจำนวน 57,441 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2563 สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขยายตัว 6.6% และ 3.9% ตามลำดับ ส่วนเงินรับฝาก ลดลง 3.0% จากสิ้นเดือนธันวาคม 2563 สะท้อนประสิทธิภาพการบริหารจัดการสภาพคล่องเชิงรุก ในการลดสัดส่วนเงินรับฝากประจำ และชดเชยด้วยเงินรับฝากออมทรัพย์และจ่ายคืนเมื่อทวงถาม 

ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 12,243 ล้านบาท หรือ 37.5% จากปี 2563 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นเงินติดล้อ

รายงานผลกำไรปี 64 โต 54%

ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยรายงานกําไรสุทธิสําหรับปี 2564 จํานวน 26,507 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 จากปีก่อน เป็นผลจากการรวมรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารเพอร์มาตาเต็มปี และการลดลงของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากการบริหารต้นทุนเงินรับฝาก 

ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 2.10 สําหรับ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิจากธุรกิจหลักทรัพย์ การอํานวยสินเชื่อ และบริการประกันผ่านธนาคารและกองทุนรวม รวมถึงการเพิ่มขึ้นของกําไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่ วัดด้วยมูลค่ายุติธรรมซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด

ด้านค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการรวมค่าใช้จ่ายของธนาคารเพอร์มาตาทั้งปี โดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดําเนินงานลดลงเป็นร้อยละ 50.0 

นอกจากนี้ ธนาคาร ได้พิจารณาตั้งผล ขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจํานวน 34,134 ล้านบาท จากการพิจารณาปัจจัยผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจํานวน 2,588,339 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากสิ้นปี 2563 จาก สินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่และสินเชื่อกิจการต่างประเทศ สําหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครคิตต่อเงินให้ สินเชื่อรวมลดลงเป็นร้อยละ 3.2 ขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ใน ระดับแข็งแกร่งที่ร้อยละ 225.8

ตั้งสำรองลด ดันกำไร 3.8 หมื่นล้าน 

ธนาคารกสิกร

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิสําหรับปี 2564 จํานวน 38,053 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจํานวน 8,566 ล้านบาท หรือ 29.05% และมีกําไรสุทธิสําหรับไตรมาส 4 ปี 2564 จํานวน 9,901 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากการลดลงของสํารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) จํานวน 3,216 ล้านบาท หรือ 7.38% 

โดยธนาคารและบริษัทย่อยพิจารณาตั้งสํารองฯ ในปี 2564 จํานวน 40,332 ล้านบาท ซึ่งยังคง เป็นสํารองฯ ภายใต้หลักความระมัดระวัง และมีอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อย คุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 159.08% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 ที่อยู่ที่ระดับ 149.19% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจํานวน 7,822 ล้านบาท หรือ 6.13% หลัก ๆ เกิดจากการให้ สินเชื่อใหม่ตามยุทธศาสตร์ของธนาคารแก่ลูกค้าที่มีศักยภาพและมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้า รวมทั้งลูกค้าบางส่วนยังอยู่ภายใต้มาตรการพักชําระเงินต้นและดอกเบี้ย ทําให้ธนาคารต้องมีการบริหารจัดการดอกเบี้ยค้างรับอย่างต่อเนื่อง 

โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.21% สําหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจํานวน 1,910 ล้านบาท หรือ 4.17% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้จากการ จําหน่ายหลักทรัพย์ และรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่ลดลง แม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจํานวน 2,312 ล้านบาท หรือ 7.01% หลัก ๆ จากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน และค่านายหน้ารับจากการซื้อขายหลักทรัพย์ 

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจํานวน 4,103,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2563 จํานวน 444,601 ล้านบาท หรือ 12.15% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนสุทธิ และการเติบโตของเงินให้สินเชื่อที่มี ศักยภาพ รวมทั้งมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้า

กำไรสุทธิ 10,474 ล้านบาท โต 4%

ธนาคารทหารไทยธนชาต 

หลังหักสำรองฯ และภาษี ทีทีบีมีกำไรสุทธิ 10,474 ล้านบาทในปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ร้อยละ 5.1 ด้านสินเชื่อด้อยคุณภาพบริหารจัดได้อยู่ในระดับต่ำที่ 2.81%

สำหรับรายได้ของทีทีบี ที่มีการเติบโตของรายได้ชะลอตัวท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  ที่ยืดเยื้อ ทีทีบีมีรายได้ดอกเบี้ยสำหรับรอบ 12 เดือน ปี 2564 อยู่ที่ 51,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.2 สำหรับปี 2565 วางแผนกลับมาโตสินเชื่อ เพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลและเตรียมนำเสนอบริการด้านการเงินที่ครบวงจรยิ่งขึ้นให้กับลูกค้า

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...