ภาพจาก Pixabay.com
บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์สัญชาติอเมริกันแห่งหนึ่ง ได้มีการตีพิมพ์รายงานยาวถึง 71 หน้า เกี่ยวกับการถือกำเนิดของโมเดลธุรกิจอาหารออนไลน์ออกมา
ในเคสแรกกล่าวถึงบริษัท GoodFood บริษัทผู้ผลิตคอนเทนต์ด้านอาหาร ตั้งเป้าหมายจะผันตัวเองไปสู่การเป็นบริษัทมหาชนด้วยการทำธุรกิจร่วมกับบริษัทเงินลงทุน (Capital Pool Company: CPC) เพื่อให้บรรลุ จุดประสงค์ดังกล่าว..การดำเนินงานส่วนหนึ่งจึงรวมถึงการที่ GoodFood จะต้องวางแผนเพื่อระดมทุนให้ได้อย่างน้อย 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในเคสที่สอง..เป็นรายงานซึ่งเขียนขึ้นโดยกลุ่มนักวิเคราะห์จาก Raymond James (RJ มีบทบาทเด่นใน วงการธุรกิจแคนาดาในฐานะบริษัทนายหน้าหลักทรัพย์ บริษัทจัดการการเงิน และผู้ให้บริการธนาคาร) ซึ่งรู้สึกตื่นเต้นต่อภาคส่วนธุรกิจใหม่ที่กำลังจะพลิกโฉมวิธีการซื้อ เตรียม และบริโภคอาหาร ของผู้บริโภคให้แตกต่างไปจากเดิม
“ตลาดผู้บริโภคขนาดมหึมาสร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับหลายๆ บริษัทในวงการนี้” รายงานกล่าวโดย อ้างอิงจากข้อมูลการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ ที่ใช้จ่ายเงินเพื่ออาหารคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 25 ของ การใช้จ่ายทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนเงินสุทธิสูงถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญ
กล่าวอีกแง่หนึ่งคือขณะที่ธุรกิจอาหารออนไลน์เพิ่งเริ่มเข้าถึงผู้บริโภคนั้น..โอกาสของมันยังคงมีมากมาย มหาศาล แต่อย่างไรก็ตาม..รายงานได้มีการกล่าวถึงข้อควรระวังในแง่ของความแตกต่างของโอกาสระหว่าง 4 รูปแบบธุรกิจหลักๆ เอาไว้ด้วย ได้แก่
โดยมีข้อมูลการศึกษาของ 2 รูปแบบธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจสั่งซื้ออาหารกลับบ้านผ่านบริการออนไลน์ และ ธุรกิจวัตถุดิบสำเร็จพร้อมปรุงส่งถึงที่ ดังนี้
รายงานกล่าวพร้อมเน้นย้ำว่าโดย ทั่วไปแล้ว “โมเดลธุรกิจอาหารออนไลน์จะประสบความสำเร็จได้ดีกว่าในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง”
นอกจากนี้รายงานยังกล่าวด้วยว่า..ผู้เขียนคาดคะเนว่าตลาดเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ “จะยังคงเป็นผู้บุกเบิกกลุ่มแรกๆ ของวงการนี้ต่อไป เนื่องจากมีความหนาแน่นของประชากรมาก ทั้งยังเป็นแหล่ง รวมของแรงงานอายุน้อยซึ่งมีแนวโน้มที่จะยอมจ่ายเพื่อซื้อความสะดวกสบายจากบริการอาหารออนไลน์ มากกว่าด้วย”
ภาพจาก GrubHub.com
จากรายงานดูเหมือนว่าผู้วิเคราะห์จะเทใจให้กับ “โมเดลธุรกิจรับสั่งซื้ออาหารกลับบ้านออนไลน์” มาก เป็นพิเศษ รายงานชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จของหลายๆ บริษัท อย่างเช่น GrabHub ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้า สามารถสั่งซื้ออาหารออนไลน์จากร้านอาหารร่วม 30,000 ร้านในพื้นที่กว่า 500 เมืองได้ “เรามองเห็นแนว ทางการเติบโตที่ยาวไกล” รายงานกล่าว “การเพิ่มตัวเลือกที่เป็นร้านอาหารแฟรนไชส์เข้าไป (ควบคู่กับร้าน อาหารอิสระ) จะนำมาซึ่งโอกาสครั้งใหญ่” ทว่าส่วนตลาดนี้ก็นับว่ามีการแข่งขันที่สูงมากด้วย เมื่อคู่แข่งตัวเอ้ อย่าง UberEats และ Amazon ก็หวังจะชิงส่วนแบ่งตลาดเป็นของตัวเองเช่นกัน
ในส่วนของตลาดวัตถุดิบสำเร็จพร้อมปรุง - ซึ่งลูกค้าสามารถซื้อวัตถุดิบสดที่ผ่านการเตรียมและชั่งตวงวัด อย่างได้สัดส่วนแล้ว ทำให้พวกเขาสามารถ “ปรุงอาหารคุณภาพระดับเดียวกับภัตตาคาร” ได้เองภายในเวลา ไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง - รายงานของเรามีความคิดเห็นหลายแง่มุมผสมปนเปกัน (จากรายงาน..มีการประมาณว่ามี ผู้ประกอบธุรกิจทำนองนี้กว่า 150 เจ้าในอเมริกาและมีมูลค่าตลาดรวมราว 1.5 พันล้านเหรียญ)
นอกจากผลประโยชน์ในแง่ของความสะดวก, ผู้บริโภคได้ทดลองทำเมนูใหม่ๆ, ได้อาหารที่ดีต่อสุขภาพ มากกว่า, และลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งลง (ซึ่งทั้งหมดนี้เองคือกุญแจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโต) กลุ่มนัก วิเคราะห์ยังคงมีข้อกังขาอยู่ในประเด็นของการรักษาลูกค้าและความเป็นไปได้ที่ลูกค้าจะกลับมาใช้บริการซ้ำ อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่การลองของใหม่แล้วก็จบกันไป
ยิ่งเมื่อคำนึงถึงอัตราการประสบความสำเร็จในระยะเริ่มแรกของธุรกิจดังกล่าว นักวิเคราะห์ถึงกับเอ่ยปาก ออกมาว่า “ผู้แข่งขันได้เข้ามาในตลาดนี้มากเกินไป” แน่นอนว่าตัวผู้เขียนเองก็คาดหวังอยากให้ส่วนตลาดที่ กระจัดกระจายเหล่านี้รวมกันเป็นหนึ่ง “เพราะเราเชื่อว่าตลาดจะได้ประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด เมื่อมองในมุมของการตลาดและการผลิต”
แน่นอนว่าเป็นไปได้ที่ความต้องการของนักลงทุนเองก็อาจสูงขึ้นด้วย พิจารณาจากการที่ผู้ประกอบการ หลายๆ เจ้าในวงการดังกล่าวสามารถสร้างกำไรจากธุรกิจได้อยู่ที่เพียงราว 10 เปอร์เซ็นต์
“เราเชื่อว่านักลงทุนจะต้องอยากเห็นบริษัทที่สร้างรายได้และยอดขายได้มากกว่านี้” รายงานกล่าวโดย อ้างอิงจากบริษัท Blue Apron (ก่อตั้งเมื่อปี 2012), HelloFresh (ก่อตั้งเมื่อปี 2011 ในกรุงเบอร์ลินและ ขยายตัวเข้ามายังแคนาดาในปี 2016), และ Plated ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดของตลาดเป็นหลัก “แต่อย่างไรก็ตาม..ธุรกิจประเภทนี้ยังคงถือว่าอยู่ในระยะพัฒนาขั้นเริ่มแรก และจะยังคงมีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ เข้ามาสู่ตลาดอีกมาก” รายงานกล่าว
ข้อมูลจาก Financialpost.com
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด