เปิด 10 อันดับมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในไทยปี 2024 | Techsauce

เปิด 10 อันดับมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในไทยปี 2024

กลายเป็นธรรมเนียมประจำปีไปแล้วสำหรับการจัดอันดับมหาเศรษฐีที่มีความร่ำรวยมากที่สุดในโลกโดย Forbes และในปีนี้ยังมีผู้บริหารระดับโลกจากแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ครองแชมป์อยู่เช่นเคย

1% ของโลก

แม้สถานการณ์รอบโลกจะยุ่งเหยิง ตลาดหุ้นเผชิญกับพิษเศรษฐกิจและสงคราม ความไม่สงบทางการเมือง และภาวะเงินเฟ้อในหลายภูมิภาค แต่ปี 2024 มหาเศรษฐีพันล้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุบสถิติ รวมทั้งสิ้น 2,781 ราย เพิ่มขึ้น 141 รายจากปีก่อน และรวยมากกว่าที่เคยด้วย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินรวมกัน 14.2 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 520.4 ล้านล้านบาท 

ด้านประเทศที่มีมหาเศรษฐีจำนวนเยอะที่สุดยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา ที่จำนวน 813 คน ตามมาด้วยจีน (รวมฮ่องกง) 473 คน แม้จะเผชิญปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ และอันดับสามอินเดีย ที่ 200 คน 

ไม่ว่าจะเป็น Bernard Arnault เจ้าพ่อวงการแฟชั่นแห่งอาณาจักร LVMH ที่มีมูลค่าทรัพย์สินกว่า 233 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ Elon Musk เจ้าของแพลตฟอร์ม X และรถยนต์ Tesla ก็มีมูลค่าทรัพย์สินกว่า 194 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลายคนคงคิดเหมือนกันว่า ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมาเป็นโอกาสของบรรดาบริษัทใหญ่ที่มีธุรกิจหลายหลายได้เติบโตแบบก้าวกระโดด

สำนักข่าว CNBC เผยว่า ปี 2024 กลุ่มคนรวยที่สุดในสหรัฐฯ จำนวน 1% ถือครองมูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 44.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลจากการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งหนุนให้พอร์ตการลงทุนของมหาเศรษฐีเหล่านี้เติบโตขึ้นตามไปด้วย นั่นหมายความว่าอีก 99% ที่เหลือของชาวสหรัฐฯ ประกอบไปด้วยชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง ซึ่งรวมถึงกลุ่มคนไร้บ้านและว่างงาน

10 มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดของไทยประจำปี 2024

สำหรับผลการจัดอันดับ 10 มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดของไทยประจำปี 2024 พบว่า

อันดับ 1 ธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งอาณาจักรซีพีที่มีธุรกิจหลากหลาย คว้าอันดับหนึ่ง มูลค่าทรัพย์สิน 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.5 แสนล้านบาท) ติดอันดับที่ 159 ของโลก

อันดับ 2 เจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งอาณาจักรไทยเบฟ ทำธุรกิจหลากหลาย มูลค่าทรัพย์สิน 1.13 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.13 แสนล้านบาท) ติดอันดับที่ 177 ของโลก

อันดับ 3 สารัชถ์ รัตนาวะดี ธุรกิจพลังงาน ประธานกรรมการบริหารของกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ มูลค่าทรัพย์สิน 1.07 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.91 แสนล้านบาท) ติดอันดับที่ 200 ของโลก

อันดับ 4 สุเมธ เจียรวนนท์ พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ มูลค่าทรัพย์สิน 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) ติดอันดับที่ 548 ของโลก

อันดับ 5 จรัญ เจียรวนนท์ พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ มูลค่าทรัพย์สิน 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.97 แสนล้านบาท) ติดอันดับที่ 563 ของโลก

อันดับ 6 วานิช ไชยวรรณ ธุรกิจประกันและเครื่องดื่ม บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น ไทเกอร์ และเชียร์ มูลค่าทรัพย์สิน 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.39 แสนล้านบาท) ติดอันดับที่ 835 ของโลก

อันดับ 7 ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ธุรกิจโรงพยายาลเครือ BDMS และสายการบินบางกอก มูลค่าทรัพย์สิน 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.35 แสนล้านบาท) ติดอันดับที่ 871 ของโลก

อันดับ 8 สมอุไร จารุพนิช ผู้ถือหุ้นในเครือเจริญโภคภัณฑ์ มูลค่าทรัพย์สิน 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.13 แสนล้านบาท) อยู่ในอันดับที่ 1,062 ของโลก

อันดับ 9 ประยุทธ มหากิจศิริ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท พีเอ็มส์ กรุ๊ปส์ หรือแบรนด์เนสกาแฟ มีมูลค่าทรัพย์สิน 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท) ติดอันดับที่ 1,496 ของโลก

อันดับ 10 ทักษิณ ชินวัตร ธุรกิจโทรคมนาคม และ ฮาราลด์ ลิงค์ แห่งบี.กริม เพาเวอร์ มีมูลค่าทรัพย์สินเท่ากันที่ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท) ติดอันดับที่ 1,545 ของโลก    

ทั้งนี้ จากรายงานของ World Bank ว่าตลอดระยะเวลา 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความคืบหน้าในการลดความเหลื่อมล้ำอย่างมาก แต่ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำในระดับสูงโดยเฉพาะความไม่เสมอภาคของรายได้ อยู่ที่ 43.3% ซึ่งสูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และอยู่ในอันดับที่ 13 จาก 63 ประเทศ ซึ่งเป็นระดับความเหลื่อมล้ำที่สูงมากในแง่ของการกระจุกตัวทางรายได้และความมั่งคั่ง เนื่องจากกลุ่มคนผู้ร่ำรวยที่สุดมีเพียง 10% ที่ถือครองความมั่งคั่งเกินครึ่งของประเทศ

นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายอย่างมาก ไม่ใช่แค่สำหรับไทย แต่รวมไปถึงรัฐบาลทั่วโลก ในการหาทางลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายในอนาคต เช่น วิกฤตด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคมสูงวัย และเศรษฐกิจผันผวน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ https://www.forbes.com/billionaires/

อ้างอิง:

Kkp research, CNBC, Forbes, World Bank

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NVIDIA เปิดตัว Jetson Orin Nano Super Developer Kit ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI จิ๋ว เตรียมใช้ในหุ่นยนต์ AI

NVIDIA กำลังก้าวไปในสู่โลกของหุ่นยนต์อย่างเต็ม หลังเมื่อต้นปี 2024 ที่ผ่านมา ได้เปิดตัวของสำคัญหลายอย่างทั้ง Blackwell ชิปกราฟิกประสิทธิภาพสูงสำหรับประมวลผล AI โดยเฉพาะ ไปจนถึง Pro...

Responsive image

Openspace กองทุนแห่ง SEA ตั้งเป้า 2 ปี ลงทุนสตาร์ทอัพไทยไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท

โอเพ่นสเปซ (Openspace) กองทุนที่ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ SEA ประกาศแผนลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ส่งเสริมระบบนิเวศสตาร์ทอัพไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ในช่วงปี พ.ศ. 2568 - 2569...

Responsive image

ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นจับมือ! Honda-Nissan เตรียมควบรวมกิจการ

รายงานระบุว่า ทั้งสองบริษัทกำลังพิจารณารวมตัวกันภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงในเร็วๆ นี้ โดยมีแผนจะดึงมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่นิสสันถือหุ้น 24% เข้ามาร่วมด้วย เพื...