'Gen Z' ไม่ใช่การสร้างคนยุคใหม่ให้กลายเป็นหุ่นยนต์ | Techsauce

'Gen Z' ไม่ใช่การสร้างคนยุคใหม่ให้กลายเป็นหุ่นยนต์

  • กลุ่มคนที่เกิดและโตมาในยุคดิจิทัล (Digital natives) กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของคนทำงาน โดย 97 เปอร์เซ็นต์ ของชาว Gen Z ในประเทศไทย ต้องการที่จะทำงานด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัยที่สุด โดยมากกว่า 4 ใน 10 ให้ความสนใจในการทำงานด้านไอที ที่รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์
  • แม้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี แต่ยังมีความกังวลด้านความพร้อมในการทำงาน โดย 95 เปอร์เซ็นต์ ของชาว Gen Z ในประเทศไทย ต้องการทำงานในลักษณะการเป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี แต่ 96 เปอร์เซ็นต์ ยังมีความกังวลว่าอาจขาดประสบการณ์และทักษะด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน
  • 76 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบการสำรวจทั้งหมด 722 ราย ต่างบอกว่าความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีของตัวเองนั้นอยู่ในระดับดี หรือดีเยี่ยม และแม้ว่าเกือบทั้งหมด (99 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ และมีเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าการศึกษาที่ได้รับมีส่วนช่วยในการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเป็นอย่างดี
  • ภายในที่ทำงานจะประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มาจาก เจเนอเรชั่น ดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรธุรกิจจะต้องช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจพื้นฐานที่ตรงกันเพื่อความเท่าเทียม

ชาว Gen Z (Gen Zers) คือกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี แต่ยังกังวลว่าตัวเองจะขาดทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน (soft skills) และยังต้องการการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลเพิ่มมากขึ้น ถึงกระนั้น มืออาชีพระดับอาวุโสมีความหวาดเกรงที่จะโดนเด็กที่โตมาในยุคดิจิทัลแย่งเก้าอี้ในการทำงาน

ในเวลานี้ กลุ่มคน Gen Z กำลังทยอยก้าวสู่การทำงาน พร้อมนำพาแนวความคิดที่ว่าเทคโนโลยีต้องมาก่อนจึงจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไปได้ในยุคดิจิทัลเข้ามาพร้อมกัน และในขณะเดียวกัน ก็มีแนวโน้มที่อาจสร้างการแบ่งแยกที่ชัดเจนยิ่งขึ้นระหว่างกลุ่มคนทำงานทั้ง 5 เจเนอเรชั่นที่ยู่ในภายในองค์กรเดียวกัน จากผลการวิจัยทั่วโลกที่สนับสนุนการจัดทำโดยเดลล์ เทคโนโลยีส์ พบว่า คนในยุคหลังมิลเลนเนียล (post-millennials) หรือคนที่เกิดหลังปี 1996 และเป็นที่รู้จักในนาม Gen Z มีความเข้าใจและรอบรู้เทคโนโลยีในเชิงลึก และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทั้งวิถีการทำงานและการใช้ชีวิตของเราออกไป

“แทบจะเป็นที่รู้กันว่ากลุ่มคนที่เติบโตมาในยุคดิจิทัลมีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและเทคโนโลยีล้ำหน้า แต่ที่น่าแปลกใจก็คือระดับของวุฒิภาวะด้านดิจิทัลที่พวกเขานำมาสู่ที่ทำงาน” นายอโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน กล่าว “เรายังไม่ได้ไปถึงจุดที่สร้างเจเนอเรชั่นของคนที่เป็นหุ่นยนต์ขึ้นมา เนื่องจากคนใน Gen Z มองว่าเทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับมนุษย์ แต่ยังเป็นเสมือนวิธีการในการยกระดับการแข่งขันที่ต้องอาศัยศักยภาพด้านข้อมูลอีกด้วย ซึ่งการผสมผสานทั้งวิสัยทัศน์ และการมองโลกในแง่ดีของคนกลุ่มนี้นับว่าไม่ธรรมดา”

จากผลการสำรวจบรรดานักเรียนในระดับมัธยม วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยกว่า 12,000 แห่งใน 17 ประเทศ รวมถึงผู้ตอบการสำรวจจำนวน 722 รายจากประเทศไทย และ 4,331 รายจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอายุระหว่าง 16 ถึง 23 ปี เผยให้เห็นภาพรวมของคนรุ่นเยาว์ที่มีต่อเทคโนโลยีและงานในอนาคต โดยเฉพาะในประเด็นต่อไปนี้

  • 98 เปอร์เซ็นต์ (99 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาอย่างจริงจัง
  • 91 เปอร์เซ็นต์ (95 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) กล่าวว่าเทคโนโลยีที่ผู้ว่าจ้างนำเสนอ จะเป็นองค์ประกอบการพิจารณาการเลือกงานในลักษณะเดียวกันที่เสนอเข้ามา
  • 80 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย 97 เปอร์เซ็นต์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 90 เปอร์เซ็นต์) ต้องการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีล้ำหน้า โดย 38 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มนี้สนในงานด้านไอที 39 เปอร์เซ็นต์ ต้องการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และ 46 เปอร์เซ็นต์ ต้องการทำงานด้านการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยี ทั้งนี้ ในประเทศไทย มากกว่า 4 ใน 10 มีความสนใจงานด้านไอที รวมถึงการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (48 เปอร์เซ็นต์)
  • 80 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย 93 เปอร์เซ็นต์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 86 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติจะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความเสมอภาคมากขึ้น โดยช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอคติและการแบ่งแยก
นายอโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน

ผู้ตอบสำรวจในจำนวนที่สูงถึง 89 เปอร์เซ็นต์ ต่างเข้าใจดีว่าเรากำลังก้าวสู่ยุคของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร (human-machine partnership) โดย 51 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย 64 เปอร์เซ็นต์) ของบรรดาผู้เข้าร่วมการสำรวจเชื่อว่ามนุษย์และเครื่องกลจะทำงานร่วมกันเสมือนเป็นทีมเดียวกัน ในขณะที่ 38 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย 30 เปอร์เซ็นต์) มองว่าเครื่องกลเป็นเสมือนเครื่องมือที่มนุษย์เรียกใช้ได้ตามต้องการ

การที่กลุ่มคน Gen Z เติบโตมาในยุคดิจิทัล ทำให้ชาว Gen Z ส่วนใหญ่ มีความมั่นใจในความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยในประเทศไทย 76 เปอร์เซ็นต์ของคนกลุ่มนี้ ต่างระบุว่าความสามารถด้านเทคโนโลยีของตนอยู่ในระดับที่ดีหรือยอดเยี่ยม และ 73 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่ามีทักษะในการเขียนโค้ด (coding skills) สูงกว่ามาตรฐานทั่วไป และที่มากไปกว่านั้นก็คือ 95 เปอร์เซ็นต์ของชาว Gen Z ในประเทศไทย ปรารถนาที่จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้ความรู้ให้กับผู้ร่วมงานอายุมากกว่าที่อาจมีประสบการณ์เรื่องเทคโนโลยีน้อยกว่า

ในทางกลับกัน ชาว Gen Z มีความกังวลเกี่ยวกับทักษะที่เหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมไปถึงประสบการณ์ที่ผู้ว่าจ้างมองหาอีกด้วย โดยในส่วนของประเทศไทย

  • เด็กจบใหม่เกือบทั้งหมด (96 เปอร์เซ็นต์) มีความกังวลใจเกี่ยวกับการว่าจ้างงานในอนาคต ตั้งแต่เรื่องของการขาดทักษะที่เหมาะสม ตลอดจนขาดประสบการณ์ในการทำงาน
  • มีเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ที่ระบุว่าการศึกษาของตนอยู่ในระดับดี หรือดีเยี่ยม ที่ช่วยให้ตนมีความพร้อมในการทำงาน
  • 67 เปอร์เซ็นต์ มั่นใจว่าตนมีทักษะด้านเทคโนโลยีที่ผู้ว่าจ้างต้องการ แต่ขาดทักษะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนที่เป็นมืออาชีพในระดับอาวุโส ก็มีความกังวลว่าจะโดนเด็กรุ่นใหม่แซงหน้า และบทบาทของผู้นำในอนาคตส่วนใหญ่จะกลายเป็นของเด็กรุ่นใหม่ที่โตมาในยุคดิจิทัล สอดคล้องตามการวิจัยของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่ว่า 87 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจกลัวว่าองค์กรของตนจะพยายามมอบโอกาสด้านการทำงานที่ทัดเทียมให้กับคนต่างรุ่น

ปัจจุบันในที่ทำงานมีคนทำงานอยู่ถึง 5 เจเนอเรชั่น ฉะนั้นองค์กรธุรกิจควรช่วยให้คนทำงานเหล่านี้หาจุดร่วมที่เหมือนกันให้เจอ ในเวลาที่ต้องผลักดันไปสู่การสร้างวัฒนธรรมของการให้ความสำคัญกับดิจิทัลเป็นอันดับแรก หรือ digital-first โดยทีมงานที่ต้องทำงานข้ามสายงานและมีทักษะที่ครบครันสามารถกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และการแก้ปํญหาด้วยวิธีแบบใหม่ โปรแกรมนักศึกษาฝึกงาน และการหมุนเวียนงาน รวมถึงโอกาสอื่นๆ ในการพัฒนาความก้าวหน้าทางอาชีพตั้งแต่เริ่มต้น สามารถช่วยให้มืออาชีพรุ่นเยาว์ได้รับประสบการณ์ในการทำงานและพัฒนาทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนได้เช่นกัน และโปรแกรมการผลัดกันเป็นที่ปรึกษาสามารถช่วยเพิ่มพูนความสามารถด้านเทคโนโลยีภายในองค์กร โดยมีเจนแซดเป็นผู้เบิกทางในเรื่องนี้

องค์ประกอบของมนุษย์

แม้ว่าคนรุ่นเจนแซด จะมีการสื่อสารโต้ตอบโดยใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ได้อย่างดีมาตั้งแต่เกิด และเติบโตมาในยุคโซเชียลมีเดีย แต่เจนแซด ก็ยังต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในที่ทำงานมากขึ้น

จากผลการศึกษาในประเทศไทย

  • โทรศัพท์ (40 เปอร์เซ็นต์) เป็นวิธีการที่คนทำงานร่วมกันนิยมใช้ในการสื่อสาร ตามด้วยการสื่อสารแบบตัวต่อตัว (34 เปอร์เซ็นต์) แอปฯ ส่งข้อความ และการส่งข้อความสั้นถูกจัดไว้หลังสุด
  • 62 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะได้เรียนรู้งานจากเพื่อนร่วมงานหรือบุคคลอื่น แต่ไม่ใช่ทางออนไลน์
  • 91 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าโซเชียลมีเดีย สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่สร้างคุณค่าในการทำงาน
  • กว่าครึ่ง (58 เปอร์เซ็นต์) ชอบนั่งทำงานในออฟฟิศ เมื่อเทียบกับการทำงานจากบ้าน และ 70 เปอร์เซ็นต์ ชอบที่จะทำงานเป็นทีมมากกว่าทำคนเดียว

“มืออาชีพรุ่นเยาว์ในปัจจุบัน ต่างเติบโตมาในสภาพแวดล้อมการศึกษาที่ต้องทำงานร่วมกัน และคาดหวังความร่วมมือดังกล่าวจากที่ทำงานเช่นกัน” มาริเบล โลเปซ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเทคโนโลยี และที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ ของ Lopez Research กล่าว

แม้ว่าการสื่อสารที่ต้องพูดคุยกันต่อหน้าจะไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยในที่ทำงานสมัยใหม่ แต่เทคโนโลยีที่ให้ความรู้สึกเสมือนจริง (immersive technologies) ก็ช่วยให้คนทำงานทุกประเภทสามารถประสานความร่วมมือได้ทั้งในโลกการทำงานจริงและโลกเสมือนจริง

นายอโณทัย กล่าวเสริมว่า “ท้ายที่สุด เหล่าองค์กรที่สร้างกำลังคนโดยที่สามารถรองรับและให้การสนับสนุนคนทำงานในทุกเจเนอเรชั่นได้ ก็จะเติบโตได้ในยุคแห่งความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกล คนทำงานที่ผสานการทำงานร่วมกันได้ดีนับเป็นขุมพลังที่จะช่วยให้องค์กรปฏิรูปและประสบความสำเร็จได้ในอนาคตดิจิทัล

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี เปิดตัว ttb smart shop พร้อม “ปังปัง” มังกรน้ำเงินมงคล ผู้ช่วยร้านค้าแบบครบวงจร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี นำโดย นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ พร้อมด้วย นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจ เปิดตัวฟีเจอร...

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...

Responsive image

Google เผยเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โตอันดับ 2 ใน SEA มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2567 มูลค่ารวมของสินค้าดิจิทัลหรือ GMV จะเพิ่มขึ้นถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.61 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566...