Grab เปิดตัว 'Trip Planner' บริการวางแผนการเดินทาง เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะในแอพเดียว

Grab เปิดตัว 'Trip Planner' บริการวางแผนการเดินทาง เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะในแอพเดียว

Grab เปิดตัว 'ทริป แพลนเนอร์' (Trip Planner) ฟีเจอร์และบริการวางแผนเดินทางใหม่ล่าสุด เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่ง สาธารณะเข้าในแอพพลิเคชั่น พร้อมเสริมทางเลือกด้วยบริการจาก Grab ทั้ง GrabBike (Win) และ GrabCar เพื่อตอบโจทย์การเดินทางจากต้นทางสู่ปลายทาง เชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะ เจ้าแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรุงเทพฯ เป็นเมืองอันดับที่มีรถติดมากที่สุดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก (ข้อมูลเมื่อปี 2016) โดยมีผู้อาศัยกว่า 5.7 ล้านคน อีกทั้งมีรถยนตร์กว่า 10 ล้านคัน แม้กระนั้น การให้ข้อมูลประชาชนในการเดินทางยังไม่เพียงพอ การเปิดตัว 'Trip Planner' ถือเป็นก้าวสําคัญสู่วิสัยทัศน์ของ Grab ที่มุ่งมั่นในการสร้างการเดินทางในชีวิตประจําวันที่ไร้รอยต่อ เข้าถึงได้ง่าย และมีราคาเหมาะสม ให้แก่ผู้คนในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Grab เป็นแอพในทุกวัน เสนอ 'Trip Planner' มอบทางเลือกการเดินทางทุกรูปแบบให้คนกรุง

หลังจากที่ได้เปิดตัว 'Trip Planner' ในกรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย เป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก็ได้ขยายการให้บริการและเปิดให้บริการแล้วในกรุงเทพฯ สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์

โดยมีฟีเจอร์หลักๆ ได้แก่

  • วางแผนการเดินทาง ด้วยข้อมูลที่แม่นยํา
  • ดูเส้นทางการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางในแต่ละขั้นตอน
  • ตรวจสอบตารางการเดินรถของรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน เรือ และรถโดยสาร ประจําทางในกรุงเทพฯ
  • ระบุจุดหมายปลายทางผ่านฟีเจอร์ Trip Planner โดยระบบจะนําเสนอทางเลือกการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ที่รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมประมาณเวลาการเดินทางที่จะไปถึง รวมถึงเส้นทางการเดิน ร่วมกับทางเลือกการเดินทางจากต้นทางสู่ปลายทาง ทั้งที่เป็นบริการ GrabBike (Win), GrabCar และระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งผู้ใช้สามารถกดเรียกใช้บริการ Grab ผ่านฟีเจอร์นี้ได้โดยตรง
  • หากผู้ใช้งานมีความสงสัยในการเดินทาง สามารถกดเข้าไปสอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมได้
  • ระบบแจ้งเตือน (Alerts) รวบรวมข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของระบบขนส่งสาธารณะในประเทศไทย

ข้อมูลจาก Grab ประเทศไทย

ผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ยังจะได้รับประโยชน์จากจํานวนผู้สัญจรที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก Grab ช่วย ให้การเดินทางเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนและวางแผนการเดินทางได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยบริการรถยนต์ ร่วมโดยสารของ Grab อีกทั้งยังทําให้เข้าใจข้อมูลและพฤติกรรมการเดินทางเกี่ยวกับผู้ใช้ผ่านแอพพลิเคชั่น และมองเห็นโอกาสในเชื่อมต่อโครงข่ายในบริเวณที่การให้บริการยังไม่ครอบคลุม เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่าย และการเข้าถึงในทุกพื้นที่

นอกจากนี้ยังถือเป็นการนําร่องพัฒนา Mobility as a Service (MaaS) ระบบคมนาคมขนส่งที่เข้าถึงได้โดยคนทั่วไป และยังตอบรับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย เพื่อลดการใช้รถส่วนตัว ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและมลพิษในเมือง

ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อํานวยการ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า “ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การขนส่งและจราจรถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสําคัญที่สามารถนําเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ในการบริหารจัดการ หนึ่งในรูปแบบระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ซึ่งหลายประเทศได้เริ่มทดลองใช้ คือ Mobility as a Service (MaaS) ที่ผู้เดินทางสามารถเลือกใช้รูปแบบการเดินทางที่เป็นการขนส่งสาธารณะของ รัฐบาลและการขนส่งของภาคเอกชนได้ตามความต้องการผ่านแพลตฟอร์มผู้ให้บริการ โดยจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือนหรือตามที่ใช้จริง

สําหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ริเริ่มแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) เป็นหนึ่งในแกนหลักในการพัฒนาเมือง การนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ ทันสมัยและชาญฉลาดมาประยุกต์ใช้กับระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะอย่างฟีเจอร์วางแผนการเดินทาง

แนวคิดในการพัฒนา Mobility as a Service (MaaS) ของ Grab จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการผสานความ ร่วมมือและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของภาคเอกชน เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เกิดผล เป็นรูปธรรมผ่านโครงการของภาครัฐ โดยนอกจากประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 7 จังหวัดนําร่อง ซึ่งได้แก่ กรุงเทพ ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา นักท่องเที่ยวในพื้นที่เหล่านี้ยังจะได้รับประโยชน์และสามารถ เดินทางได้อย่างสะดวกสบายผ่านบริการดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพและตอบรับโลกแห่งเทคโนโลยีในปัจจุบันด้วยอีกทางหนึ่ง”

รศ.ดร. สรวิศ นฤปิติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "การจราจรติดขัดยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโครงสร้างพื้นฐานขนส่ง มวลชนยังไม่ครอบคลุม ส่งผลให้การเดินทางจากต้นทางและสู่ปลายทาง (FMLM - First Mile/Last Mile) ยังไม่ เชื่อมต่อกันอย่างเต็มรูปแบบ และผู้คนยังคงจําเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางสัญจรในชีวิตประจําวัน

โดยทางออกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาจราจรได้คือการใช้บริการรถยนต์ร่วมโดยสาร (Ride-Hailing) และ การให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้รถใช้ถนนให้สามารถเลือกรูปแบบการเดินทาง เส้นทาง และค่า โดยสารที่ตรงความต้องการ อาทิ ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา หรือหลีกเลี่ยงเส้นทางที่หนาแน่น ซึ่งผู้ให้บริการที่ สามารถช่วยวางแผนและผนวกรูปแบบการเดินทางขนส่งที่หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน

รูปแบบ Mobility as a Service (MaaS) นี้ จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง ลดความแออัดของการจราจร ลดความจําเป็นใน การใช้รถส่วนตัว และลดปัญหารถติดและมลพิษ ทําให้การเดินทางให้มีความคล่องตัว เข้าถึงง่าย มีราคา เหมาะสม และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ของประเทศอีกทางหนึ่ง”

คุณธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย

คุณธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในกรุงเทพฯ มีจํานวนรถส่วนตัว และมอเตอร์ไซค์ที่จดทะเบียนกว่า 9.8 ล้านคัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ถนนและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ สามารถ รองรับได้ถึง 8 เท่า และยังคงเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจํานวนรถส่วนตัวดังกล่าว เป็นเหตุสําคัญ ที่ทําให้เกิดปัญหารถติดในกรุงเทพฯ เราจึงมีวิสัยทัศน์ที่จะสร้างระบบการคมนาคมขนส่งที่เชื่อถือได้และไร้รอยต่อ ซึ่งจะทําให้ผู้คนลดการใช้รถส่วนตัวในที่สุด ระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพเป็นทางออกเดียวที่จะแก้ไขปัญหา การจราจรโดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณรถบนท้องถนน และด้วยฟีเจอร์ “ทริป แพลนเนอร์” เราจึงสามารถนําเสนอทางเลือกในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่เข้าถึงได้ง่าย ในราคาที่เหมาะสมสําหรับใช้ในชีวิตประจําวัน และที่สําคัญคือเป็นทางเลือกที่สามารถแทนที่การใช้รถส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Gemini 2.0 คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง ? สรุปของใหม่กับ AI ที่เก่งที่สุดของ Google

หลังจาก Google เปิดตัว Gemini 1.0 ซึ่งเป็น AI แบบ Multimodal และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีผู้ใช้มากถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก ล่าสุดได้มีการอัปเกรดเวอร์ชันใหม่ในชื่อ Gemini 2.0 ซึ่งเป็น...

Responsive image

พลังงานจากหลุมดำ พุ่งชนวัตถุลึกลับในกาแล็กซี เกิดรอยปริศนารูปตัว V

NASA พบร่องรอยแปลกประหลาดจากการพุ่งชนของลำแสงพลังงานสูงที่มาจากหลุมดำขนาดมหึมาในกาแล็กซี Centaurus A (Cen A) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง การค้นพบนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการ...

Responsive image

LINE MAN Wongnai จับมือททท. ดันเชียงใหม่ ศูนย์กลางเทศกาลอาหาร ดึง 70 ร้านดังทั่วไทย ร่วมงาน "ฟู้ดเฟสติเว่อร์"

LINE MAN Wongnai เผยอินไซต์ ‘เชียงใหม่’ เป็นเมืองที่มีศักยภาพเติบโตสูงเป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวนร้านอาหารกว่า 76,000 ร้าน และไลน์แมนไรเดอร์กว่า 4,100 ราย ทำให้เล็งเห็นถึงศักยภาพในการผล...