ความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดคือการร่วมมือระหว่าง บริษัท Ananda Development จำกัด มหาชน กับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยหรือทปอ. และ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ได้แก่ University of Cambridge, University of California, Berkeley และ Stanford University ร่วมกันดำเนินโครงการ How Cambridge Berkeley Stanford do Tech Transfer งานประชุมสัมมนาที่นำองค์ความรู้จากต่างประเทศมามอบให้กับนักศึกษาไทย (Tech Transfer) โดยมุ่งมั่นที่จะปฏิวัติระบบนิเวศน์ในเทคโนโลยีด้านการศึกษาของไทย
คุณชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เล่าถึงการที่บริษัทอสังหาฯเข้ามามีส่วนร่วมกับภาคการศึกษาว่า “เราได้เดินทางไปยัง Silicon Valley และได้พบปะกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้เห็นวิธีการทำ Technology transfer ให้ประสบความสำเร็จ จึงอยากทำให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งในเดือนมกราคม 2562 ที่จะถึงนี้ ทางเราได้เชิญกูรูทั้ง 3 มหาวิทยาลัยให้มาแลกเปลี่ยน Best Practices มาดู supply chain ของเหล่า talent ในไทย ที่จะช่วยพัฒนาภาคการศึกษาของไทย อีกทั้งจะส่งผลไปสู่ภาคเอกชนให้ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างคนเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของเราในอนาคต”
ในส่วนของ ดร. จอห์น มิลลาร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์จำกัด มหาชน กล่าวถึงประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ พบว่า การที่จะทำ Technology transfer ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ภาคส่วนที่สำคัญต่อการผลักดันให้เรื่องนี้ประสบความสำเร็จคือภาคการศึกษา โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย
“มหาวิทยาลัยเป็นภาคส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้การพัฒนานวัตกรรมและการก้าวสู่สังคมก้าวไปข้างหน้า ไม่เฉพาะการที่พวกเขามีทรัพย์สินทางปัญญาที่ดีที่สุดเท่านั้น แต่คือวิธีที่พวกเขาได้ฝึก และส่งคนออกไปยังตลาดแรงงานได้อย่างไร นี่เป็นสิ่งสำคัญ”
ดร. จอห์น : การมีเครือข่ายและพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้คนได้มาแลกเปลี่ยนไอเดีย และระดมความคิดได้มากเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมในเมืองถึงมีความพัฒนามากกว่าในพื้นที่ชนบท อีกทั้งยิ่งมีบุคลากรในมหาวิทยาลัยมากเท่าไร ยิ่งจะมีการผลิตนวัตกรรมมากเท่านั้น ดังนั้นอะไรก็ตามที่สามารถรวมกลุ่มคนให้มาอยู่ด้วยกัน แลกเปลี่ยนไอเดีย ให้รอบด้านและหลากหลายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ยิ่งดี
การที่เราได้จัดงานในครั้งนี้ จะเป็นการนำมหาวิทยาลัยระดับโลกที่มีความเก่งที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น Cambridge University ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสหราชอาณาจักร Stanford University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน และ University of California, Berkeley ซึ่งก็มีวิถีปฏิบัติและวัฒนธรรมที่ต่างจาก ทาง Stanford เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ดังนั้นแน่นอนว่า การแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ เราจะได้ไอเดียที่หลากหลาย ยิ่งมีไอเดียมากเท่าไร ยิ่งมีไอเดียใหม่ๆ ที่จะเกิดจากมันมากเท่านั้น ผมเชื่อว่าเราจะสามารถไปถึงการศึกษาในโลกอนาคตได้เร็วขึ้น โดยการแลกเปลี่ยนไอเดียที่ได้จากทั่วทุกมุมโลก จากแหล่งที่มีความหลากหลายที่มากกว่า และนำไอเดียนั้นมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทในประเทศไทย นี่เป็นเหตุผลที่เราได้จัดงานในครั้งนี้
เราไม่อาจรู้ได้ว่าไอเดียที่เราจะได้จากแต่ละมหาวิทยาลัย จะสามารถนำมาปรับใช้กับระบบของประเทศไทยได้หรือไม่ แต่เรามีความเชื่อว่ายิ่งมีไอเดียมากเท่าไร จะยิ่งทำให้เราสามารถนำมาปรับใช้ในการช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าได้ต่อไปในอนาคต
ดร. จอห์น: เรื่องนี้เป็นเรื่องท้าทายของทุกภาคส่วน ไม่เฉพาะแค่ภาคการศึกษาเท่านั้น หากจะพูดถึงทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของแต่ละประเทศในทุกวันนี้นั้น มันไม่ใช่เรื่องของพื้นที่ หรือน้ำมัน แต่เป็นมันสมองของคนต่างหากที่สำคัญ คุณจะสามารถพัฒนาคนของคุณให้ได้ดีแค่ไหน นี่เป็นสิ่งที่หลายประเทศทั่วโลกได้พยายามทำ การร่วมมือของอนันดาและพาร์ทเนอร์ในครั้งนี้ เนื่องจากเราได้มองเห็นช่องว่างในตรงนี้ เราสนใจ และได้มีโอกาสไปอยู่ในสภาพแวดล้อมของบรรดาคนเก่งๆ เราสามารถทำในส่วนของเราให้ดีที่สุดในการช่วยสนับสนุนในส่วนนี้ แต่ส่วนที่เหลือนั้น เป็นเรื่องของความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่จะช่วยกันพัฒนาประเทศต่อไป
ดร. จอห์น: จากการมีประสบการณ์การทำงานร่วมกับคนไทยพบว่า มีคนไทยจำนวนมากอยากที่จะกลับมาทำงานในประเทศไทย จริงๆ แล้วถ้าหากพวกเขาอยากกลับมาทำงาน มันจะต้องมีแรงดึงดูดมากพอที่จะทำให้พวกเขาอยากกลับมา เช่น การมีระบบแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เหล่า talent สามารถใช้ทักษะและความสามารถของพวกเขาในประเทศไทยได้อย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับที่เขาสามารถใช้ศักยภาพของพวกเขาในที่อื่นได้อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างที่ Silicon Valley จะเต็มไปด้วยเหล่า talent ที่จบจาก มหาวิทยาลัยระดับท็อปจากทั่วทุกมุมโลก เพราะที่นั่นได้มีการสร้างระบบแวดล้อมในการรองรับที่ดี ดังนั้นหากคุณอยากที่จะนำกลุ่มคนเก่งๆ ให้กลับเข้ามาทำงานที่ประเทศไทยจะต้องสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับ ให้เป็นพื้นที่ที่เหล่า talent สามารถแสดงศักยภาพของเขาอย่างเต็มที่
ความสำคัญของโลกดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงในทุกภาคธุรกิจส่งผลภาคการศึกษา ซึ่งด้าน ทปอ. ขานรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดย ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวในเรื่องความคาดหวังของภาคมหาวิทยาลัยและความปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่า “ในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อภาคการศึกษาไทย และสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ต้องปรับตัว พัฒนาหลักสูตรการเรียนให้ตอบโจทย์ความต้องการของยุคดิจิทัล
ในขณะที่ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงประโยชน์ที่ส่งผลให้กับประเทศไทยในครั้งนี้ว่า “การที่เราจะก้าวผ่านจากกับดักของการพัฒนา เราจะต้องสร้างนวัตกรรมเอง ที่ผ่านมาเราใช้นวัตกรรมจากต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมีส่วนสำคัญ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ขององค์ความรู้ใหม่เกิดในภาคมหาลัย แต่ที่ผ่านมานั้นมันทำไม่ได้เนื่องจากไม่สามารถนำองค์ความรู้ใหม่ที่ได้ไปต่อยอด สร้างนวัตกรรม ภาคการศึกษาและมหาวิทยาลัย จะต้องเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน พัฒนา สร้างคนให้ทันสมัย ทันเทคโนโลยี ทันโลก นอกจากนี้คือการนำงานวิจัย และองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปพัฒนาต่อยอดสู่นวัตกรรม อีกทั้งภาคเอกชนจะเป็นพลังสำคัญในการสนับสนุนในการสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น”
เวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ “How Cambridge Berkeley Stanford do Tech Transfer” จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2562 ณ. Town Hall ชั้น 11, อนันดา แคมปัส, อาคาร FYI กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 08:00 - 18:30 น. ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ Ananda UrbanTech www.ananda.co.th/urbantech หรือที่เฟสบุ๊ค www.facebook.com/ananda.pcl.urbantech
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด