เจาะลึกเส้นทางของ Pinduoduo สู่อันดับสองของตลาด E-Commerce จีน | Techsauce

เจาะลึกเส้นทางของ Pinduoduo สู่อันดับสองของตลาด E-Commerce จีน

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นได้ทำให้เรานั้นต้องย้ายจากการอยู่ในพื้นที่สาธารณะมากักตัวอยู่ที่บ้านมากขึ้น ประสบการณ์ทางสังคมของเรานั้นบังคับให้เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต นอกเหนือจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เรานั้นรู้จักและใช้อยู่แล้ว เรายังมองหาวิธีใหม่ ๆ ในการเข้าร่วมสังคมผ่านช่องทางออนไลน์ 

ที่ Y Combinator ได้ทำการพิจารณาว่านี่อาจจะเป็นนัยยะสำคัญสำหรับอนาคตของอุตสาหกรรม E-Commerce ในหลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้มองว่า Pinduoduo นั้นเป็นกรณีศึกษาที่มีความน่าสนใจมาก แต่สำหรับตอนนี้ ประเทศจีนนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนการฟื้นฟูจากผลกระทบของ COVID-19 Pinduoduo และวิธีการช็อปปิ้งแบบ Social Shopping นั้นสามารถทำงานได้ดีมากกว่าเดิมในการปรับเปลี่ยนจากการค้าในช่องทางออฟไลน์ไปยังช่องทางออนไลน์ ซึ่งความสำเร็จของ Pinduoduo ในประเทศจีนนั้นทำให้เกิดโอกาสอย่างมากสำหรับแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ที่อาจจะเกิดขึ้นในหลาย ๆ ภูมิภาค

เส้นทางสู่ความสำเร็จของ Pinduoduo

เมื่อ Pinduoduo เริ่มกิจการในปี 2015 ในขณะนั้นมันมีโอกาสเล็กน้อยมากสำหรับแพลตฟอร์มการค้าหน้าใหม่ที่จะเข้าไปในตลาด เนื่องจากมีสอง e-Commerce แพลตฟอร์มขนาดใหญ่ที่ครองตลาดอยู่แล้ว นั่นก็คือ JD และ Taobao (แบรนด์ย่อยของ Alibaba) หลังจากนั้นเพียง 5 ปี Pinduoduo ได้กลายจากบริษัท Startup มาเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าถึง 57 พันล้านดอลลาร์และมีฐานผู้ซื้อที่ Active อยู่กว่า 585 ล้าน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับบริษัททถึง 144 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และในปี 2020 บริษัทก็กลายมาเป็นบริษัท e-Commerce ที่มีขนาดใหญ่เป็นที่สองของจีน ตามหลัง Alibaba

Pinduoduo นั้นเจอโอกาสในตลาด e-Commerce ในแบบที่ไม่ใช่แพลตฟอร์มแบบ Search-based อย่าง JD แต่เป็นในรูปแบบแพลตฟอร์ม e-Commerce ที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์สังคมการช็อปปิ้งออนไลน์แบบที่สามารถโต้ตอบกันได้ ‘Social Shopping’ นั้นอาจจะดูเหมือนเป็นคอนเซปต์ใหม่ แต่จริง ๆ แล้วในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นการช็อปปิ้งนั้นคือเรื่องของ “การโต้ตอบและความสนุก” และการซื้อขายนั้นถูกแนะนำโดยเพื่อนและครอบครัว โดย Pinduoduo นั้นนำเสนอการช็อปปิ้งในรูปแบบที่แตกต่างกันไปจากแพลตฟอร์มอื่น โดยทางบริษัทได้พยายามที่จะลอกเลียนประสบการณ์การช็อปปิ้งในรูปแบบออฟไลน์มายังออนไลน์ โดยการสร้างชุมชนผ่านโมเดลการซื้อเป็นทีม การสร้างการมีส่วนร่วมผ่านเกมและผลตอบแทน รวมถึงการสร้างประสบการณ์และคุณค่าของผู้ซื้อแต่ละคนผ่านคำแนะนำ

Social Shopping นั้นจะมีความสำคัญมากขึ้นไปอีกก็ต่อเมื่อสินค้าประเภทนั้น ๆ ต้องการฟีดแบคหรือคำแนะนำจากเพื่อน ซึ่ง Pinduoduo ก็เป็นบริษัทแรก ๆ ที่สามารถสร้างประสบการณ์ Social Shopping ทางออนไลน์ได้ และยังได้เร่งการปรับเปลี่ยนการค้าขายจากช่องทางออฟไลน์สู่ช่องทางออนไลน์ในประเทศจีนได้เร็วยิ่งงขึ้น

การสร้างชุมชนผ่านการซื้อแบบเป็นกลุ่ม

ประการณ์หลักของการซื้อขายผ่าน Pinduoduo นั้นขึ้นอยู่กับการซื้อแบบกลุ่ม หรือการที่ผู้ซื้อนั้นจับกลุ่มกันเพื่อที่จะซื้อสินค้าได้ในราคาถูกกว่าเดิม ซึ่งประสบการณ์ของผู้ใช้นั้นจะมีรูปแบบดังนี้

1. สำหรับสินค้าแต่ละชิ้น ผู้ขายนั้นจะแสดงราคา 2 ราคา ซึ่งก็คือราคาขายปลีกและราคาขายส่ง 

2. เมื่อผู้ซื้อเลือกราคาแบบขายส่งนั้น ผู้ซื้อสามารถที่จะสร้างการซื้อแบบเป็นกลุ่มขึ้นมา หรือเข้าร่วมกลุ่มที่มีอยู่แล้ว และหากผู้ซื้อนั้นเป็นผู้ที่สร้างกลุ่มขึ้นมา ผู้ซื้อนั้นสามารถที่จะแชร์และชวนเพื่อนผ่านแอปฯ We Chat ให้มาร่วมกลุ่ม หรือจะเลือกรอให้ผู้ซื้อคนอื่น ๆ เข้ามาเข้าร่วมได้ 

3. กลุ่มนั้นจะต้องถูกรวมภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้นเพื่อที่จะสามารถยืนยันออเดอร์ได้ และเมื่อรวมกลุ่มสำเร็จแล้ว สินค้าก็จะถูกจัดส่งภายใน 48 ชั่วโมง

ถึงแม้ว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Pinduoduo นั้นจะมาจากการซื้อในรูปแบบกลุ่ม แต่สิ่งหนึ่งที่เข้ามาช่วยกระจายชื่อเสียงให้กับ Pinduoduo นั้นก็คือแอปฯ WeChat ที่มีการใช้งานในประเทศจีนอย่างกว้างขวาง ซึ่ง Tencent บริษัทแม่ของ WeChat นั้นก็ยังเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ของ Pinduoduo อีกด้วย

โดยปกติแล้วผู้ใช้นั้นเข้ามาใน Pinduoduo โดยไม่มีจุดมุ่งหมายที่เจาะจงใด ๆ ซึ่งทาง Pinduoduo ก็พยายามที่จะสร้างประสบการณ์ที่จะเพิ่มเวลาที่ผู้ใช้นั้นใช้บนแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาซื้อของหรือไม่ โดยทาง Pinduoduo นั้นได้เสริมฟีเจอร์และประสบการณ์ใหม่ ๆ อย่าง 

  • Daily Check-Ins
  • Price Chop
  • Card Programs
  • Mini Games

Daily Check-ins

ฟังก์ชัน Daily Check-ins นั้นได้สนับสนุนให้ผู้ใช้นั้นเข้ามาใช้แอปฯ ในทุก ๆ วัน โดยจะมอบคะแนนสะสมให้กับผู้ใช้เมื่อทำการเช็คอินในแอปพลิเคชัน สำหรับฟังก์ชันเช็คอินนี้ โดยปุ่มเช็คอินนี้จะอยู่ที่หน้าแรกของแอปฯ โดยหากผู้ใช้กดเช็คอินก็จะได้รับรางวัลในรูปแบบเงินหรือเครดิตที่สามารถนำไปแลกเวาเชอร์ได้และนำไปร่วมใช้กับการซื้อสินค้าโดยไม่มีขั้นต่ำ ซึ่งการทำวิธีเช่นนี้เป็นวิธีที่แสนชาญฉลาดในการดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการในทุก ๆ และถึงแม้ว่าการเช็คอินจะไม่ได้ช่วยให้ทางบริษัทนั้นเกิดรายได้ใด ๆ แต่ก็ช่วยให้ลูกค้านั้นอยากที่จะกลับมาซื้อของหากมีเวาเชอร์ ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของลูกค้าในแอปฯ ให้นานขึ้น

Price Chop

สำหรับฟีเจอร์ Price Chop นั้นมอบให้สินค้าให้ผู้ใช้ฟรีก็ต่อเมื่อผู้ใช้แชร์ลิงก์กับเพื่อน โดยเมื่อผู้ใช้เลือกสินค้าที่อยากจะได้ฟรี ภายใน 24 ชั่วโมงนั้นผู้ใช้จะต้องแชร์ลิงก์นี้ให้กับเพื่อนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเพื่อนคลิกที่ลิงก์ก็จะช่วยลดราคาให้กับสินค้าเรื่อย ๆ โดยเพื่อนนั้นอาจจะไม่ต้องซื้อสินค้าใน Pinduoduo ก็ได้ หากราคาลดไม่ถึง 0 ใน 24 ชั่วโมง ผู้ใช้นั้นก็จะไม่ได้สินค้าและจะต้องเริ่มใหม่อีกครั้ง คล้าย ๆ กับการเช็คอินที่เป็นฟังก์ชันที่ต้องการจะให้ผู้ใช้นั้นเข้ามามีส่วนร่วมกับ Pinduoduo ให้มากที่สุด แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันคือการที่ Price Chop นั้นจะต้องให้ผู้ใช้นั้นแชร์ลิงก์กับเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นการดึงผู้ใช้ใหม่ ๆ เข้ามา โดยวิธีการแชร์ผ่านผู้ใช้ด้วยกันเอง

Card Program

Card Program หรือโปรแกรมบัตรของ Pinduoduo นั้นถูกดีไซน์ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้นั้นแชร์สินค้าให้แก่เพื่อน ๆ และยังสามารถที่จะประหยัดเงินโดยการใช้เวาเชอร์และส่วนลดต่าง ๆ อีกด้วย โดยบัตรที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 ใบคือ Free Pass Card, Black Brand Card และ Brand Brand Card

โดย Free Pass Card ผู้ใช้นั้นสามารถซื้อสินค้าในราคาแบบทีมได้โดยไม่ต้องเข้าร่วมทีม โดย Free Pass Card นี้จะได้ก็ต่อเมื่อผู้ใช้นั้นซื้อสินค้าไปแล้วสองครั้งบน Pinduoduo

สำหรับ Brand Black Card นั้นสนับสนุนให้ผู้ใช้นั้นเขียนรีวิวให้กับสินค้านั้น ๆ โดยจะมอบส่วนลดให้เป็นข้อแลกเปลี่ยน ซึ่ง Brand Black Card นี้ก็จะถูกมอบให้ผู้ใช้เมื่อทำการรีวิวสินค้าไป 2-4 ครั้ง ซึ่งนี่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะผู้บริโภคส่วนมากนั้นจะพึ่งการอ่านรีวิวหรือข้อแนะนำจากผู้ซื้อคนก่อนในการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้านั้น ๆ 

และสำหรับ Brand Card นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะโปรโมทสินค้าที่มีแบรนด์บน Pinduoduo โดยผู้ใช้จะได้รับ Brand Card ก็ต่อเมื่อพวกเขาทำการซื้อสินค้าบน Pinduoduo โดนผู้ใช้สามารถที่แชร์ Brand Card ให้กับเพื่อน ๆ ผ่าน WeChat เพื่อเป็นการดึงดูดให้เพื่อนของผู้ใช้นั้นเข้ามาดูและซื้อสินค้าแบรนด์จาก Pinduoduo ซึ่งนี่ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับ Pinduoduo เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางบริษัทนั้นจำหน่ายสินค้าที่ไม่มีแบรนด์เท่านั้น ซึ่งวิธีนี้จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการทำให้ผู้ใช้นั้นเข้ามาซื้อสินค้าแบรนด์มากขึ้น

Mini Games

Pinduoduo อยากที่จะให้ผู้ใช้นั้นเข้ามาบนแอปฯ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอยากที่จะให้ผู้ใช้นั้นเกิดความสนุกเมื่อใช้งานแอปฯ ดังนั้นทางบริษัทจึงได้ติดตั้งเกมบนแอปฯ เพื่อที่จะเพิ่มระยะเวลาการใช้งานของผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม โดยเกมที่ได้รับความนิยมมากก็คือ Duo Duo Orchard เป็นเกมแบบ FarmVille แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือรางวัลที่ได้นั้นเป็นสินค้าจริง ๆ ถึงแม้ว่าเกมนี้จะไม่ใช่เกมแบบผู้เล่นหลายคน แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ให้ผู้ใช้นั้นสามารถมีส่วนร่วมกับคนอื่น ๆ ได้ โดยเมื่อผู้เล่นนั้นจะปลูกต้นไม้ ในการเจริญเติบโตนั้นจะต้องใช้น้ำและปุ๋ย โดยเมื่อผู้ใช้นั้นซื้อสินค้าบน Pinduoduo มากเท่าใด หยดน้ำที่จะทำให้ต้นไม้นั้นเติบโตก็จะมากเท่านั้น ซึ่งผู้ใช้สามารถแชร์หยดน้ำเหล่านี้ให้กับเพื่อน ๆ ได้อีกด้วย รวมถึงการซื้อแบบเป็นทีมนั้นจะช่วยให้ผู้ใช้นั้นได้อุปกรณ์หรือของตกแต่งในเกมเช่นกัน

สำหรับ Pinduoduo แล้ว ผู้ที่เข้ามาใช้บริการนั้นเข้ามาโดยไม่มีจุดมุ่งหมายใด ๆ เหมือนกับการไปเดินห้างสรรพสินค้าในชีวิตจริง โดย Pinduoduo นั้นให้คำแนะนำแบบเป็นรายบุคคลต่อผู้ใช้ ซึ่งจะมาจากข้อมูลว่าใครเป็นเพื่อนกับผู้ใช้คนนี้บ้าง หรือประเภทสินค้าโปรดของผู้ใช้นั้น ๆ  Pinduoduo ยังมีฟังก์ชันที่น่าสนใจอย่างการซื้อแบบเป็นกลุ่มที่ทำให้ผู้ใช้นั้นซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่าอีกด้วยและยังสามารถเชื่อมต่อกับกลุ่มเพื่อนโดยการแชร์ได้อีกด้วย นอกจากนี้ Pinduoduo ยังแนะนำสินค้าที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลจากประวัติการซื้อครั้งก่อนหรือว่าการเลือกดูสินค้า และจะแสดงแค่สินค้าที่เหมาะกับเราหรือราคาที่เราสามารถจ่ายได้ ซึ่งถือว่าเป็นฟังก์ชันที่เหมาะกับผู้ใช้ในยุคนี้อย่างมาก

ซึ่ง Pinduoduo ก็เป็นอีกหนึ่กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการก้าวมาเป็นที่สองในตลาด E-Commerce ของจีน และภายใต้สภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น จะยิ่งเร่งให้ชีวิตของผู้คนนั้นเข้าไปอยู่บนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น  ซึ่งมันก็เป็นโอกาสที่ดีสำหรับบริษัทต่าง ๆ ที่จะสร้างและย้ายจากแพลตฟอร์มแบบออฟไลน์ไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น

มาร่วมรับฟังประสบการณ์ของบริษัท E-Commerce รายใหญ่ของจีน กับ Xin Yin Lim ผู้เป็น Senior Director ของ Corporate Development ของ Pinduoduo ได้ที่ Techsauce Virtual Summit 2020: Shaping the New Future ซึ่งจะจัดขึ้นในวัน 19-20 มิถุนายนนี้

ซื้อบัตรได้ที่: https://virtualsummit.techsauce.co/ 

ผู้ที่สนใจซื้อบัตรเป็นกลุ่มติดต่อ [email protected]

อ้างอิง: Y Combinator


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ลาออกแล้ว ไปทำงานกับคู่แข่งได้ สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete

ลาออกแล้ว ไปทำงานบริษัทคู่แข่งได้ สหรัฐฯ เตรียมใช้กฎใหม่ ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete มองปิดโอกาสคนทำงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจประเทศ...

Responsive image

Money20/20 Asia ยกระดับวงการฟินเทคเอเชีย ยักษ์ใหญ่ตบเท้าเข้าร่วมงานคับคั่ง

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับงาน Money20/20 Asia ครั้งแรกที่ประเทศไทยและเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 - 25 เมษายน 2567 งานทยกระดับอุตสาหกร...

Responsive image

ประกวดนางงาม Miss AI ครั้งแรกของโลก ที่ส่วนใหญ่สร้างตาม Beauty Standard

ตอนนี้มี Miss AI หรือนางงามปัญญาประดิษฐ์ที่จะมาประชันความงามกันบนโลกดิจิทัลแล้ว ด้านผู้จัดการประกวดหวังช่วยผลักดันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี...