เปิดเคล็ดลับการจัดการเงิน iberry group อาณาจักรอาหารที่เริ่มจากร้านไอศกรีม | Techsauce

เปิดเคล็ดลับการจัดการเงิน iberry group อาณาจักรอาหารที่เริ่มจากร้านไอศกรีม

เรียนรู้จาก case study จริง โดยเครือร้านอาหาร iberry group ซึ่งคุณอัจฉรา บุรารักษ์ ผู้ก่อตั้ง และ Creative Director แห่ง iberry จะมาร่วมแบ่งปันเคล็ดลับและกลยุทธ์ที่แบรนด์ใช้ในการขยายร้านอาหารจากร้านไอศกรีมเล็กๆ จนกระทั่งกลายเป็นอาณาจักรร้านอาหาร ที่มีทั้งร้าน iberry, กับข้าว’กับปลา, รส’นิยม, iBERISTA, Café Pla, โรงสีโภชนา, โรงสีริมน้ำ และทองสมิทธ์ มาร่วมฟังว่าร้านอาหารต้องมีการจัดการการเงินอย่างไร ให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และเติบโต รวมถึงการบริหารเงินในยามวิกฤตอย่างช่วงโควิดที่ผ่านมา  

จุดเริ่มต้นจากร้านเล็กๆ สู่อาณาจักรร้านอาหารผ่านการจัดการระบบบัญชีธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจอาณาจักรอาหารเริ่มต้นเปิดมา 22 ปี ซึ่งช่วงเเรกแบรนด์ที่เริ่มทำคือ ธุรกิจร้านไอศกรีม iberry ซึ่งเปิดมาประมาณ 6 ปี ต่อมาก็เริ่มขยายสู่ธุรกิจร้านอาหารที่เราอาจรู้จักกันในชื่อ กับข้าวกับปลา และ  รสนิยม นอกจากนี้ก็ได้เริ่มขยายธุรกิจไปเรื่อยๆ อาทิ iBERISTA, Café Pla, โรงสีโภชนา, โรงสีริมน้ำ และทองสมิทธ์ 

แนวคิดการขยายธุรกิจที่เเตกต่าง

สิ่งที่ทำให้เราขยายธุรกิจเเบบไม่หยุดอยู่เเค่ธุรกิจเริ่มต้นแต่เเตกขยายธุรกิจเเบรนด์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากความชื่นชอบของตนที่มีความชอบในด้านอาหารหลายประเภท ทำให้การทำธุรกิจจึงเน้นที่ความชอบที่หลากหลายมาสร้างมูลค่าผ่านเเบรนด์อาหารต่างๆ นอกจากนี้ทางบริษัทมองว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่ได้หยุดอยู่เเค่อาหารชนิดใด ชนิดหนึ่ง รวมถึงพฤติกรรมที่นิยมอาหารแต่ละประเภทที่มีเเบรนด์เฉพาะของอาหารชนิดนั้น นอกจากนี้เรามองว่าอาหารของไทยมีมากมายที่น่าสนใจจนไม่สามารถใส่ทุกอย่างไว้ในเเบรนด์เดียว จึงเกิดเเนวคิดที่ว่า อยากจะโฟกัส อาหารเเต่ละชนิดไปเลยต่อหนึ่งเเบรนด์โดยเน้นเมนูเฉพาะอย่างที่มีไม่มากเเต่วางรูปแบบให้เเต่ละแบรนด์มีจุดเด่นที่ต่างกันไปให้ชัดเจน ให้ลูกค้าเห็นว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในอาหารชนิดนี้ เรามีเมนูเฉพาะที่มีน้อยเเต่รับรองความอร่อยได้

ความยากอย่างหนึ่งเมื่อต้องเริ่มต้นคือการจัดการและทุนเพื่อเริ่มกิจการ เเละเราจะวางเเผนงานอย่างไรให้มั่นใจว่าทุนที่ลงไปไม่เสียเปล่าและเเบรนด์เราจะสามารถตีตลาดเเละขายได้ เรามองว่าการทำการตลาดผ่านช่องทางต่างๆ ผ่านออนไลน์คือเรื่องสำคัญที่ต้องมองหาอยู่เสมอเพราะคือหนึ่งสิ่งที่ทำให้เเบรนด์เป็นที่รู้จักได้ง่ายและการวางเเผนงาน ระบบต่างๆ ที่เเม่นยำคือส่วนหนึ่งที่ทำให้สร้างโอกาสประสบความสำเร็จสูง

สู้วิกฤตด้วย “การวางเเผนทางการเงิน”

ช่วงโควิด-19 เป็นช่วงที่คาดการณ์ได้ยากมากโดยเฉพาะช่วงเวลาของการเริ่มต้นจนไปถึงช่วงสิ้นสุดของไวรัสโควิด-19 จะจบเมื่อไหร่ และต้องปิดเมือง ปิดห้าง อีกหรือไม่ รวมถึงพฤติกรรมและความคิดของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คือสิ่งที่เราคาดการณ์ได้ยากเพราะเราไม่รู้ว่าผู้บริโภคจะกลับมาเหมือนเดิมไหม จุดนี้เองที่จะส่งผลต่อกลุ่มผู้ประกอบการเพราะเราไม่รู้เลยว่ารายได้ที่เราเคยได้ก่อนหน้านี้จากผู้บริโภค จะกลับมาเหมือนเดิมมากแค่ไหน และช่วงที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจเเบบเดิมได้นี้จะต้องทำอย่างไรเพราะรายได้จากตรงนี้เราหายไปด้วย

ดังนั้น การวางแผนการเงินเราต้องมองเเล้วว่ากระเเสเงินสดในองค์กรนี้มีมากเเค่ไหน และเราจะปรับกลยุทธ์อย่างไรเพื่อชดเชยช่วงโควิด และอีกอย่างที่สำคัญคือเราต้องดูว่าเราจะหาช่องทางเพิ่มการเงินจากทางไหนได้บ้าง อาทิ การขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อมีเงินสำรอง การเจรจาลดรายจ่ายในส่วนต่างๆ ของบริษัท ปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อให้เราสารมารถดูเเลคนในองค์กรของเราได้ สิ่งที่ทางองค์กรเริ่มปรับเเละทำเพื่อรับมือ คือ 

  • ช่องทางการหาเงินจากงานเราที่ต้องปรับตัว ซึ่งทางเราปรับรูปแบบจากการขายในร้านปรับมาขายเเบบ Delivery และคำนวนรายได้ รายจ่าย เป็นทุกสิ้นเดือนล่วงหน้าเพื่อให้จัดการรายจ่ายให้กระเเสเงินสดอยู่กับเรามากที่สุด 

  • การจัดการบุคคลากร ซึ่งจะมีการปรับตำเเหน่งงานเพื่อสร้างรายได้จากช่องทางอื่น ซึ่งเราปรับการขายจากเดิมมาสู่เเพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ก็ปรับคนมาทำงานส่วนอื่นๆ แทนการขายเเบบเดิม อีกส่วนหนึ่งคือการปรับเรื่อง ราคา และเเนวทางการตลาด เช่น ลดราคา เมื่อเราไม่มีค่าเช่าเราเอาส่วนนี้มาเป็นส่วนลดสร้างความน่าสนใจให้สินค้าเราได้

  • การนำเครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งก่อนที่โควิด-19 เข้ามาเรามีการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้เบื้องหลังเพื่อลดการทำงานด้วยคนที่ซ้ำซ้อน ช่วยให้เรารู้ถึงความผิดพลาดด้านการเงินได้เร็วขึ้นเพื่อให้เราลดข้อผิดพลาดนั้น เรามองว่าการลงทุนกับระบบเทคโนโลยีนั้นถือว่าคุ้มเเละเหมะกับธุรกิจที่เริ่มขยาย และเติบโตเพราะช่วยให้เราสามารถจัดการงานต่างๆ ได้ง่ายเเละเเม่นยำมากขึ้น เมื่อเรามีระบบที่ดีเราจะสามารถจัดการด้านการเงินจนสร้างฐานการเงินของบริษัทให้เพิ่มขึ้นได้ดีขึ้น

สุดท้ายเเล้วสิ่งที่สร้างความสำเร็จให้องค์กรคงต้องพูดถึงทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสิ่งที่เราขาย เราเน้นมาตรฐานของอาหารที่ต้องพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอนี่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ายอมรับแบรนด์ใหม่ๆ ของเราได้อย่างรวดเร็วเพราะเรารักษาคุณภาพของ อาหาร แบรนด์ของเรา ถึงเเม้เราจะเจอกับช่วงวิกฤตอีกส่วนหนึ่งที่เรามองว่าคือสิ่งที่ขับเคลื่อนความสำเร็จ คือ บุคคลากรในทุกภาคส่วนซึ่งเราต้องดูเเลเขาให้ดีถึงเเม้เราจะเจอวิกฤตเราไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราผ่านอุปสรรคได้สิ่งสำคัญคือคนในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม และอีกส่วนที่สำคัญคือการปรับตัวให้เร็วและการวางรากฐานของระบบในองค์กรเราต้องมองหาเทคโนโลยีหรือเเนวทางดีๆ มาปรับใช้เพื่อให้การจัดการภายในดีขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จับตา 18 อุตสาหกรรม พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก สร้างรายได้กว่า 48 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2040

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดกว่าเดิม มีอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่กำลังมาแรง และเติบโตแบบก้าวกระโดด เราเรียกอุตสาหกรรมเหล่านี้ว่า 'Arenas' ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาส แต่ก็ต้...

Responsive image

Gemini 2.0 คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง ? สรุปของใหม่กับ AI ที่เก่งที่สุดของ Google

หลังจาก Google เปิดตัว Gemini 1.0 ซึ่งเป็น AI แบบ Multimodal และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีผู้ใช้มากถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก ล่าสุดได้มีการอัปเกรดเวอร์ชันใหม่ในชื่อ Gemini 2.0 ซึ่งเป็น...

Responsive image

พลังงานจากหลุมดำ พุ่งชนวัตถุลึกลับในกาแล็กซี เกิดรอยปริศนารูปตัว V

NASA พบร่องรอยแปลกประหลาดจากการพุ่งชนของลำแสงพลังงานสูงที่มาจากหลุมดำขนาดมหึมาในกาแล็กซี Centaurus A (Cen A) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง การค้นพบนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการ...