เศรษฐีจีนพันล้านเหรียญฯ รายใหม่วัย 38 ปี นำพา Startup Pinduoduo เข้าสู่ Nasdaq | Techsauce

เศรษฐีจีนพันล้านเหรียญฯ รายใหม่วัย 38 ปี นำพา Startup Pinduoduo เข้าสู่ Nasdaq

Pinduoduo บริษัท ecommerce จากจีนอาจยังเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูนักในบ้านเรา ก่อตั้งโดย Colin Huang พึ่งนำบริษัทสู่ IPO ที่ตลาด Nasdaq เมื่อพฤหัสฯ ที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าบริษัท 29.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย Huang ถือหุ้น 46.8% ที่มูลค่า 13.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯกลายเป็นว่าตัว Huang ติดอันดับคนที่รวยที่สุดอันดับ 13 ของจีนเป็นที่เรียบร้อย ด้วยวัยเพียง 38 ปีเท่านั้น

ภาพจาก Biznews

Pinduoduo ถือเป็น Tech Startup ที่เติบโตอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปีเท่านั้น ท่ามกลางการแข่งขันด้านธุรกิจ ecommerce ร้อนแรงอย่าง Aibaba และ JD.com ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่าง 2 ค่ายใหญ่คือเครือข่ายของ Alibaba และ Tencent นั่นเอง แต่สำหรับ Pinduoduo จับตลาดล่างและมีผู้ใช้ active monthly customers ที่สูงมาก

สถิติการใช้งานที่น่าสนใจของ Pinduoduo

โมเดลธุรกิจ Pinduoduo

โดยธุรกิจของ Pinduoduo คือ group buying และให้ส่วนลดกับคนที่ซื้อเป็นกลุ่ม โดยใช้ WeChat App ในการแชร์แผนว่าจะซื้ออะไรและชวนกันมา สินค้าที่ซื้อกันมีไปจนถึงกระดาษชำระในห้องน้ำในราคา 1 เหรียญฯ 

อย่างผู้ผลิตกระดาษทิชชู่ได้รับออร์เดอร์จาก Pinduoduo สูงถึง 9,320,000 ออร์เดอร์ ถือเป็นกระดาษทิชชูจำนวน 261 ล้านแพคเกจเลยทีเดียว

ภาพจาก WalktheChat

ส่วนสินค้าอื่นๆ เมื่อเทียบกับราคาตลาด

เราอาจจะคุ้นๆ กับแนวคิดนี้ตอนยุค Group Buying ฮิตมากๆ อย่าง Groupon และก็เลิกฮิตในแถบบ้านเราไป แต่สำหรับกรณีนี้ Huang กล่าวว่า Pinduoduo คือการผสมผสานกันระหว่าง Costco และ Disneyland ต่างหาก ทั้งสนุกและเงินที่คุณใช้ไปจะรู้สึกว่าคุ้มค่า

ภาพจาก WalktheChat

ก่อนหน้านี้ Pinduoduo ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนักลงทุนชื่อดังอย่าง Sequoia Capital China, Banyan Partners Funds และ และมีแบคอัพใหญ่อย่าง Tencent Holding ซึ่งถือหุ้นอยู่ 17% (ส่วนสำคัญที่ทำให้เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะเชื่อมต่อกับ WeChat App)

ในปี 2017 Pinduoduo มีรายได้ 278 ล้านเหรียญฯ และกระโดดขึ้นไปแตะ 220 ล้านเหรียญฯ เพียงแค่ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2018 เท่านั้น อย่างไรก็ตามมีข่าวออกมาว่า Pinduoduo กำลังโดยฟ้องเรื่องการล่วงละเมิด trademark ที่ศาลสหรัฐฯ ในนิวยอร์คเช่นกัน โดย Pinduoduo ขอปฏิเสธในการให้ข้อมูลดังกล่าว

อ้างอิงจาก : Forbes WalktheChat

ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ

พอพูดว่า Group Buying หลายคนอาจคิดว่าไม่น่าไปรอดแล้วกับโมเดลนี้ แต่อย่าลืมว่าตลาดจีนใหญ่มากจริงๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดึงคนมาใช้เป็นจำนวนมาก แต่ถ้าย้อนกลับไปดูประวัติของ Pinduoduo จุดระเบิดสำคัญที่ทำให้ Startup รายนี้เติบโตคือ

  • การเติบโตผ่าน WeChat App ซึ่งเป็นแอปฯ ที่ใครๆ ในจีนก็ต้องมี โดยสามารถดึง Tencent มาเป็นผู้ถือหุ้นได้ในปี 2016
  • การจับตลาดล่างที่เน้นเรื่องราคาเป็นหลัก
  • สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าใช้แล้วหมดไป สินค้าที่ใช้ประจำวัน ของกิน ของใช้ ที่สร้างให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำได้

ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตาว่าโมเดลนี้จะย้อนกลับมาได้อีกครั้งได้ไหม? ถ้ามีแบคอัพดีๆ (อย่างกรณีนี้คือ Tencent) ก็อาจเปลี่ยนโฉมวงการได้ ของแบบนี้ต้องดูกันยาวๆ อีกครั้ง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

RELATED ARTICLE

Responsive image

Mastercard เตรียมทดลองระบบสแกนหน้าจ่ายเงิน นำร่องในเอเชียเป็นกลุ่มแรกปี 2024

Mastercard กำลังวางแผนที่จะเปิดตัวระบบชำระเงินในร้านค้าโดยใช้การจดจำใบหน้า โดยจะเริ่มทดลองใช้ในปีหน้าใน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ไทยเป็นกลุ่มแรก ๆ ในเอเชีย...

Responsive image

Instagram Trend Talk 2024 สรุปเทรนด์ + อินไซต์Gen Z ที่ต้องรู้

Instagram เผย ‘Instagram Trend Talk’ ประจำปี 2024 สรุปเทรนด์วัยรุ่น Gen Z ที่จะขับเคลื่อนวัฒนธรรมโลก...

Responsive image

MICHELIN Guide ประกาศ 196 ร้านอาหาร คว้า BIB Gourmand 2024

มิชลิน ไกด์ ประกาศรายชื่อร้านอาหารคว้า “บิบ กูร์มองด์” ปี 2567 รวม 196 ร้าน ติดโผร้านอร่อยราคาย่อมเยา โดยมีร้านติดอันดับครั้งแรก 32 ร้าน...